RDS

ในระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นอาจเกิดความผิดพลาดที่ทำให้ลูกในครรภ์ต้องเผชิญกับภาวะผิดปกติได้ และมีความอันตรายถึงขั้นทำให้เด็กเสียชีวิตได้เลย ก็คือ “ภาวะ RDS

RDS คืออะไร ทารกกลุ่มไหนเสี่ยงมากที่สุด

“RDS” หรือ “Respiratory Distress Syndrome” คือภาวะหายใจลำบากของทารกตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่ปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์ และขาดสาร Surfactant หรือ สารลดแรงตึงผิว อันมีผลทำให้ปอดแฟบ หายใจเข้าออกได้อย่างไม่เป็นปกติ และหากเป็นรุนแรง ทารกก็จะไม่สามารถหายใจเองได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ นั้น เป็นผลมาจากการคลอดก่อนกำหนด

ปัจจัยที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดจนเสี่ยงเป็น RDS

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด จนทำให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสเสี่ยงเป็น RDS มีภาวะหายใจลำบากนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประการหลักๆ ดังต่อไปนี้หากคุณแม่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวมากก็จะมีโอกาสทำให้เด็กไม่แข็งแรง คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงเป็นภาวะ RDS ได้หากพบว่าตัวเด็กเองมีภาวะผิดปกติ เช่น มีความพิการแต่กำเนิด มีโครโมโซมที่ผิดปกติ ก็สามารถทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ หรือในกรณีของการตั้งครรภ์แฝด ไม่ว่าจะแฝด 2 แฝด 3 หรือมากกว่านั้น ก็สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด จนเสี่ยงภาวะ RDS ได้เช่นกันปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น รกมีความผิดปกติจนทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย ก็เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้แม่เจ็บครรภ์จนคลอดก่อนกำหนดได้

ทารกที่เป็น RDS จะมีอาการอย่างไร

อาการของทารกที่เป็นภาวะ RDS หรือ ภาวะหายใจลำบากนั้นจะพบได้ตั้งแต่แรกคลอด คือ เด็กมีอาการหายใจเหนื่อยตั้งแต่คลอดออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนดมากๆ หรือมีอายุครรภ์น้อยๆ จะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะหายใจลำบากที่รุนแรงมากกว่าเด็กที่มีอายุครรภ์มากกว่า เพราะตัวเนื้อปอดสมบูรณ์น้อยกว่า

อาการของ RDS

ทารกที่มีภาวะ RDS จะแสดงอาการภายในเวลาไม่นานหลังการคลอด โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่าทารกจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น หายใจเร็ว หายใจเสียงดังหรือมีเสียงร้องคราง จมูกบานหรือกว้างขึ้นขณะหายใจ หยุดหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ หน้าอกบุ๋มหรือช่องระหว่างซี่โครงยุบลงเนื่องจากหายใจมาก ริมผีปาก ปลายมือและปลายเท้าเป็นสีม่วงคล้ำ เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ

ปริมาณปัสสาวะลดลง

การรักษา RDS 

แพทย์จะมุ่งเน้นการรักษาเพื่อช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของทารกทำงานได้ปกติ และช่วยให้ทารกสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

1.การให้สารลดแรงตึงผิวของถุงลมทดแทน (Surfactant Replacement Therapy) 

แพทย์จะให้สารลดแรงตึงผิวเพื่อช่วยให้ถุงลมภายในปอดทำงานได้อย่างปกติ หลังจากทารกได้รับสารดังกล่าวแล้ว แพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทารกหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยจำนวนครั้งของการให้สารลดแรงตึงผิวของถุงลมจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ

2.การใส่เครื่องช่วยหายใจแบบท่อหรือเครื่องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก

แพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจแบบท่อโดยจะสอดท่อเข้าไปบริเวณหลอดลม หรือใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูกโดยเป็นการให้ออกซิเจนผ่านหน้ากากอันเล็ก วิธีการรักษารูปแบบนี้จะช่วยป้องกันการแฟบของถุงลมปอดและเสริมการเปลี่ยนก๊าซที่ดีขึ้น   

3.การรักษาด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy)

เป็นการให้ออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ เพื่อรักษาและป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนจะถูกส่งเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ผ่านปอดโดยใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงก็อาจให้ออกซิเจนโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here