โรคโอเอบี ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

โรคโอเอบี ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ปัสสาวะรดกางเกงหรือที่นอนในเด็กเล็ก มักเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ถือว่าเป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ค่ะ แต่วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโอเอบีหรือภาวะกระเพาะปัสสาวะที่ทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ค่ะ ซึ่งเด็กและผู้ใหญ่สามารถมีกระเพาะปัสสาวะไวเกินได้ค่ะ

โรคโอเอบีคืออะไร

โรคโอเอบี (OAB : overactive bladder) ภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานไวกว่าปกติ หรือกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ปัญหาเกี่ยวกับกลั้นปัสสาวะซึ่งอาจทำให้ต้องปัสสาวะกะทันหันและมักไม่สามารถควบคุมได้ค่ะ เด็กที่มีกระเพาะปัสสาวะไวเกินมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติซึ่งอาจส่งผลให้เสื้อผ้าเปื้อนหรือฉี่รดที่นอนได้ค่ะ

สาเหตุของโรคโอเอบี ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หมายถึงการสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีอาการกระตุกท่อปัสสาวะได้รับผลกระทบไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมาจากร่างกาย สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะไวเกินในเด็กอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • การบริโภคคาเฟอีนซึ่งจะเพิ่มปริมาณปัสสาวะและอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะกระตุก
  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเกินไป
  • ความจุกระเพาะปัสสาวะขนาดเล็ก
  • ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
  • โรคภูมิแพ้ การกินหรือดื่มสิ่งที่เด็กแพ้อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะไวเกินได้เช่นกันค่ะ
  • ฯลฯ

อาการภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานไวกว่าปกติ

อาการของกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งในเด็กอาจสังเกตได้อยากเนื่องอาการปัสสาวะรดเมื้อผ้าหรือที่นอนเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในเด็กค่ะ แต่คุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติบางอย่างได้ค่ะ เช่น เมื่อลูกอายุ 4 ปีขึ้นไป มีอาการปัสสวะบ่อยกว่าปกติหรือปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือปัสสาวะรดที่นอนในช่วงกลางคืนเป็นประจำ รวมถึงคืนกลางดึกบ่อยๆเพื่อปัสสาวะ เป็นต้น

กระเพาะปัสสาวะไวเกินในเด็กรักษาอย่างไร

โดยส่วนใหญ่ภาวะโอเอบีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในเด็กเมื่อเติบโตขึ้นมักมีอาการดีขึ้น เด็กอาจเรียนรู้ที่จะตอบสนองอย่างทันท่วงทีต่อสัญญาณของร่างกายที่มีต่อปัสสาวะหรือความจุของกระเพาะปัสสาวะอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปค่ะ การผ่าตัดมักเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาอย่างไรก็ตามหากพบว่าเมื่อลูกของคุณอายุ 6 ปีขึ้นไปแต่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกๆได้ดังนี้ค่ะ

  • การฝึกกระเพาะปัสสาวะโดยการพาเด็กๆเข้าห้องน้ำเป็นเวลา ฝึกการขับถ่ายซึ่งจะช่วยฝึกกระเพาะปัสสาวะให้กักเก็บปัสสาวะได้มากขึ้นค่ะ
  • การออกกำลังกายในอุ้งเชิงกรานเป็นวิธีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ใช้ในการชะลอและหยุดการไหลของปัสสาวะและป้องกันการปัสสาวะรดที่นอน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น งดหรือลดปริมาณน้ำดื่นก่อนเข้านอน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง