การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก
พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กวัยหัดเดิน โดยทั่วไปมักจะแสดงออกเมื่อรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจ เช่น เสียงดังโวยวายใช้อารมณ์ ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น โดยเฉพาะวัยก่อนเข้าเรียนหรือที่เรียกว่าวัยทอง 2 ขวบ ซึ่งการแสดงพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการค่ะ และเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นคุณแม่สามารถเริ่มแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้ตั้งแต่ยังเด็กค่ะ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเติบโตขึ้นค่ะ สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กโดยเฉพาะในวัยก่อนเข้าเรียนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นค่ะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของเด็กๆซึ่งถือเป็นพัฒนาการหนึ่งของเด็กๆวัยนี้ค่ะ เนื่องจากเด็กๆจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ต้องการทำหรือทดลองในสิ่งต่างๆด้วยตัวเองค่ะ หงุดหงิดง่าย เมื่อถูกขัดใจหรือไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งรวมถึงเมื่อเด็กๆรู้สึกไม่ได้รับความสนใจ ความกลัวหวาดระแวง และไม่สามารถอธิบายหรือจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ค่ะ จึงแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าวค่ะ นอกจากนี้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กอาจเกิดได้จากการเลียนความรุนแรงจากละครในโทรทัศน์ จากครอบครัวหรือคนรอบข้าง เด็กสมาธิสั้นหรือเป็นโรคความผิดปกติทางการควบคุมอารมณ์ค่ะ การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก คาดการณ์พฤติกรรมก้าวร้าว คือเมื่อคุณทราบรู้ว่าสถานการณ์ใดที่อาจทำให้ลูกของคุณเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว คุณคุณสามารถควบคุมเพื่อป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวได้ค่ะ รวมถึงการสอนให้ลูกเรียนรู้และคุ้นเคยกับสถานการณ์ เช่น เมื่อต้องเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ เด็กๆอาจแย่งของเล่นกันซึ่งคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน การเล่นด้วยกัน โดยการค่อยๆพูดให้ลูกไม่ควรดุด้วยน้ำเสียงที่ดัง เป็นต้น เตรียมลูกของคุณให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง หากลูกของคุณแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อสถานการณ์ในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป คุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกทราบถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นค่ะ เช่น กรณีจะต้องกลับบ้านเร็วและลูกจะต้องหยุดเล่น คุณแม่ควรพูดว่า ลูกสามารถเล่นได้อีก 10 นาทีหรืออีก 1 รอบนะคะ และเราจะต้องเตรียมตัวกลับบ้านกันค่ะ เป็นต้น ระวังการเล่นรุนแรงหรือพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ การลอกเลียนแบบความรุนแรงจากละครหรือคนรอบข้าง รวมถึงการเล่นรุนแรงอาจทำให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้จนติดกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้ค่ะ […]