การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก (อายุตั้งแต่แรกเกิด- 1 ปี)
เด็กทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยมักจะเป็นความไม่ระมัดระวัง ความประมาทของผู้ใหญ่เอง ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่เลี้ยง เพราะเด็กยังได้แต่นอนอยู่เฉยๆ ทำอะไรเองยังไม่ได้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็คงจะเป็นเรื่อง ของร้อนๆ เช่น กระติกน้ำร้อน กาน้ำร้อน แก้วชา กาแฟ ร้อนๆ ซึ่งอาจจะทำพลาดหกรดเด็กได้ หรือแม้แต่จะเป็นเรื่องกระเป๋าน้ำร้อนของคุณแม่ที่เอาไว้ประคบร้อนต้องระวังเรื่องการปิดฝาให้สนิท และไม่ควรประคบใกล้ตัวเด็กมากเกินไปค่ะ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เอง ขอแนะนำว่าไม่ควรนอนให้นมลูกนะคะ เพราะบางทีคุณแม่อาจจะเหน็ดเหนื่อย จากการไม่ได้หลับมาทั้งคืนเกิดเผลอหลับไป เต้านมอาจจะปิดทับจมูกของเด็กทำให้หายใจไม่ออกถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 3 เดือน ยังไม่มีแรงดิ้น ไม่มีแรงผลัก ค่ะ และเด็กที่ชอบแหวะบ่อยๆ หรืออาเจียนบ่อยๆ คุณแม่ควรให้เด็กนอนตะแคงหรือนอนคว่ำจะเป็นท่าที่ดีที่สุดค่ะ เพราะการที่ให้เด็กนอนหงาย บางทีแหวะนมออกมาเป็นก้อนทำให้ปิดหลอดลมได้ ช่วงอายุเด็ก 2-3 เดือน อุบัติเหตุที่มักเกิดในช่วงอายุนี้ก็คงจะเป็นการตกเตียง ตกจากที่นอน ถึงแม้ว่าเด็กยังไม่สามารถพลิกคว่ำได้ คลานก็ยังไม่ได้ แต่เด็กเริ่มมีแรงถีบ อาจจะทำให้ลื่นตกเตียงได้ ช่วงอายุเด็ก 3-4 เดือน ควรระวังเรื่องของเล่น เพราะเด็กช่วงอายุนี้จะชอบจับและแน่น […]