13 Child behavior

13 พฤติกรรม ในเด็กที่พบได้บ่อย และวิธีแก้ไขปัญหา

คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ ท่าน คงจะเตรียมตัวเตรียมใจในการรับมือกับพฤติกรรมของลูกน้อยในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางครั้งเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เราคาดไว้ อาจจะเกินที่จะรับมือไหว ซึ่งบางครั้งเราต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันกับลูก และค่อยๆหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ลูกน้อยมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่พบได้บ่อยมากๆ ในเด็กเล็ก มีดังนี้

ลูกร้องดิ้น ลูกอาละวาด

The child cried out and wriggled.
  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่ควรสนใจ ปล่อยให้ร้องไป แต่แอบมองอยู่ห่างๆ ไม่ให้รู้ตัว
  • อย่าใจอ่อนนะคะ ปล่อยให้ร้อง แม้ว่าอาจจะนานสักหน่อยในครั้งแรก
  • เมื่อเด็กเงียบเสียงลงแล้ว ค่อยๆ อธิบายให้ฟัง
  • ควรเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กลดเสียงร้องลงแล้ว
  • เมื่อเด็กหยุดร้อง ผู้ปกครองควรชมเชย ไม่ควรตะคอกหรือพูดถึงเรื่องที่เด็กร้องอาละวาดในภายหลัง

เด็กทารกร้องไห้กวนใจ

Baby crying distractions
  • เด็กทารกยังไม่สามารถสื่อสารโดยการบอกได้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ ควรสำรวจดูว่า ที่นอนมีมดกัดหรือแมลงรบกวนหรือไม่ ไม่สบายหรือเปล่า อุ้มปลอบใจ

ร้องอั้น ร้องกลั้น

Cry out Suppress
  • หลีกเลี่ยงการขัดใจ หรือเวลาเด็กโมโหจะร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเบี่ยงเบนความสนใจ หรือหากเวลาร้องอั้น ร้องกลั้น ให้ลูบตัวด้วยน้ำเย็น

เด็กเกลียดอาหาร

Children hate food
  • งดอาหารว่างหรือขนมก่อนอาหารมื้อหลัก และอย่าบังคับให้เด็กกินอาหารเพราะจะไปเพิ่มความรู้สึกที่ไม่ดีต่ออาหาร และควารทำเรื่องการกินอาหารให้เป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องปกติ เช่น ให้ตักอาหารกินเองแม้จะเลอะเทอะก็ตาม

ปัสสาวะรดที่นอน

Children wetting
  • ฝึกให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน และฝึกให้รู้จักบอกเมื่อปวดปัสสาวะ และให้คำชมเชยเมื่อเด็กทำได้

อุจจาระรดกางเกง

Baby wetting pants
  • ฝึกการนั่งกระโถน โดยให้นั่งเป็นเวลา หรือเวลารับประทานอาหารเสร็จ

ดูดนิ้วมือ เล่นอวัยวะเพศ

Child sucking fingers
A little girl sucks on her thumb.
  • ควรหาของเล่นที่เด็กชอบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ห้ามลงโทษหรือด่าว่าเด็ก

เด็กพูดช้า เมื่อถึงวัย

The child speaks slowly
  • พยายามคุยกับเด็กบ่อยๆ คุยเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ

เด็กก้าวร้าว

Aggressive child
15112587 – baby screaming
  • คุณพ่อคุณแม่ควรลงโทษเด็ก แต่ไม่ใช่ใช้วิธีเดียวกับเด็กนะคะ เช่น ถ้าเด็กขว้างของในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ขว้างของเหมือนกัน แบบนี้ไม่ได้นะคะ  ควรใช้วิธีขอเวลานอก หยุดเล่น หยุดกิจกรรมทุกกอย่าง ชี้แจงเหตุผลเมื่อเด็กหยุดก้าวร้าว และอธิบายถึงผลเสียโดยการใช้นิทานเข้าช่วยสอนเด็ก และควรแนะนำเด็กให้เดินหนีเหตุการณ์เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธ

เด็กพูดติดอ่าง พูดไม่ชัด

Stuttering child
  • ในช่วงเด็กอายุ 3-5 ขวบ เป็นที่ช่วงที่กำลังมีพัฒนาการทางภาษา มีความคิดที่กว้างขึ้น บางครั้งพูดไม่ทันใจจึงพูดย้ำคำ คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านห้ามพูดล้อเลียนคำพูดที่ไม่ชัดของเด็กนะคะ
  • บางครั้งอาจจะมีความผิดปกติของอวัยวะการพูด ต้องไปปรึกษาแพทย์            
  • เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ และจิตใจ เช่น ถูกเข้มงวดมากเกินไป จุกจิกกับลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังเรื่องการพูดติดอ่างให้หายเร็ว ไม่บังคับเรื่องการพูดมากเกินไป เมื่อวุฒิภาวะเพิ่มขึ้นอาการติดอ่างพูดไม่ชัดก็จะหายไปเองค่ะ

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน

Children dont want to go to school.
  • เด็กไม่อยากไปโรงเรียนมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เด็กกลัวการจากอ้อมอกพ่อแม่ เมื่อได้เวลาไปโรงเรียนก็จะมีข้ออ้างต่างๆ มากมาย ปวดหัว ปวดท้อง ร้องไห้ เป็นต้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียน เช่นการบอกเหตุผลตรงๆ กับลูก
  • เด็กกลัวคนแปลกหน้า คุณครู พี่เลี้ยง ซึ่งคุณครู พี่เลี้ยงต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้เด็กรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง
  • โรงเรียนเข้มงวด บังคับ เด็กเกินไป โรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่สนุกสนานเพื่อลดความตึงเครียดลง
  • ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครู ต้องร่วมมือกัน อาจจะเป็นการชมเชย หรือให้รางวัล เป็นต้น

เด็กขาดความรักความเอาใจใส่

Children lack love and attention.
  • เด็กที่ขาดความรักความเอาใจใส่ เด็กจะมีพัฒนาการทางอารมณ์จิตใจ ต้องการความรักความเอาใจใส่ เด็กเหล่านี้จะชอบร้องไห้ หงุดหงิด ซึม ชอบนั่งโยกตัวไปมา เล่นอวัยะเพศ ต้องเพิ่มความรักและความเข้าใจ โดยการพูดคุยด้วยบ่อย เล่นกับเด็ก ซึ่งต้องทำโดยสม่ำเสมอและต่อเนื่อง