เตือนภัย แมลงก้นกระดก ภัยใกล้ตัวลูกที่พ่อแม่ต้องรู้
ช่วงปลายฝนแบบนี้ เตือนพ่อแม่เฝ้าระวังแมลงก้นกระดก พิษร้ายแผลพุพองจากการสัมผัสเป็นได้ในทุกวัยค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะพาไปรู้จักกับแมลงก้นกะดก ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณต้องรู้ค่ะ เพื่อป้องกันและรับมืออย่างไรเมื่อถูกพิษค่ะ แมลงก้นกระดกเป็นอย่างไร แมลงก้นกระดก หรือแมลงน้ำกรด หรือด้วงก้นกระดก หรือแมลงเฟรชชี เป็นแมลงขนาดเล็กมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวและส่วนก้นสีดำ ช่วงอกและท้องมีสีส้ม แมลงชนิดนี้มีลักษณะชอบงอตัวและกระดกส่วนท้ายขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อแมลงก้นกระดกค่ะ พบบ่อยในที่ชื้นตามพงหญ้าโดยเฉพาะในช่วงฝนตก และออกหากินใกล้แสงไฟในเวลากลางคืน โดยกินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร อันตรายจากแมลงก้นกระดก แมลงน้ำกรดหรือแมลงก้นกระดก ในท้องจะมีสารพิษที่ชื่อว่า พีเดอริน(Paederin) ซึ่งสารชนิดมีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อโดยตัวเมียจะมีสารพิษมากกว่าตัวผู้มาก อันตรายจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการกัดหรือต่อย แต่เกิดจากการสัมผัสกับสารพีเดอริน ซึ่งมักเกิดจาการปัดตัวแมงโดยตรงหรือบี้แมลงทำให้ท้องแตกและสัมผัสกับสารพิษนั้น ส่งผลให้ผิวหนังอักเสบและความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณที่สัมผัสพิษนั้น ลักษณะแผลและอาการจากแมลงก้นกระดก เนื่องจากแผลไม่ได้เกิดจาการกันหรือต่อยของแมลง โดยทั่วไปลักษณะของแผลจะมีตั้งแต่ผิวหนังเป็นผื่นแดง หรือเป็นรอยไหม้เป็นทางยาว ซึ่งะมีขอบเขตชัดเจนในทิศทางตามรอยปัดที่ผิวหนังถูกพิษดังกล่าว จากนั้น 2 – 3 วัน จะเป็นแผลในลักษณะตุ่มน้ำพองใสหรือตุ่มหนองจากการอักเสบของผิวหนัง แต่มักจะไม่อาการคันแต่กลับเป็นอาการแสบร้อน โดยเฉพาะบริเวณที่ผิวบอบบาง เช่น ข้อพับต่างๆ หรือผิวของลูกน้อย เป็นต้น หากเกิดบริเวณรอบดวงตาอาจส่งผลให้ตาบอดได้ค่ะ ทั้งนี้อาการจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณสารพิษที่สัมผัสค่ะ และจะหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน ซึ่งอาจจะทิ้งรอยดำไว้แต่ไม่เกินแผลเป็นค่ะ […]