Tices Disorders The ball blinks frequently. Dangerous or not

ลูกกระพริบตาบ่อย(โรคติกส์) อันตรายหรือไม่

เมื่อเห็นลูกมีอาการกระพริบตาบ่อยๆ ลูกชอบกระพริบตา หรือตากระตุกซ้ำๆ มักสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ กลัวว่าลูกจะมีอาการผิดปกติทางสายตาหรือไม่ และถ้าเกิดจากการเจ็บป่วยจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ซึ่งเราจะยิ่งกังวลเพราะถ้าไม่สามารถรักษาได้จะทำให้เสียบุคลิกได้ ซึ่งอาการกระพริบตาบ่อยๆในลักษณะกระตุกซ้ำๆติดๆกันนั้น ลูกอาจเข้าข่ายมีอาการเป็นโรคติ๊ก(TICS) ได้ค่ะ อาจฟังดูแล้วแปลกๆมีโรคนี้ด้วยเหรอ ซึ่งวันนี้เรามีข้อมูลมาฝากให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้กันค่ะ

TICS

โรคติ๊กส์คืออะไร

โรคติ๊กส์คืออะไร

โรคติ๊กส์ หรือ Tices Disorders (TICS) เป็นโรคของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อผิดปกติ สามารถเกิดได้ทั่วทั้งใบหน้า หรือในบางคนมีอาการกระตุกที่มุมปาก แต่ที่สังเกตเห็นกันได้บ่อยๆ คือการกระพริบตาเร็วๆ หรือตากระตุกติดๆกัน ส่วนใหญ่มักไม่เป็นจังหวะและไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่พบได้บ่อยในเด็กอายุ 7 – 10 ปี และมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โรคนี้ไม่ส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อสมองหรือการเรียนรู้ของเด็ก แต่อาจทำให้รู้สึกน่ารำคาญหรือทำให้เสียบุคลิกได้ค่ะ

โรคติกส์อันตรายหรือไม่  
จริงๆแล้วโรคติกส์เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้แบบฉับพลัน และบางทีก็หายไปดื้อๆ เป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นอีกได้ ไม่อันตรายต่อระบบสมอง ในเด็กเล็กอาจไม่สามารถยับยั้งอาการได้ แต่ในเด็กโตสามารถยับยั้งอาการได้บ้าง หากเป็นติกส์ที่มีอาการเรื้อรัง เราจะเรียกว่า ทูร์เรตต์ (Tourette’s Disorder) ซึ่งส่วนใหญ่ของเด็กเป็นโรคนี้จะมีสมาธิสั้นร่วมด้วย

สาเหตุของการกระพริบตาบ่อยๆจากโรคติ๊กส์

สาเหตุของการกระพริบตาบ่อยๆจากโรคติ๊กส์

การกะพริบตาบ่อยร่วมกับการกระตุกของกล้ามเนื้อบนใบหน้า คอหรือไหล่ โดยไม่พบความผิดปกติใดๆของตา ภาวะนี้เรียกว่า โรคติ๊กส์ซึ่งมักมีสาเหตุจากหลายสาเหตุดังนี้

สาเหตุของการเกิดโรคติกส์ 

โรคติกส์อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้ 

  • พันธุกรรม หากในครอบครัว เคยมีคนที่มีอาการนี้ หรือ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ สมาธิสั้น  
  • มีความผิดปกติของการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว หรือความไม่สบดุลของสารสื่อประสาท โดปามีน (Dopamine) 
  • ความเครียด ที่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างที่ตั้งความคาดหวังไว้ค่อนข้างสูง เกินกว่าที่เด็กจะสามารถทำได้ พบในเด็กที่ถูกต่อว่าหรือคอยที่จะเปรียบเทียบในทางลบอยู่เป็นประจำ
  • อาจมีการติดเชื้อ เบต้า ฮีโมไลติก สเตรปไตค๊อกคัส กลุ่มเอ ซึ่งอาจทำให้เชื้อเข้าไปทำปฏิกริยาในส่วนคบคุมกล้ามเนื้อ  
  • บุคลิกประจำตัวของเด็ก มักพบในเด็กที่ขี้อายหรือมีความรู้สึกอ่อนไหว การกระตุกของกล้ามเนื้อแก้มจึงเป็นวิธีการระบายความรูสึกอย่างหนึ่งโดยไม่รู้ตัว
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออ่อนเพลีย จากการใช้สายตามากจนเกินไปทำให้เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้า
  • พฤติกรรมเลียนแบบโรคติกส์(TICS) จากคนรอบข้าง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ญาติหรือครู ที่เด็กได้เคยพบเห็นมาก่อน จึงเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไม่ได้ตั้งใจ

การดูแลเด็กที่เป็นโรคติกส์

การดูแลเด็กที่เป็นโรคติกส์

โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรงสามารถหายได้เอง ซึ่งควรได้รับการดูแลช่วยเหลือและความเข้าใจจากคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างค่ะ ได้แก่

  • ไม่แสดงความสนใจหรือมีปฏิกิริยากับอาการกระพริบตาบ่อยๆของลูก หรือแสดงอาการเขม่นของลูกจนเกินเหตุนะคะ หรือล้อเลียนเพราะจะยิ่งทำให้ลูกกังวลใจมากขึ้นค่ะ
  • หลีกเลี่ยงการลงโทษ การตำหนิลูก เนื่องจากการกระพริบตาบ่อยๆหรือลักษณะกระตุกของใบหน้า เป็นการระบายความรูสึกอย่างหนึ่งที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่ว่าลูกเราชอบกระพริบตาเอง
  • ควรดูแลให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะอาการอ่อนเพลียเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคติกส์ค่ะ ดังนั้นควรกำหนดเวลาการทำกิจกรรมและการนอนให้ชัดเจน
  • กรณีที่การกระพริบตาบ่อยหรือการกระตุกนั้น รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของลูก ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์
Tices Disorders

การรักษาโรคติกส์

ในเบื้องต้นหากเป็นในระยะเวลาสั้นๆแล้วหายได้เองก็ไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นซ้ำอีก หรือเป็นระยะเวลานาน ควรพบแพทย์เด็ก หรือจิตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจริงๆแล้วเป็นเกี่ยวกับระบบใดกันแน่ เพราะอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับด้านอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน 

ถ้าเป็นโรคติกส์แล้มีอากากระตุกมาก เป็นบ่อยผู้ปกครอง ควรทำความเข้าใจกับโรค ว่าลูกไม่ได้แกล้งเกิดจากการทำงานของสมอง ควรหาทางลดภาวะเครียดเพื่อให้มีอาการน้อยลง หากมีผลกระทบมาก คุณหมอจะให้การรักษาด้วยยา ซึ่งการรักษาด้วยยาจะใช้เวลาในการรักษา และอาจมีผลข้างเคียง  

อาจมีการักษาด้วยพฤติกรรม คือการสอบให้เด็กรู้เท่าทันอาการ ก่อนที่ร่างกายจะมีอาการติกส์ โดยอาจสอนให้เด็กๆผ่อนคลาย ทั้งความเครียด และความเกร็ง