ไข้รูมาติก

โรคไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปเอ (Group A streptococcal) เชื้อแบคทีเรียนี้ยังสามารถก่อให้เกิดหลายโรค เช่น ไข้อีดำอีแดง โรคคออักเสบ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้รูมาติกจะพบได้มากในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 – 15 ปี และพบมากในประเทศที่อยู่ในเขตร้อน สถิติข้อมูลเมื่อปี 2016 พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก 15 ล้านรายทั่วโลก

อาการของโรคไข้รูมาติก

เนื่องจากโรคไข้รูมาติก เป็นกลุ่มอาการที่สามารถแสดองอาการออกมาได้จากหลายระบบ ตามอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ (carditis) ข้อต่างๆ (polyarthritis) สมอง (Sydenham’s chorea) ใต้ผิวหนัง (subcutaneous nodules) และผิวหนัง (erythema marginatum) ซึ่งยังหาข้อสรุปในการวิจัยเกี่ยวกับการระบุเจาะจงอาการโรคนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกต้องยึดหลักการวินิจฉัยตามของ Revision of the Jones Criteria เมื่อปี 2015 โดยในการวิฉัยโรคนี้จะแบ่งองค์ประกอบสำคัญ 3 หลัก คือ การแสดงอาการหลัก (5 major manifestation) การแสดงอาการรอง 4 minor manifestation และการส่งตัวอย่างเชื้อเพื่อยืนยันการติดเชื้อ GAS

การแสดงอาการหลัก (5 major manifestation)

อาการหลักในการวินิจโรคไข้รูมาติกจะแบ่งออกเป็นการแสดง 5 อาการ ดังนี้

1. หัวใจอักเสบ (carditis)

อาการหัวใจอักเสบจะพบได้ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้รูมาติก สามารถพบได้ทุกชั้นของเนื้อเยื้อหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) เยื้อบุหัวใจ (endocardium) และเยื้อบุหัวใจ (pericardium) โดยแบ่งลักษณะอาการออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Pericarditis) ค่อยข้างจะพบได้น้อย แต่ก็มีความสำคัญเพราะเนื่องจากจะมักพบกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแสดงอาการการเจ็บเสียดที่หน้าอก และเมื่อทำการตรวจร่างกาย ก็พบว่ามีเสียงเสียดสีที่เยื้อหุ้มหัวใจ
  • หัวใจโต (cardiomegaly) ซึ่งอาการจะสามารถตรวจเจอได้จากการฉายรังสีที่ทรวงอก และจากการตรวจร่างกาย
  • ภาวะลิ้นหัวใจอักเสบ (valvulitis) ส่วนใหญ่จะเป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (mitral regurgitation (MR)) โดยการตรวจร่างกายและฟังเสียงของหัวใจ
  • ภาวะหัวใจวาย (heart failure) ซึ่งอาการจะเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocarditis) โดยอาการที่แสดงออกมาคือ เหนื่อยง่าย นอนในแรวราบไม่ได้ และเมื่อตรวจร่างกายจะพบว่าอาการตับโต หลอดเลือดดำที่คอโป่ง บวม และอาจพบ S3 gallop

2. ผิวหนังมีผื่นแดง (Erythema marginatum)

อาการผิวหนังมีผื่นแดง ผู้ป่วยน้อยรายที่จะแสดงอาการเป็นผื่น มีเพียงร้อยละ 0-16 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกทั้งหมด ซึ่งอาการขึ้นผื่นจะแสดงในระยะเริ่มแรก ลักษณพของผื่นเป็นผื่นแดง มีขอบยัก สามารถมองเห็นขอบได้ชัด ไม่มีอาการเจ็บหรืออาการคัน มีขนาดอยู่ที่ 1-3 เซนติเมตร จะขึ้นในบริเวณทราวงอก หน้าท้อง และส่วนแผ่นหลัง แต่จะไม่ขึ้นบริเวณใบหน้า ผื่นสามารถขึ้นให้เห็นชัดเมื่อผิวได้สัมผัสอากาศร้อน แต่หากอากาศเย็นผื่นก็จะจางหายไป

3. อาการข้ออักเสบ (Arthritis)

อาการที่พบบ่อยในโรคไข้รูมาติก คือ ข้ออักเสบ โดยจะพบได้ถึงร้อยละ 30-79 ของผู้ป่วยโรคไข้รู้มาติกทั้งหมด โดยอาการเฉพาะ คือ Migratory polyarthritis เป็นข้ออักเสบมากกว่าหนึ่งข้อ และในแต่ละข้อจะไม่มีอาการพร้อมกัน โดยข้ออักเสบ อาการที่แสดงออกออกมาคือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน ส่วนใหญ่มักจะมีอาการกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก โดยจะมีอาการที่รุนแรง ซึ่งหากมีปวดที่ขาผู้ป่วยมักจะเดินไม่ค่อยได้ เดินลำบาก จึงเป็นอาการที่ต้องพบแพทย์ อาการข้ออักเสบส่วนใหญ่จะพบในเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ไม่เพียงเท่านี้อาการของข้ออักเสบจะตอบสนองได้ดีหากผู้ป่วยได้รับยาในกลุ่ม salicylates หรือ anti-inflammatory drugs

สภาวะข้ออักเสบจากปฏิกิริยาตอบสนองหลังการมีอาการคออักเสบจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส (post-streptococcal reactive arthritis) ซึ่งอาจเกิดตามหลังการติดเชื้อ GAS เหมือนกัน แม้ว่าจะมีอาการข้ออักเสบเช่นเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างอย่างหนึ่ง คือ มักจะขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 1 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ และอาจตอบสนองต่อยาไม่ดีเมื่อได้รับยา salicylates

