เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

บทความนี้สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และมีข้อสงสัยว่าทำไมฝากครรภ์ต้องตรวจเบาหวาน วันนี้เรามีข้อมูลของโรคเบาหวานที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อยในครรภ์ และมีวิธีการป้องกันเบาหวานในขณะตั้งครรภ์อย่างไรค่ะ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) คือภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกายในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้ร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ อาจก่อให้เกิดภาวะรุนแรงที่เป็นอันตรายได้ค่ะ 

อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักจะไม่มีอาการใดๆ ส่วนใหญ่จะตรวจพบภาวะดังกล่าวได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หรือในบางรายอาจมีอาการดังนี้ กระหายน้ำ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และรู้สึกเมื่อยล้า ซึ่งเป็นอาการคล้ายคลึงกับอาการของคนตั้งครรภ์ทั่วไป

อันตรายของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ดังนี้

  • ทารกตัวใหญ่น้ำหนักตัวมาก ส่งผลให้คุณแม่คลอดยากหรืออาจเกิดอันตรายขณะคลอด
  • ภาวะคลอดก่อนกำหนด ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไป
  • ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลให้เกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด
  • โรคอ้วนหรือโรคเบาหวานในอนาคต 
  • ทารกพิการตั้งแต่กำหนด
  • ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่และลูกน้อย อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 25 ปีขึ้นไป
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  • มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนก่อนการตั้งครรภ์
  • น้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติในขณะตั้งครรภ์
  • เคยมีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • แท้งบุตรหรือทารกตายคลอด (Stillbirth)

การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถลดโอกาสของการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ค่ะ โดยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์และมีน้ำตาลต่ำ ควรเน้นผักที่มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ผลไม้ที่ผสมน้ำเชื่อม น้ำผลไม้และขนมหวาน ออกกำลังกายเบาๆเป็นประจำ เช่น เดินหลังอาหารเช้าหรือเที่ยงสัก 15 นาที เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