HIVและโรคเอดส์ในเด็ก

ก่อนที่จะเข้าเรื่องกัน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า HIV กับโรคเอดส์ แตกต่างกัน เนื่องจากคนไทยหลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิดๆกันอยู่ระหว่างโรคเอดส์กับเชื้อไวรัส HIV คือโรคเดียวกัน

HIV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่หากเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปเริ่มก่อตัวทำร้ายภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งในระยะแรกๆ จะเริ่มทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด แต่ยังไม่แสดงอาการแต่อย่างใด ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับรับเชื้อจะไม่สามารถรู้ว่าตัวเองได้รับเชื้อไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาตัวไหนสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ มีแต่เพียงยาต้านไวรัสที่จะไม่ทำให้เชื้อไวรัสกำเริบให้กลายเป็นโรคเอดส์ ซึ่งหากได้รับยาต้านและรักษาอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยก็ยังที่จะสามารถดำรงชีวิตปกติในสังคมได้

AIDS คือ โรคที่ผลต่อมาจากการไม่รับการรักษาเชื้อไวรัส HIV อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วย ซึ่งโรคเอดส์คือโรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องไม่สามารถต้านทานโรคต่างๆ ได้

ดังนั้น ระหว่าง HIV กับ โรคเอดส์ ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่เป็นเพียงโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเท่านั้น

ในปัจจุบัน นอกจากมีการค้นพบยาต้านเอดส์ใหม่ ๆ หลายชนิด? ยังมีการพัฒนาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ได้แก่ การตรวจนับจำนวน CD4 ปริมาณไวรัส (viral load) และการดื้อยาของไวรัส (HIV resistance assay) ทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความพิการและอัตราตายและช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

การติดเชื้อไวรัส HIVและโรคเอดส์ในเด็ก

โดยส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV จะติดเชื้อในขณะที่อยู่ในครรภ์ หรือในระหว่างที่คลอด หรือไม่ก็ได้รับเชื้อจากน้ำนมจากแม่ และยังมีการติดเชื้อจากเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับเลือด ซึ่งมีโอกาสเกิดขุึ้นในเปอร์เซนต์น้อยหรือมากในระยะหลังเพราะมีการตรวจคัดกรองเลือดที่มาบริจาคอย่างประสิทธิภาพ

พ่อแม่ติดเชื้อ HIV หรือ เป็นโรคเอดส์ ลูกสามารถติดเชื้อเสมอไปหรือไม่

สำหรับการติดเชื้อเด็ก จะอยู่ในช่วงที่อยู่ในครรภ์ หรือระหว่างการคลอด สำหรับในประเทศไทยจะไม่แนะนำให้เด็กที่เกิดแม่ที่ติดเชื้อกินนมแม่ ทำให้การติดเชื้อภายหลังคลอดไม่พบการติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อจากคนเป็นพ่อไม่มีการติดต่อเชื้อไปยังลูก

สำหรับแม่ที่เชื้อไม่ได้รับยาต้านไวรัสใดๆ และเด็กก็ไม่ได่กินนมจากแม่ มีเพียง 1 ใน 4 หรือ ประมาณ 25% เท่านั้นที่ลูกจะติดเชื้อจากแม่ แต่สำหรับแม่ที่ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัส Zidovudine (AZT) โดยได้รับก่อนคลอดไม่นาน และเด็กก็ได้รับยาเดียวกัน จะพบว่าอัตราการลูกติดเชื้อเหลือแค่ประมาณ 7-8% แต่ถ้าหากคุณแม่ที่ติดเชื้อได้รับยา Zidovudine (AZT) และยา Lamivudine (3TC) ตั้งแต่ที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และได้รับยา Nepirapine (NVP) 1 ครั้งในตอนที่คลอด และเด็กได้รับยาตัวเดียวกัน 1 ครั้ง จะทำให้อัตราการติดเชื้อไปสู่ลูกเหลือแค่ประมาณ 3% และหากคุณแม่ที่ติดเชื้อ ได้รับยา 3 ขนานนานกว่า 4 สัปดาห์ ก่อนที่คลอด อัตราการติดเชื้อไปสู่ลูกเหลือแค่เพียงประมาณ 1-2% ไม่เพียงเท่านี้คุณแม่ทำการคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง (Caesaren section) ก่อนที่จะเจ็บครรภ์หรือมีอาการน้ำเดิน จะลดความอันตรายการติดเชื้อในเด็กลงไปได้อีกด้วย

