โรคโดลิค

รับมืออย่างไร เมื่อลูกมีอาการโคลิค(colic)

เมื่อลูกร้องไห้โดยที่เราไม่ทราบสาเหตุหรือไม่สามารถทำให้ลูกหยุดร้องไห้ได้ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนเจ็บปวดเพราะไม่สามารถช่วยให้ลูกหยุดร้องได้ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดการอาการโคลิคในทารกค่ะ ซึ่งบทความนี้เราจะมาแนะนำเคล็ดลับการรับมือเมื่อลูกมีอาการโคลิคค่ะ

อาการโคลิคในเด็กคืออะไร

symptom colic

โดยทั่วไปทารกรู้สึกหิว ไม่สบายตัวมักจะส่งเสียงร้องตามปกติ แต่โคลิค (colic) คืออาการร้องไห้อย่างหนักโดยไม่ทราบสาเหตุของทารก และสามารถร้องต่อเนื่องได้นานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงค่ะ โดยส่วนใหญ่มักร้องไห้ในเวลาเดิมแบบนี้ทุกวันในช่วงเย็นจนถึงหลังเที่ยงคืนและไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ได้ ไม่ว่าจะอุ้มเดิน ร้องเพลงกล่อม หรือให้กินนม ฯลฯ โคลิคในเด็กเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-4 สัปดาห์ และหายไปเมื่ออายุได้ 3 เดือน พบได้ร้อยละ 20 ของเด็กทั้งชายและหญิงค่ะ

สาเหตุของอาการโคลิค

สาเหตุอาการโคลิค

สาเหตุของอาการโคลิคในเด็กทารกนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ลมหรือแก๊สในท้องมาก การจุกเสียดแน่นท้องรู้สึกไม่สบายท้อง ซึ่งอาจเกิดจากการกลืนลมในขณะดูดนมหรือร้องไห้ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร หรือลำไส้ของลูกน้อยกำลังทำงานหนักเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย การถูกเร้าจากภาวะแวดล้อม เช่น เสียงดัง แสงจ้า หรือกลิ่นบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น สำไส้กลืนกัน แพ้นมวัว ไส้เลื่อน เป็นต้น

การรักษาอาการโคลิคในเด็ก

Treatment colic

เนื่องจากอาการโคลิคนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้จึงยังไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะค่ะ และโดยทั่วไปอาการโคลิคในเด็กจะดีขึ้นและหายไปเองเมืออายุ 3 – 4 เดือนค่ะ หรือหากเกิดจากอาการไม่สบายท้องท้องอืดแน่นท้องคุณแม่อาจใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ค่ะ อย่างไรก็ตามการใช้ยาสำหรับทารกควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งค่ะ

การรับมือเมื่อลูกมีอาการโคลิค

การรับมือโคลิค

เนื่องจากอาการโคลิคในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคน และไม่ใช่อาการถาวรสามารถหายได้เองค่ะ แต่อาการร้องของลูกน้อยมักสามารถความไม่สบายใจค่ะ แต่การรับมือกับอาการโคลิคทำได้หลายวิธีค่ะ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาทดลองจนกว่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณ เช่น

  • สังเกตอาการที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจเกิดจากการไม่สบายตัว ปวดท้อง ผ้าอ้อมเปียกชื้น เป็นต้น รวมถึงควรให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม
  • อุ้มลูกน้อยในแนวตั้ง เพื่อให้ลูกรู้สึกดีขึ้นและอบอุ่นปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอดแม่ หรือพาออกไปสูดอากาศเดินเล่นบริเวณรอบๆบ้าน
  • อาบน้ำอุ่นๆ จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายขึ้น
  • การร้องเพลงหรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง อาจจะเป็นเพลงที่ลูกฟังบ่อยๆก็ช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายได้ค่ะ
  • การนวดผ่อนคลาย นอกจากจะช่วยผ่อนคลายทารกแล้วยังช่วยไล่ลมและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับลูกน้อยอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป 

อาการร้องไห้งอแงสำหรับเด็กหลายครั้งอาจเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย แต่สิ่งที่สำคัญคือการทำอย่างไรเพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ และจะต้องทำการบ้านอย่างหนักค่ะ แต่ให้นึกไว้เสมอว่าอาการโคลิคในเด็กนั้นถือเป็นอาการปกติค่ะที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคนค่ะ อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายได้เองเมื่อลูกอายุ 4 เดือนขึ้นไปค่ะ