ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกกินยาก เป็นอีกปัญหาสำหรับหลายๆครอบครัว ซึ่งปัญหานี้เกิดได้จากสาเหตุที่แตกต่างกันไปค่ะ และอาจส่งผลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็กๆค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าวหรือเลือกกิน
- สุขภาพ อาการเจ็บป่วยบางอย่างอาจส่งผลให้ลูกของคุณรับประทานอาหารลำบาก เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ แผลในปาก ท้องเสีย ท้องผูก กรดไหลย้อน เป็นต้น ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยค่ะ
- แพ้อาหารบ้างชนิด ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง ทำให้ไม่ยากกินข้าวค่ะ
- การเลือกกินอาหาร ซึ่งมักเป็นพฤติกรรมของเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป เนื่องจากสามารถปฏิเสธสิ่งต่างๆได้แล้ว เลือกในสิ่งที่ตนเองคุ้นชินหรือต้องการเท่านั้น
- สิ่งเร้ารอบข้าง เช่น เสียงเด็กเล่นกัน เสียงโทรทัศน์ ทำให้สนใจในสิ่งนั้นมากกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่หรือการกินข้าวค่ะ
- กินขนมก่อนมื้ออาหาร หรือกินสิ่งอื่นแทนข้าว ทำให้ลูกรู้สึกอิ่มและไม่อยากทานข้าว
- ใช้เวลากินข้าวนาน ซึ่งมักเกิดจากการเล่นไปด้วยกินไปด้วย ในระยะยาวอาจส่งผลให้ลูกขาดวินัยในเรื่องของการรับประทานอาหาร
- โดนกดดัน บีบบังคับกินข้าว รวมถึงตัวอย่างการกินที่ไม่ดี
ข้อควรรู้เมื่อลูกถึงวันอาหารเสริม
โดยทั่วไปเด็กๆจะเริ่มรับประทานอาหารเสริมอื่นๆเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยแบ่งเป็นลักษณะความสำคัญ ดังนี้
- 6 – 12 เดือน นมควรเป็นอาหารหลัก และข้าวหรือผลไม้ควรเป็นอาหารเสริม
- 12 เดือนขึ้นไป ควรให้ลูกทานข้าว 3 มื้อเป็นอาหารหลัก และนมควรเป็นอาหารเสริมแทนค่ะ
- อาหารมื้อแรงคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารครบ 5 หมู่ได้เลยค่ะ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานค่ะ เพราะจะทำให้ลูกติดหวาน ไม่กินข้าวได้ค่ะ
การแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวหรือกินยาก
การแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวสามารถแก้ไขได้ค่ะ โดยเริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อดทน ใจเย็น จริงจัง และฝึกวินัยในการรับประทานอาหารค่ะ เข่น
- นิสัยกินง่ายสร้างได้ตั้งแต่อาหารมื้อแรกที่ลูกเริ่มกินอาหารเสริมค่ะ เช่น กำหนดเวลาการรับประทานอาหาร นั่งกินเป็นที่ไม่เล่นไปกินไปค่ะ อาหารมื้อหลักและอาหารว่างควรห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น
- สร้างบรรยากาศที่ดีตอนกิน หลีกเลี่ยงการดูโทรศัพท์ โทรทัศน์ เพราะอาจทำให้ลูกสนใจสิ่งที่ดูมากกว่าการเรียนรู้ว่านี่คือเวลาที่ต้องกินข้าวค่ะ
- ปรับเปลี่ยนอาหารให้ดูน่าสนใจ สีสันของอาหารสามารถดึงดูดเด็กๆได้ค่ะ
- ให้ลูกได้หยิบทานเองบ้าง คุณแม่ป้อนบ้าง และอาจจะกำหนดให้ทานมื้อละ 15-20 นาที เมื่อครบแล้วก็ให้เก็บเลยค่ะ
- ไม่ควรกินขนมระว่างมื้ออาหารค่ะ
- ไม่ควรบังคับให้กินข้าว ไม่บังคับยัดเหยียดให้ลูกทานอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป หรือสั่งให้ทานในตอนที่ยังไม่หิว(ซึ่งอาจเกิดการการให้กินอาหารระว่างมื้อ)
ลูกกินน้อย กินยาก สิ่งที่ต้องกังวล
เมื่อลูกเลือกกินอาหารสิ่งที่คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตและตรวจสอบเสมอคือพัฒนาการของน้ำหนักและส่วนสูงค่ะ ในปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินมากถึง 15-20% ค่ะ โดยเฉลี่ยน้ำหนักของในเด็ก ได้แก่
- อายุ 0 – 3 เดือน อัตราน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือน 600-900 กรัม
- อายุ 4 – 6 เดือน อัตราน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือน 450-600 กรัม
- อายุ 7 – 12 เดือน อัตราน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือน 300 กรัม
- อายุ 1 ปี น้ำหนักจะขึ้นเฉลี่ยปีละ 2 กิโลกรัม
เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าวบ่อยๆ อาจไร้รับสารอาหารต่างๆไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต เจ็บป่วยได้ง่ายค่ะ ดังนั้น ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวควรเริ่มจากพ่อแม่หรือผู้ที่เสี้ยงดูค่ะ ค่อยๆปรับและแก้ให้ตรงกับลูกของคุณค่ะ แอดมินเป็นกำลังใจให้สำหรับท่านที่กำลังมีปัญหาลูกไม่กินข้าวนะคะ
บทความเกี่ยวข้องกับ ลูกไม่ยอมกินข้าว