7 สาเหตุของอาการตาบวมในเด็ก

7 สาเหตุของอาการตาบวมในเด็ก

7 สาเหตุของอาการตาบวมในเด็ก

ลูกตาบวมมีสาเหตุมาจากอะไร อันตรายหรือไม่และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปหาคำตอบกันค่ะ

อะไรทำให้เกิดอาการบวมในเด็ก

อาการตาบวมในเด็กสามารถสังเกตเห็นถึงความผิดปกติได้ง่าย เว้นแต่ในเด็กที่ค่อนข้างอวบอ้วนที่ทำให้ยากต่อการสังเกตเห็นความผิดปกติของดวงตา อาการบวม มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเปลือกตาโดยมีหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. อาการแพ้ เมื่อลูกน้อยสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นละออง ขนสัตว์เลี้ยง อาหาร ฯลฯ เมื่อเกิดอาการแพ้ขึ้นมักทำให้เกิดอาการทั่วไป เช่น อาการบวมแดงของเปลือกตา เป็นต้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่าลูกมีอาการแพ้อะไร เพราะอาการแพ้อาจมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ
  2. การงอกของฟัน เนื่องจากประสาทตาและฟันเชื่อมโยงกันการ งอกของฟันอาจทำให้ตาบวมได้ค่ะ
  3. ยุงกัด ก็สามารถทำให้ตาบวมได้ อาการบวมชนิดนี้ไม่ส่งผลให้เกิดการอาการเจ็บปวดแต่เพียงแค่สร้างความรำคาญให้กับลูกน้อยเนื่องจากอาการคัน ตาบวมจากยุงกัดสามารถอยู่ได้นานถึง 10 วันโดยทั่วไปอาการบวมมีลักษณะเป็นสีชมพูหรือสีแดง
  4. การบาดเจ็บ ในบริเวณใกล้ดวงตาสามารถทำให้ดวงตาบวมแดงหรือมากกว่านั้น และบางครั้งอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆทั้งๆที่ตาบวม
  5. ตากุ้งยิง(Stye) และ ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion)
    ตากุ้งยิง(Stye) คือการเชื้อแบคทีเรียส่งผลให้เกิดการอักเสบของรูขุมขน มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนุ่มสีแดงเล็กๆคล้ายสิว เกิดขึ้นใกล้กับขอบเปลือกตาหรือใต้เปลือกตาและมักสร้างความเจ็บปวด ซึ่้งสามารถหายได้ภายในไม่กี่วัน
    ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion) เกิดจากถุงน้ำต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน โดยทั่วไปแล้วอาการบวมใน Chalazion นั้นใหญ่กว่าของกุ้งยิงแต่ไม่สร้างความเจ็บปวด
  6. เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) เปลือกตาของเราประกอบไปด้วยต่อมน้ำมันซึ่งบางครั้งอาจมีการอุดตันหรือผลิตน้ำมันมากเกินไป นอกจากอาการยังทำให้มีขี้ตามากตาแฉะ ระคายเคือง เป็นต้น
  7. เยื่อบุตาอักเสบ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจากไวรัส  แบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาบวมแดง แสบตา เป็นต้น

การดูแลอาการตาบวมเบื้องต้นสำหรับเด็ก

อาการตาบวมมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ตาบวม เช่น ไรฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถลดอาการบวมให้กับลูกน้อยในเบื้องต้นได้ดังนี้

  • การประคบเย็น เป็นวิธีการรักษาที่ง่ายสำหรับลดอาการตาบวม
  • น้ำนมแม่หนึ่งหยด น้ำนมแม่มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย เพื่อรักษาอาการระคายเคืองอาการบวมหรือคัน
  • รักษาความสะอาดตา การทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาด้วยผ้าเปียกที่สะอาดและน้ำอุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกตาบวมหรืออาการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้
  • การผักเสื้อผ้าลูกน้อยควรใช้ผลิตที่อ่อนโยนต่อผิว เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ค่ะ

ตาบวมแบบไหนควรพบแพทย์

อาการบวมเพียงเล็กน้อยในบางครั้งอาจมีสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายและสามารถรักษาได้เองที่บ้าน แต่ถ้าหากถ้าพบว่าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

  • อาการบวมอย่างรุนแรง หากลูกน้อยมีอาการตาบวมอย่างรุนแรงในดวงตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างซึ่งไม่บรรเทาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดวงตาที่ได้รับผลกระทบนั้นปิดสนิท
  • มีไข้ อาการบวมของดวงตาพร้อมกับไข้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการติดเชื้อที่ควรได้รับการรักษาทันที
  • ไม่ทราบสาเหตุ หากบุตรของคุณมีอาการตาบวมเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสามารถระบุสาเหตุและกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้
  • ความเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์ที่สามารถช่วยบรรเทาได้ทันทีด้วยการรักษาที่เหมาะสม

ในบางครั้งอาการตาบวมแดงของลูกน้อย อาจเป็นอันตรายเนื่องจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกับดวงตาของลูกน้อยได้ค่ะ