ลูกสะอึกบ่อย อันตรายหรือไม่
ลูกสะอึกบ่อย อันตรายหรือไม่ ลูกสะอึกบ่อยอันตรายหรือไม่ อีกหนึ่งปัญหากวนใจสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นวันนี้เราจะพามาหาคำตอบเกี่ยวกับการสะอึกในเด็กเล็กเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร การสะอึกเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นกับทุกคนรวมถึงราทกก็มีอาการสะอึกเช่นกันค่ะ อาการสะอึกเกิดจากกล้ามเนื้อกะบังลมสะท้อนกลับของซี่โครงทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจ โดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อย การสะอึกทิ้งไว้สักพักอาการก็จะหายไปเองค่ะ และเมื่ออวัยวะระบบการทำงานของร่างกายเติบโตจนโตเต็มที่อาการสะอึกจะลดลงตามธรรมชาติค่ะ สาเหตุของอาการสะอึก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ อาการสะอึกแบบปกติ เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การกินอาหารหรือนมมากเกินไป หรือในปริมาณมากเกินไป รวมถึงการประทานอาหารที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันรวดเร็วมากเกินไป ส่งผลให้ท้องอืดและกะบังลมถูกบังคับให้กระตุก เป็นต้น อาการสะอึกแบบไม่ปกติ มักเกิดจากการเจ็บป่วยโรคต่างๆ เช่น โรคหอบหืด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหอบหืดในทารกทำให้เกิดอาการสะอึก ภาวะกรดไหลย้อนในเด็กซึ่งกระตุ้นกระบังลมให้หดตัวอย่างรวดเร็ว ฯลฯ การสะอึกในรูปแบบนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาหรือบรรเทาอาการสะอึกในเด็ก อาการสะอึกสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งและนานกว่าสิบนาทีต่อครั้งค่ะ และการรักษาอาการสะอึกหรือบรรเทาอาการสะอึกในเด็ก สามารถทำได้ดังนี้ อาการสะอึกหยุดเองโดยธรรมชาติ อาการสะอึกโดยทั่วไปสามารถหายได้เองค่ะ แต่หากพบว่าลูกน้อยมีอาการติดต่อกันหลายวัน หายใจไม่ออก ควรพาลูกน้อยพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการสะอึกที่ผิดปกติค่ะ กรณีมีอาการสะอึกหลังกินนมคุณแม่ควรอุ้มลูกน้อยเพื่อให้เรอค่ะ ซึ่งจะช่วยให้สบายท้องลดอาการท้องอืดได้ค่ะ กรณีที่ลูกน้อยมีอาการสะอึกที่ผิดปกติ เช่น สะอึกติดต่อกันนานกว่า 3 ชั่วโมง หรือสะอึกจนไม่สามารถกินนมได้ หายใจไม่ออก หรือร่วมกับการอาเจียน ควรรีบพบแพทย์ทันที การป้องกันอาการสะอึกในเด็กทารก เนื่องจากอาการสะอึกของทารกมีความหลากหลายของตัวกระตุ้นจึงค่อนข้างยากที่จะหลีกเลี่ยงค่ะ แต่สามารถทำได้เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอาการสะอึก […]