lazy eye

โรคตาขี้เกียจในเด็ก เสี่ยงลูกมองไม่เห็น

โรคตาขี้เกียจอาจเป็นโรคใหม่สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน แต่ทราบหรือไม่ว่าหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ลูกของคุณสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ค่ะ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีปัญหาทางสายตามากขึ้น 3-5 % ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงวิธีการดูแลรักษาดวงตาคู่เล็กของลูกน้อยค่ะ 

โรคตาขี้เกียจคืออะไร

โรคตาขี้เกียจ

ตาขี้เกียจ(Amblyopia) หรือเลซี่อาย(Lazy eye) คือการมองเห็นที่ผิดปกติของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลให้การรับภาพของตาข้างนั้นลดน้อยลง ซึ่งโดยปกติแล้วการมองเห็นของเด็กจะเกิดขึ้นและมองเห็นได้ชัดเจนเท่ากับผู้ใหญ่ตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึงอายุ 6 ปี หากพบความผิดปกติของสายตาควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องก่อนลูกอายุ 7 ปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็นถาวร(ตาบอด)ได้ค่ะ

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจในเด็ก

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคขี้เกียจในเด็ก ได้แก่

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ
  • โรคตาเขหรือตาเหล่ เป็นสาเหตุของเลซี่อายที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นปัญหาทางสายตาที่พบบ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนอายุตั้งแต่ 3 – 5 ปี เพราะการมองเห็นไม่ดีเท่ากันของดวงตาทั้งสองข้าง ส่งผลให้มองเห็นเป็นภาพซ้อนกัน ทำให้ต้องใช้สายตาเพียงข้างเดียวเพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อนกันค่ะค่ะ 
  • ปัญหาประสาทตา กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาทำงานไม่สมดุล
  • ปัญหาสายตาที่ผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว หรือเอียงทั้งสองข้างมากเกินไป เช่น ข้างหนึ่ง 0 อีกข้างหนึ่ง 500 เป็นต้น
  • โรคทางสายตาอื่นๆที่บดบังการมองเห็น เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน แผลที่กระจกตา เป็นต้น พบบ่อยในเด็กทารก และเป็นสาเหตุที่มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุดค่ะ 

อาการตาขี้เกียจในเด็ก

อาการโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจเป็นโรคหนึ่งที่สังเกตได้ยาก และเด็กไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าดวงตามข้างใดข้างหนึ่งของเขากำลังมีปัญหาการมองเห็นที่ผิดปกติค่ะ ยกเว้นในกรณีที่มองเห็นความผิดปกติจากดวงตาได้ชัดเจน จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในการมองสิ่งต่างๆของลูก เช่น การเพ่งมองสิ่งต่างๆมากเป็นพิเศษ อาการตาเหล่และต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาไว้ข้างหนึ่งเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน มีความผิดปกติด้านพัฒนาการ หรืออาจจะมองเห็นไม่ค่อยชัดในที่มืด เป็นต้น

โรคตาขี้เกียจรักษาอย่างไร

วิธีรักษาโรคตาขี้เกีขจ

การรักษาโรคตาขี้เกียจนั้นควรทำเมื่อตรวจพบปัญหาทางสายตาของลูกตั้งแต่เริ่มแรก เพราะยิ่งรักษาเร็วหรือได้รับการรักษาก่อนอายุ 7 ปีจะได้ผลดีที่สุดและมีโอกาสหายขาดสูงกว่าเมื่อพบตอนเป็นผู้ใหญ่ค่ะ โดยส่วนใหญ่แนวทางการรักษาจะเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อตาในข้างที่อ่อนแรง เพื่อช่วยให้สมองทำงานประสานกับดวงตาที่มีปัญหามากขึ้น รวมถึงรักษาจากต้นเหตุของความผดปกติทางสายตา ได้แก่

  • การสวมแว่นสายตา โดยใช้กับเด็กที่หากปัญหาจากความผิดปกติทางสายตาไม่เท่ากัน
  • ปิดตาข้างที่ปกติ เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของดวงตาที่มีอาการตาขี้เกียจ โดยปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติค่ะ
  • การผ่าตัด วิธีนี้ใช้สำหรับโรคตาที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน แผลที่กระจกตา หรือปรับตำแหน่งของสายตา เป็นต้น และเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด โดยหลังจากผ่าตัดจะค่อยๆฝึกและพัฒนาการมองเห็น เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อดวงตาให้ทำงานได้เป็นปกติมากขึ้น

โรคตาขี้เกียจในเด็กสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดีเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้ความสำเร็จในการรักษาโรคตาขี้เกียจนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคุณพ่อคุณแม่ โดยเริ่มตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก และรวมทั้งในขั้นตอนการรักษาหากตรวจพบความผิดปกติทางสายตาของลูกน้อยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ โรคตาในเด็ก