4. การเคลื่อนไหวผิดปกติ (Syndenham’s chorea)

อีกอาการที่แสดงถึงการเป็นโรคไข้รูมาติก คืออาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ อัตราการเกิดอาการนี้มีเพียงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการการเคลื่อนที่ผิดปกติเกิดจากมีความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งอาการของการเคลื่อนไหวผิดปกติแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ การเคลื่อนไหวผิดปกติ (involuntary movement) กล้ามเนื้อ่อนแรง (muscle weakness) และมีอารมณ์ที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง (emotional disturbance) ซึ่งอาการการเคลื่อนไหวมักจะแสดงอาการออกมาหลังอาการอื่นๆ ของโรค หรืออาจเกิดหลังการติดเชื้อ GAS ในบริเวณลำคอเป็นเวลาหลายเดือนได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ อาจไม่พบอาการอื่นร่วม

ผู้ป่วยที่มีอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ จะไม่สามารถเขียนหนังสือได้ หรือไม่สามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ และเมื่อทำการตรวจร่างกายก็จะมีลักษณะเฉพาะ เช่น หากผู้ป่วยยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ผู้ป่วยมักจะคว่ำมือ เรียกว่า pronator sign หรือหากให้ผู้ป่วยแลบลิ้น ก็ไม่สามารถควบคุมลิ้นได้ เป็นต้น

5. เกิดตุ่มแข็งใต้ผิวหนัง (Subcutaneous nodules)

การเกิดตุ่มใต้ผิวหนังที่เกิดจากโรคไข้รูมาติก จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยอาการดังกล่าวจะพบได้อัตราร้อยละ 2-10 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก ซึ่งอาการตุ่มที่ใต้ผิวหนังจะมีอาการหลังจากการติดเชื้อ GAS ในลำคอไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ โดยลักษณะของตุ่มใต้ผิวหนังจะมีลักษณะคล้ายกับยางลบ ไม่มีอาการเจ็บ จุดที่พบมากคือบริเวณกระดูก หรือบริเวณเอ็นของกล้ามเนื้อ ที่อยู่บริเวณข้อศอก หลัง มือ เข่า ข้อเท้า และเอ็นร้อยหวาย หรือบางรายอาจพบได้บริเวณศีรษะ และกระดูกสันหลัง แต่ก็ส่วนน้อย

การแสดงอาการรอง (4 minor manifestation)

อาการเพิ่มเติมที่ได้จากการวินิจฉัยของโรคไข้รูมาติก มี 4 อาการ คือ

  • พบคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ Prolong PR interval
  • มีอาการไข้
  • ร่างกายเกิดการอักเสบ
  • มีอาการปวดข้อ

การส่งตัวอย่างเชื้อเพื่อยืนยันการติดเชื้อ GAS

การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกโดยการซักประวัติในการติดเชื้อ GAS ในลำคอ อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการระบุโรคไข้รูมาติก จึงต้องทำการตรวจพบการเพิ่มขึ้นของระดับเอนติบอดีย์ต่อเชื้อ GAS ด้วย

สาเหตุของโรคไข้รูมาติก

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า โรคไข้รูมาติก สาเหตุเกิดจากการที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ (Beta- hemolytic Streptococcus Group A) บริเวณคอ หรือบริเวณต่อมท่อนซิล จนเกิดการอักเสบก่อน และเข้าสู่การเป็นโรคไข้รูมาติก และเนื่องด้วยที่เป็นโรคที่พบมากในเด็ก (เด็กอายุที่พบบ่อยคือช่วงอายุ 5-15 ปี) จึงส่งผลทำให้มีการติดต่อกันมากไปด้วย และการเดินทางไปแหล่งชุมชนก็ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่เชื้อได้

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ บางรายมีการอักเสบ แต่ก็สามารถรักษาจนหายเป็นปกติได้ แต่ในขณะเดียวกันบางรายอาจมีอาการที่รุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ที่ผลมาจากภูมิต้านทานร่างกายที่หันมาทำลายตัวเองแทนเชื้อ ส่งผลให้มีการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ

การติดต่อของโรคไข้รูมาติก

โดยปกติแล้วโรคไข้รูมาติกจะไม่ติดต่อ แต่สิ่งที่ติดต่อและแพร่เชื้อได้คือเชื้อแบคทีเรียเบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ (Beta- hemolytic Streptococcus Group A) ซึ่งไม่เพียงจะทำให้ผู้ติดเชื้อเป็นโรคไข้รูมาติก แต่ยังเป็นโรคอื่น เช่น โรคไข้อีดำอีแดง โรคคออักเสบ เป็นต้น

วิธีการรักษาโรคไข้รูมาติก

ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวัคซีคของโรคนี้ ซึ่งหากแพทย์ทำการวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็นโรคไข้รูมาติก แพทย์จะทำการรักษาโดยวิธีการลดการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อต้านการอักเสบ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรคไข้รูมาติก หรืออาจใช้กลุ่มยาอื่นๆ เช่น กลุ่มยา non-steroidal anti-inflammatory drugs ((NSAIDs) โดยจะให้ยาเป็นระยะเวลา 6-8 สัปดาห์หรือจนกว่าอาการจะหาย แต่สำหรับบางรายที่มีอาการรุนแรง จะให้ยากลุ่ม คอร์ติโคสเตียรอยด์ (เพรดนิโซโลน) และให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ และค่อยๆลดยา ไปตามอาการ หรือการตรวจเลือดเพื่อดูการอักเสบ ทั้งนั้ ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจและดุลพินิจของแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here