ไข้ชักในเด็ก

ไข้ชักในเด็ก

ไข้ชักในเด็ก
ภาวะไข้ชักเสี่ยงพิการตลอดชีวิต ฟังดูแล้วอาจจะดูน่ากลัว และหลายๆครั้งที่เราได้ยินหรืออ่านข่าวอาการไข้ชักของเด็ก ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจเป็นอย่างมากเมื่อมีเวลาลูกไม่สบายมีไข้สูง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ

ไข้ชัก คือภาวะที่มีการชักในเด็กร่วมกับการมีไข้สูงมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส โดยไข้นั้นไม่มีการติดเชื้อในระบบประสาทหรือความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย พบในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 5 ปี สาเหตุของไข้ชักยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยพบว่ามีประวัติไข้ชักของบิดา มารดาหรือคนในครอบครัวร่วมด้วย หรืออาจเกิดจากการที่สมองของเด็กยังมีพัฒนาการไม่สมบูรณ์เมื่อมีสิ่งกระตุ้นการติดเชื้อมีไข้จึงทำให้เกิดอาการชักได้ รวมถึงการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ

ไข้ชักในเด็ก
ไข้ชักในเด็ก

อาการไข้ชักแบบทั่วไปส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการชักเกร็งทั้งตัว หรือหรืออาการชักเกร็งร่วมกับกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง หลังจากการรู้สึกตัวจะกลับมาปกติใน 1 ชั่วโมง และไม่ชักซ้ำอีกหรือมีอาการชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้ครั้งหนึ่ง อาการชัดจากไข้สูงแบบปกติจะไม่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกค่ะ แต่ในบางรายที่มีไข้ชักชนิดซับซ้อน ซึ่งจะมีการชักเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แขนขาอ่อนแรง ง่วงซึมเป็นเวลานานหลังมีอาการชัก และมีการชักนานกว่า 15 นาทีหรือชักหลายครั้งในการป่วยเป็นไข้ครั้งนั้น อาการเหล่านี้ต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมทางระบบประสาทค่ะ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของสมองและพัฒนาการได้ค่ะ

การดูแลรักษาหากพบว่าเด็กมีภาวะไข้ชักควรทำอย่างไร
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำขณะที่พบว่าเด็กมีอาการชัก คือการตั้งสติพยายามอย่าตกใจเพื่อจะได้ปฐมพยาบาลเด็กได้ยังเหมาะสมและถูกต้องต่อไปค่ะ คุณแม่เรื่องการหายใจการสำลักและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ควรจัดให้นอนในท่าที่เหมาะสม โดยการนอนตะแคงซ้ายหรือนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำที่ศีรษะต่ำลง เพื่อป้องกันสำลักหรือการกระทบกระแทก ไม่ต้องพยายามจับหรือก่อนรักเด็กให้หยุดชัก ดูดเสมหะและจัดให้นอนในท่าที่หายใจได้สะดวก สำหรับเด็กที่มีอาการชักขณะรับประทานอาหารหรือมีอาหารอยู่ในปาก คุณพ่อคุณแม่ควรนำเศษอาหารออกจากปากของเด็ก โดยไม่ควรทำให้เด็กอาเจียนค่ะ เพื่อป้องกันภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเด็กในระหว่างที่มีอาการชัก หรือในกรณีที่เด็กกัดฟันคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรงัดปากหรือใช้ช้อน ผ้ายัดเข้าปากเด็ก เนื่องจากทำให้เยื่อบุช่องปากเด็กฉีกขาดหรือฟันหักหลุดเข้าไปกั้นทางเดินหายใจซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในระหว่างนี้ควรทำให้เด็กมีไข้ลดลงโดยการให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมเช็ดตัวให้เด็ก และควรพาเด็กพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

การป้องกันอาการชักในกรณีที่เด็กมีไข้ขึ้นสูง

  • ให้เด็กทานยาลดไข้พาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำน้ำอุ่นบ่อยๆ ไม่ควรใช้น้ำเย็น เพราะทำให้ร่างกายเด็กปรับอุณหภูมิไม่ทันและอาจจะเกิดอาการช็อกขึ้นได้
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายและระบายอากาศได้ดี เพราะจะทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายอุณหภูมิได้
  • หมั่นสังเกตอาการของเด็กและควรวัดไข้เป็นระยะ (คุณพ่อคุณแม่ควรมีเทอร์โมมิเตอร์เพื่อการวัดไข้ที่ถูกต้องและแม่นยำค่ะ)
  • ทานยาป้องกันการชัก ในกรณีเด็กที่เคยเป็นไข้ชักมาก่อนซึ่งแพทย์ที่รักษาจะให้ยารักษาในบางราย

ทั้งนี้สิ่งที่ป้องกันลูกได้ดีที่สุด คือคุณพ่อคุณแม่ควรจะมีความรู้ในการดูแลลูกในเบื้องต้นเมื่อลูกมีไข้หรือมีอาการชักค่ะ จากนั้นควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