ความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเด็ก

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเด็ก

ไฟฟ้าอันตรายใกล้ตัวเด็ก ที่แฝงตัวอยู่ในบ้าน และโดยธรรมชาติของเด็กๆมักมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เด็กจะไม่เข้าไปเล่นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันเด็กๆจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

อันตรายจากไฟฟ้า

อันตรายจากไฟฟ้า

คุณหรือเด็กๆบางคนอาจเคยเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้ให้ตกใจเมื่อสัมผัสกับลูกปิดประตูหรือการสัมผัสกับผู้อื่น นั้นคื่ออาการช็อตจากไฟฟ้าสถิตย์ค่ะซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง แต่อาการไฟฟ้าช้อตที่แท้จริงนั้นสร้างความเจ็บปวดมาก ทำให้หายใจไม่ออกหรือหายใจได้ลำบากขึ้น การเต้นของหัวใจที่จะหยุดชะงัก ระบบการทำงานของร่างกายเสียหายและทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเด็ก

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเด็ก

ความปลอดภัยของเด็กคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรรู้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ โดยเฉพาะอันตรายที่เกิดขึ้นภายในบ้านเพราะบ้านควรเป็นสถานที่คัทเอาท์ปลอดภัยสำหรับเด็กๆค่ะ ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเด็กนั้น ได้แก่

– ตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆและควรเก็บให้ห่างมือเด็กๆ เพราะสำหรับเด็กๆแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้นน่าสนใจมีปุ่มและสวิทช์มากมายที่ต้องการสำรวจค่ะ

– เพื่อให้บ้านของคุณปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีจุดจ่ายไฟหรือปลั๊กที่ช่องเปิดอยู่ควรปิดด้วยแผ่นป้องกัน เก็บสายไฟให้เป็นระเบียบค่ะ

– ควรติดตั้งสายดินและเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

– เด็กๆหลายคนชอบช่วยเหลือและสนุกกับการพยายามช่วยพ่อแม่ทำงานที่บ้าน แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่จะช่วยงานไฟฟ้า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักถึงความร้ายแรงและอันตรายของกระแสไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรสอนให้เด็กเข้าใจว่าเขาจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเมื่องานไฟฟ้ากำลังทำอยู่ค่ะการปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมาและควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

– เมื่อลูกของคุณมีอายุที่เหมาะสมต้องมีการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านไฟฟ้า เช่น ควรสอนให้ลูกเข้าใจถึงวิธีการเสียบสายไฟและถอดปลั๊กไฟอย่างถูกต้อง ไม่ควรสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า สวิตช์ไฟหรือสายไฟด้วยมือเปียก ไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เปียก หากเห็นใครที่ถูกไฟฟ้าดูดอย่าแตะต้องบุคคลนั้นและให้ขอความช่วยเหลือทันที เป็นต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับไฟฟ้าช็อตในเด็ก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับไฟฟ้าช็อตในเด็ก

การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยออกมาก่อนนำส่งโรงพยาบาลค่ะ โดยวิธีช่วยเหลือในเบื้องต้นปฏิบัติได้ดังนี้

– ปิดคัตเอาท์ หรือปลดสายไฟเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า เพราะการปิดสวิตช์ไฟไม่ทำให้กระแสไฟฟ้าหยุดทำงาน หรือให้เชือก ไม้แห้งหรือผ้าแห้งผืนใหญ่เพื่อแยกตัวเด็กเอาจากแหล่งจ่ายไฟ

– ตรวจสอบว่าเด็กยังหายใจอยู่หรือไม่ กรณีที่เด็กหมดสติไม่หายใจต้องทำ CPR 

– กรณีที่มีแผลไหม้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและใช้ผ้าพันแผลเพื่อคลุมพื้นที่ที่ถูกเผาไว้

อันตรายจากไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับ การสอนเด็กๆเกี่ยวกับการไม่พูดคุยกับคนแปลกหน้า ไม่รับขนมหรือไปกับคนแปลกหน้า การข้ามถนนอย่างปลอดภัย เป็นต้น และเด็กไม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าผ่านการเล่นและการทดลอง แต่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจำเป็นต้องสอนเด็กว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งที่อันตรายและสอนให้ทราบถึงวิธีที่ปลอดภัยสำหรับไฟฟ้าค่ะ