ในสถานพยาบาลในปัจจุบัน จะเน้นการรักษาคุณแม่ในระหวางที่กำลังตั้งครรภ์เป็นอย่างมากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูก ซึ่งทำถูกต้องและทำดี จะทำให้ผู้ป่วยที่เด็กในรายใหม่จะลดน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันกระทรางสาธารณสุขได้จัดสรรยาต้านไวรัส ในหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นยา Zidovudine (AZT) และ Nepirapine (NVP) ไม่เพียงเท่านี้ทางกระทรวงสาธารณสุขยังมอบนมผงให้แก่เด็กทารกนาน 1 ปี ให้เพียงพอทั่วประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการชื่นชมในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวนเลือดเพื่อค้นหาเชื้อในเพศหญิงตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องทำให้ทุกราย และการคาดการในอนาคตจะมีเด็กติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดน้อยลง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้น จะทำให้มีทรัพยากรเหลือมาดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อไปแล้วได้ดีมากยิ่งขึ้น

อาการการติดเชื้อไวรัส HIV ในเด็ก

การแสดงอาการของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV

  • ตับ ม้ามโต มีการอักเสบที่ผิวหนัง และเจ็บป่วยบ่อย
  • มีอาการท้องเสียบ่อย ช่องปากมีฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อรา
  • ปอด เยื้อหุ้มสมอง ในเชื้อรา ร่างกายซูบผอมมาก และมีพัฒนาการที่ช้า

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใดๆ และอาจมีสุขภาพที่แข็งแรง ได้หลายปี ดังนั้นวิธีการตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวที่จะวินิจฉัยผู้ที่ติดเชื้อ HIV ได้อย่างแน่นอน ดังนั้น หากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อดีที่สุด

การรักษาการติดเชื้อไวรัส HIV และโรคเอดส์ในเด็ก

ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้คิดค้นยาต้านไวรัส HIV ซึ่งมีความสามารถลดปริมาณเชื้อ HIV ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงใกล้เคียงเป็นปกติได้ แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และโรคนี้จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้การเริ่มใช้ยาต้าน HIV จำเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

การรับประทานยาต้านอย่างสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อระดับยาในเลือดอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะใดๆ ที่สามารถทำให้ระดับยาในเลือดลดลง อย่างเช่น การขาดยา กินยาไม่ตรงเวลา หรือไม่กินยาตามหมอสั่ง จะส่งผลให้เชื้อไวรัสเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ทำให้โรคต่างๆกำเริบได้ง่าย

ในการลดปริมาณไวรัส HIV ให้น้อยที่สุดจะเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคเอดส์และส่งผลให้เสียชีวิต ไม่เพียงเท่านี้ การรับประทานยาต้าน จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยดื้อยา เพราะหากู้ป่วยดื้อยา จะทำให้สูตรยาที่จะรักษาได้ มีปริมาณที่น้อยลง ดังนั้นการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีโอกาสรักษาหายในอนาคต

วิธีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV สามารถเกิดผลข้างเคียงขึ้นมาได้ หากมีปัญหาจากการรับยา ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และเนื่องด้วยเชื้อไวรัส HIV อาจมีปฎิกริยากับตัวยาตัวอื่น ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเมื่อใช้ยาร่วม

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV ไปสู่เด็ก

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่รู้สถานะการมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่มีประวัติการใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้น หรือมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่ค้าประเวณี เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ไม่สวมถุงยางอนามัย เช่น มีเพศสัมพันธ์ในยณะมึนเมา หรือใช้ยาเสพติด
  • หากคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส โรคหนองใน หรือมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ควรต้องรักษาให้หายก่อน เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คุณยังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
  • หยุดการใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาการใช้เข็มฉีดเข้าเส้นเลือด และไม่ควรใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • ไม่ใช้มีดโกนต่างๆ แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV
  • สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือประสงค์ที่จะตั้งครรภ์ ควรที่จะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ HIV หากพบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ในมารดาช่วงตั้งครรภ์และในทารกแรกเกิด ร่วมกับงดกินนมมารดา สามารถลดอัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกได้เป็นอย่างมาก

วิธีการดูแลเด็กที่ติดเชื้อ HIV

เด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กคนอื่นทั่วไป ซึ่งเด็กที่ติดเชื้อจะต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์ตามความเหมาะสมตามวัย ควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ออกกำลังกายที่เหมาะสม ส่งเสริมการศึกษาเหมือนเด็กทั่วไป ไม่จำกัดการเล่นกิจกรรมต่างๆ กับเด็กคนอื่น ไม่เพียงเท่านี้ยังมีข้อควรระวังให้เป็นพิเศษ ดังนี้

