หนึ่งในประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในการตั้งครรภ์คือ การรู้สึกว่าลูกน้อยของคุณเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าลูกของคุณยังมีชีวิตอยู่และพัฒนาได้ดีค่ะ แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นลูกในท้องกลับดิ้นน้อยลง ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับคุณแม่หลายๆท่านโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ดังนั้นวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับอัตราการดิ้นหรือการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ รวมถึงการดิ้นแบบไหนที่เป็นอันตรายและควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

การเคลื่อนไหวของทารกในระหว่างตั้งครรภ์

คุณจะเริ่มรู้สึกการเคลื่อนไหวของทารกในเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์หรือสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งในช่วงแรกลักษณะของเต้นตุ๊บๆ และจะเคลื่อนไหวมากขึ้นตามอายุครรภ์ค่ะ ได้แก่ อายุครรภ์ 20 สัปดาห์อัตราการดิ้นของลูกเฉลี่ยประมาณ 200 ครั้งต่อวัน และเมื่ออายุครรภ์ได้ 30 – 32 สัปดาห์อัตราการดิ้นของลูกน้อยอาจสูงถึง 375-700 ครั้งต่อวันค่ะ 

ลูกดิ้นแบบไหนถือว่าผิดปกติ 

การดิ้นของลูกจะเพิ่มขึ้นและแรงขึ้นตามอายุครรภ์ค่ะ เนื่องจากขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นและพื้นที่ในท้องน้อยลงทำให้คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นแรงขึ้นและอาจสร้างความกังวลหรือข้อสงสัยว่าลูกดิ้นแบบนี้ผิดปกติไหม หากลูกดิ้นแรงเป็นปกติต่อเนื่องไปจนถึงใกล้คลอดเป็นเรื่องปกติค่ะไม่ต้องกังวลใดๆค่ะ แต่ถ้าหากพบว่าลูกดิ้นแรงมากจากนั้นลูกไม่ดิ้นอีกเลยหรือไม่มีแม่แต่เต้นตุ๊บๆ โดยเฉพาะใกล้คลอดควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

สาเหตุที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์น้อยลง

ความถี่ของการเคลื่อนไหวของทารกอาจขึ้นอยู่กับน้ำคร่ำในตัวของคุณ พื้นที่ในท้องหรือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของคุณ แต่อาจมีเหตุผลอื่นด้วยได้แก่

  • เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 การนอนหลับของลูกน้อยในครรภ์อาจส่งผลให้การขยับตัวอาจจะ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้งค่ะ
  • เมื่อคุณเข้าสู่การตั้งครรภ์ได้ 38 สัปดาห์ทารกอาจเข้าอุ้มกระดูกเชิงกรานและเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และหากโพรงมดลูกของคุณแม่แคบจนลูกน้อยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ
  • อายุครรภ์มากหรือเกินกำหนด ทำให้รกเสื่อมสภาพส่งผลให้ปริมาณอาหารและออกซิเจนที่ส่งผ่านรกไปยังลูกน้อยลดน้อยลง ซึ่งภาวะรกเสื่อมสภาพมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้ค่ะ

ทารกแต่ละคนเติบโตขึ้นและเคลื่อนไหวตามจังหวะของตนเองตามปัจจัยต่างๆค่ะ ดังนั้นการติดตามความเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ หากคุณแม่มีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติของการดิ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here