ท้องอืด

อาการท้องอืดเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กทารกแรกเกิดจนถึงเด็กโตนะคะ ส่วนใหญ่เกิดจากระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอค่ะ ทำให้มีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไป โดยสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ เช่น ในเด็กทารกมักเกิดจากพฤติกรรมการกินนม ดูเอาอากาศเอาอากาศเข้าไปมากเกินไป การแพ้โปรตีนจากนมหรืออาหารบางชนิด รวมถึงการรับประทานอาหารบางประเภททั้งในทารกที่กินนมแม่หรือในเด็กที่รับประทานอาหารเสริมอื่นๆ และในบทความนี้เรามีตัวอย่างอาการบางชนิดที่อาจทำให้ลูกท้องอืดได้ให้รับประทานมากเกินไปค่ะ 

อาหารที่บางบางชนิดที่อาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้ตั้งแต่เด็กทารกจนถึงผู้ใหญ่ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปค่ะ เพราะอาการท้องอืดอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารที่รุนแรงตามมาได้คะ โดยเฉพาะในเด็กที่มีอาการแพ้อาหารค่ะ ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกน้อยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้

ผักตระกูลกะหล่ำ

ผักตระกูลกะหล่ำ 

ผักในตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี บรอกโคลี และกะหล่ำดอก ซึ่งเป็นมีเส้นใยอยู่สูงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดีและควรกินแบบปรุงสุกเท่านั้น แต่เนื่องจากผักตระกลูนี้มีคาร์โบไฮเดรตประเภทที่สามารถย่อยโดยแบคทีเรียในลำใส้ใหญ่เท่านั้น อาจต้องใช้ระยะเวลาลำเลียงนานและหากทานมากไป กากอาหารที่ยังไม่ย่อยจะเกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหารได้ค่ะ

 

ถั่ว

ถั่ว

ถั่วเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติ หรือไม่สามารถดูดซึ่มผ่านลำไส้เล็กค่ะ ดังนั้นการรับประทานถั่วมากเกินไปจะทำให้เกิดแก๊สและทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ง่ายคะ

 

ผักตระกูลหอม

ผักตระกูลหอม

ผักตระกูลหอม เช่น ต้นหอม หัวหอมแดง หัวหอมใหญ่ เพราะผักตระกลูนี้มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง

ที่ลำไส้ดูดซึมได้น้อย ทำให้เกิดน้ำในลำไส้จนเกิดแก๊สสะสมและทำให้ให้มีอาการท้องอืดตามมาได้

 

แตงโม

แตงโม

ผลไม้รสหวานขวัญใจเด็กหลายคน แต่ถ้าทานมากไปอาจท้องอืดได้ค่ะ เพราะในแตงโมมีน้ำตาลฟรักโทสสูงมาก หากร่างกายดูดซึมไม่หมดจะส่งผลให้ลูกน้อยท้องเสียหรือท้องอืดได้

 

ธัญพืช

ธัญพืช

ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวโพด เนื่องจากมีส่วนประกอบของฟรุกเทนซึ่งไม่สามารถย่อยเอง ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะในทารกที่มีอาการแพ้กลูเตนค่ะ

 

ถึงแม้ว่าอาหารเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้ก็จริงแต่ก็มีประโยชน์อยู่มากเช่นกันค่ะ ดังนั้นควรให้ลูกรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะกับระบบย่อยในแต่ช่วงวัยของลูกน้อย รวมถึงวิธีการปรุงอาหารในแต่ละชนิดค่ะ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาการและประโยชน์มากที่สุดค่ะ

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here