ความแม่นยำของการอัลตราซาวน์คนท้อง
โดยปกติเมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะประเมินสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตตรวจปัสสาวะ ตรวจครรภ์และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ นอกจากนี้จะถามถึงอาการผิดปกติที่อาจพบได้ในช่วงอายุครรภ์ต่างๆ ในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณแม่มีน้ำหนักตัวขึ้นน้อย และท้องมีขนาดเล็กกว่าปกติของอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น แพทย์จะตรวจวินิจฉัยต่อด้วยอัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะตรวจวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ ตั้งแต่ศีระษะ ท้อง และกระดูกต้นขา ซึ่งจะสามารถคำนวณน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องมือที่ใช้ตรวจอัลตราซาวนด์จะมีสูตรที่สามารถคำนวณน้ำหนักตัวทารกโดยอัตโนมัติอยู่แลัว และจะแสดงให้เห็นจากเครืองตรวจได้เลย ทั้งนี้ความแม่นยำของการประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์โดยการใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวนด์จะมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นกับความชำนาญของแพทย์ที่ตรวจวัด แพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการตรวจท่าทางของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในลักษณะที่สามารถตรวจวัดได้ดีหรือไม่ เช่น ถ้าศีรษะทารกมีการเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานมาก จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจลดลง เพราะขนาดศีรษะที่วัดได้อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริง ปริมาณน้ำคร่ำที่มีอยู่ก็มีส่วนสำคัญ เพราะถ้าน้ำคร่ำน้อยจะทำให้การวัดสัดส่วนของเด็กทารกทำได้ยาก อายุครรภ์ที่มาตรวจถ้าอยู่ในไตรมาสแรกมีความแม่นยำสูงสุด แต่ถ้าอยู่ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีความคลาดเคลื่อนมากขึ้น ประมาณ 1,2 และ 3 สัปดาห์ ตามลำดับของไตรมาส นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก เช่น การเคลื่อนไหวของเด็กทารกในขณะตรวจ คุณม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผนังหน้าท้องหนา เป็นต้น การชั่งน้ำหนักและการตรวจประเมินขนาดมดลูกของคุณแม่ในการมาฝากครรภ์แต่ละครั้ง จะช่วยแพทย์ประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์เบื้องต้นได้ เพราะถ้าน้ำหนักคุณแม่ขึ้นน้อยเกินไป แม้ว่าคุณแม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติก็จะบ่งบอกว่าเด็กทารกอาจมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์จะประมาณ 12-15 กิโลกรัม และอาจจะขึ้นน้อยถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก และขึ้นได้มากกว่านี้ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ […]