โรคทางเดินน้ำดีตีบตันในเด็ก (Biliary Atresia) เป็นโรคตับหายากที่พบได้ในเด็กทารกแรกเกิด อาการคล้ายโรคดีซ่านหากผล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา ท่อาจนำไปสู่การทำลายตับ สูญเสียของเนื้อเยื่อตับและนำไปสู่โรคตับแข็งซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ
โรคทางเดินน้ำดีตีบตัน (Biliary Atresia) เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อตับ เนื่องจากท่อน้ำดีมีหน้าที่สำคัญในการลำเรียงสารที่เรียกว่าน้ำดีจากตับเพื่อมาเก็บที่ถุงน้ำดี ซึ่งกระบวนการทำงานของน้ำดีเป็นส่วนหนึ่งของระบบการย่อยอาหาร ในทารกที่มีทางเดินน้ำดีตีบตันไม่สามารถไหลเข้าไปในลำไส้ รบกวนการไหลเวียนของน้ำดีทำให้ของเหลวสะสมในตับจึงนำไปสู่การทำลายตับ สูญเสียของเนื้อเยื่อตับและนำไปสู่โรคตับแข็งซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ
สาเหตุของท่อน้ำดีตีบตันในทารก
การอุดตันของท่อน้ำดีในทารกนั้น แพทย์เชื่อว่ามีหลายปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดการอุดตันความผิดปกติของท่อน้ำดี ได้แก่
- การติดเชื้อโรคบางชนิดที่เชื่อมโยงกับทางเดินน้ำดี เช่น โรต้าไวรัส เป็นต้น
- ปัญหาแต่กำเนิด ท่อน้ำดีผิดรูปในขณะที่ทารกยังเป็นทารกในครรภ์
- การผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย
- พันธุกรรม ปัญหาเกี่ยวกับยีนอาจทำให้เกิดความเสียหายภูมิต้านทานผิดปกติซึ่งอาจไปทำลายท่อน้ำดี ทางเดินน้ำดีตีบตันไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ค่ะ
อาการของทางเดินน้ำดีตีบตัน
- ในสัปดาห์แรกของทารกที่มีทางเดินน้ำดีตีบตันมักดูดีกว่าการเป็นโรคดีซ่านผิวหนังดวงตาเหลืองซีด เนื่องจากการสะสมของบิลิรูบินสารที่ตับค่ะ ซึ่งควรได้รับการสำรวจเพิ่มเติมและอาจเป็นสัญญาณสำคัญของทางเดินน้ำดีตีบตันได้ค่ะ
- สีอุจจาระ โดยปกติอุจจาระของทารกจะมีสีเขียวหรือสีเหลือง หากอุจจาระของทารกมีสีเทา สีขาว สีน้ำตาลแกมเหลืองหรือสีซีดๆ สิ่งนี้อาจบ่งบอกถึงโรคตับได้
- สีปัสสาวะ ปกติปัสสาวะของทารกแรกเกิดจะไม่มีสี หากปัสสาวะของทารกมีสีเหลืองหรือเข้มอย่างต่อเนื่องอาจเป็นข้อบ่งชี้ของโรคตับได้
- ช่องท้องบวม เกิดการสะสมของของเหลวที่ตับ
การรักษาภาวะทางเดินน้ำดีตีบตัน
โรคท่อน้ำดีอุดตันหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ การรักษาท่อน้ำดีตีบตันนั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายของตับและความรุนแรงของทางเดินน้ำดีตีบตัน ซึ่งสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดความรุนแรงของอาการและชะลอการลุกลามของโรค ในบางกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้หรือการผ่าตัดไม่สำเร็จจะต้องรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับค่ะ
โรคทางเดินน้ำดีตีบตันไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงโรคบางชนิดที่อาจส่งผลต่อท่อน้ำดีและตับค่ะ