บูลลี่

การถูกบูลลี่ไม่ใช่เรื่องปกติ หรือ แค่เด็กเล่นกัน ซึ่งเด็กหรือผู้ใหญ่หลายๆคนคิดว่าเป็นเรื่องตลก แต่สำหรับเด็กที่ถูกบูลลี่เป็นปัญหาหนึ่งจนลายเป็นปมในวัยเด็ก และหาทางออกด้วยการทำร้ายตัวเองและทำร้ายคนอื่น ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักความหมายของการบูลลี่ และมีวิธีการรับมือเมื่อลูกของเราถูกบูลลี่

บูลลี่คืออะไร

บูลลี่ (bully) คือพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่นให้เกิดความเจ็บปวดทั้งทางกายและจิตใจ และมักเกิดขึ้นในโรงเรียนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กย้ายเข้ามาใหม่ หรือเด็กที่มีข้อบกพร่องอื่นๆ เช่น หน้าตารูป ฐานนะครอบครัว ผลการเรียน ฯลฯ เนื่องจากโรงเรียนเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้นนอกเหนือจากภายในบ้านหรือครอบครัว ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และเด็กหลายคนอาจตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ รวมถึงเป็นฝ่ายกระทำหรือบูลลี่คนอื่นค่ะ ซึ่งแบ่งเป็นลักษณะของการบูลลี่ ดังนี้

  • การกลั่นแกล้งทางร่างกาย การกลั่นแกล้งโดยใช้ความรุนแรง ทำร้ายร่างกาย ทำลายข้าวของให้เสียหาย เช่น การเตะ ตี ต่อย ตบ ผลัก เดินเบียด ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ผู้รังแกมักจะมีขนาดตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า และก้าวร้าวกว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ
  • การกลั่นแกล้งโดยคำพูดทำร้ายความรู้สึก ข่มขู่ ดูถูก ล้อเลียน ใช้ถ่อยคำรุนแรงเพื่อทำร้ายความรู้สึก  ซึ่งการรังแกด้วยคำพูดส่งผลกระทบที่ร้ายแรงสามารถทำให้เกิดบาดแผลลึกในใจได้
  • การกลั่นแกล้งโดยการกีดกันทางสังคม เช่น การบอกห้ามไม่ให้คนอื่นๆเข้าใกล้ อาจใช้การข่มขู่หรือปล่อยข่าวในด้านลบ เป็นต้น
  • การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ โดยการใช้สื่อโซเชียล เช่น การปล่อยเรื่องเสียหาย หรือรวมกลุ่มกันกลั่นแกล้งผ่านทางสื่อโซเชียลต่างๆ

รู้ได้อย่างไรว่าลูกกำลังถูกบูลลี่

สัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังถูกบูลลี่เบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก เช่น ภาวะเครียด นอนไม่หลับ ฝันร้าย ซึมเศร้า มีเพื่อนน้อยหรือมีเพื่อนน้อยลง และรวมถึงมีบาดแผลฟกช้ำตามร่างกาย ซึ่งอาจจะไม่ยอมบอกคุณพ่อคุณแม่ถึงที่มาของบาดแผล เป็นต้น

วิธีรับมือเมื่อลูกกำลังถูกบูลลี่

ธรรมชาติแล้วคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูมักเข้าข้างลูกของตัวเองหรือมองว่าเป็นการเล่นกันตลกเสมอ ซึ่งเรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า ลูกฉันเป็นเด็กดีไม่ทำอะไรแบบนั้นหรอก หรือคำพูดที่ว่า แค่เด็กแกล้งกันเล่น เป็นต้น สำหรับผู้ใหญ่ในบางครั้งอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สำหรับเด็กเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อตัวเด็กเองในระยะยาวได้ค่ะ ดังนั้นวิธีช่วยลูกจากการถูกเพื่อน Bully คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้

  • การรับฟังลูกอธิบายอย่างตั้งใจเป็นกลาง และไม่ควรด่วนตัดสิน เนืองเด็กหลายๆคนเมื่อเจอปัญหาบางครั้งมักไม่กล้าเล่าให้ฟัง เพราะผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะตัดสินเด็กจากสิ่งที่ตัวเองเชื่อมากกว่าการรับฟังค่ะ
  • การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง การวางตัวและการอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่น เช่น การสอนลูกเรื่องการแกล้งกันไม่ใช่เรื่องที่ยอมรับกันได้ ถ้าลูกถูกแกล้งลูกจะรู้สึกอย่างไร และไม่ควรทำอย่างนั้นกับใครเช่นกันค่ะ เป็นต้น
  • การสอนให้ลูกรักตัวให้เป็น รู้คุณค่าในตัวเอง เพราะการถูกเพื่อนกลั่นแกล้งหรือถูกทำร้าย ไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวของลูกเองลดลงไปและจะไม่สามารถทำอะไรเราได้ค่ะ
  • การสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ลูกเรียนรู้การแก้ปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกับให้กับลูก เช่น หากลูกโดนเพื่อนแกล้งจะทำอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่ลองฟังคำตอบของลูกและแนะนำแนวทางที่ถูกต้องลูกค่ะ

ดังนั้น การเข้าใจและจัดการกับเรื่องของการกลั่นแกล้งได้ดีนั้น ต้องอาศัยทุกฝ่ายทั้งเด็ก คุณพ่อคุณแม่ มาช่วยกันด้วยค่ะ และเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักและช่วยกันแก้ไขค่ะ เพราะการปล่อยให้เด็กคนหนึ่งโดนกลั่นแกล้งไปเรื่อยๆจนกลายเป็นปมในวัยเด็กได้ค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here