  • รับประทานอาหารและน้ำต้มสุก สะอาด
  • ดูแลส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด เช่นควรการล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ
  • งดเลี้ยงสัตว์เลี้ยงทุกชนิด เพราะเป็นแหล่งรวมเชื้อต่างๆ
  • ไม่ควรให้เด็กเล่นของเล่นที่มีลักษณะแหลมคม ควรทำมาจากพลาสติก และสามารถล้างทำความสะอาดได้
  • เมื่อเด็กเจ็บป่วย ควรพาไปพบแพทย์ และเมื่อมีคนในบ้านเจ็บป่วยเป็นโรคติดต่อ หรือเด็กสัมผัสโรคที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น โรคอีสุกอีใส หัด วัณโรค ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ควรพาเด็กไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • ก่อนจะรับวัคซีนใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • เมื่อมีบาดแผลเลือดออก หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ควรสอนการดูแล ทำความสะอาด และปิดแผล
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือเปล่าสัมผัสเลือด น้ำเหลือง และน้ำมูกของเด็ก ควรใช้สิ่งปกป้องการสัมผัสโดยตรง เช่น ถุงมือ ถุงพลาสติก ผ้า กระดาษทิชชู เป็นต้น

วิธีการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อของเด็ก ให้ตัวเด็กและผู้อื่น

ปกติแล้ว เด็กที่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะไม่แพร่เชื้อให้แก่ผู้ใกล้ชิด จึงจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้อื่น ดังนั้น แพทยสภาจึงมีข้อแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะให้รับทราบ เว้นแต่ในกรณีที่เกิดการสัมผัสเลือด น้ำหนอง กันโดยตรง เช่น เด็กทะเลาะกันและกันกัน เป็นต้น

ในเด็กเล็กที่ติดเชื้อ HIV มักจะไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นมีอายุมากขึ้น เด็กจำเป็นต้องรู้และรับรู้การวินิจฉัยโรคของตัวเอง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อในการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจถึงความจำเป็นของการต้องรับยาอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้มีวินัยของการกินยามากขึ้น

ในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อควรที่จะทำเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น

ในการบอกสถานะการติดเชื้อ HIV ให้กับเด็กได้รับทราบต้องระมัดระวัง ต้องเตรียมความพร้อม และทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลาให้เด็กได้ทำใจและค่อยๆ ปรับตัว และเมื่อได้เปิดเผยต่อเด็กแล้ว ต้องมีการติดตามผลและครอบครัวต่อไป

การปฏิบัติตนและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อ HIV

โดยปกติทั่วไปเด็กที่ติดเชื่อไวรัส HIV ไม่มีข้อห้ามในการดำเนินชีวิตประจำวันแต่อย่างใด แต่ก็ยังมีเรื่องที่แตกต่างคือในเรื่องของอาหารที่ปรุงสุกและน้ำที่สะอาด ไม่ควรที่รับประทานอาหารที่สุกๆดิบๆ เพราะอาจมีผลต่อเชื้อไวรัสได้

เชื้อไวรัส HIV จะไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัส ซึ่งเด็กสามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดแผลได้ เช่น กีฬาที่ต้องประทะที่อาจทำให้เกิดบาดแผลได้

การเตรียมความพร้อมเมื่อเด็กที่ติดเชื้อ HIV เข้าสู่วัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ในด้านของการเจริญเติบโตเด็กผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน ส่วนเด็กผู้ชายจะสามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ เด็กควรได้รับการสอนสุขลักษณะอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือก่อนและหลังจากเข้าห้องน้ำ ผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว วัสดุที่ปนเปื้อนเลือดหรือน้ำอสุจิ ควรห่อกระดาษหรือใส่ถุงก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เป็นต้น นอกจากนั้นควรเน้นในเรื่องของการไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ส่วนในด้านของจิตใจ อารมณ์ และการปรับตัวในสังคม เด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อาจมีปัญหาในเรื่องของพฤติกรรม การกินยาอย่างสม่ำเสมอ ความมั่นใจในตนเอง ผู้ดูแลควรคอยสังเกต และเป็นที่ปรึกษาให้แก่เด็กอย่างใกล้ชิด รวมทั้งอาจช่วยวางแนวทางในการเลือกอาชีพด้วย

ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น โดยทั่วไปไม่มีข้อจำกัดในการทำอาชีพใด ๆ ยกเว้นควรหลีกเลี่ยงในบางอาชีพ ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสปนเปื้อนเลือดโดยตรงได้ เช่น แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการผ่าตัด เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here