โรค PCOS

โรค PCOS หรือโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ส่งผลให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลิน อยู่ในภาวะไม่สมดุล โดยอาจพบซีสต์หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ

สาเหตุของโรค PCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

สาเหตุของโรค PCOS ทางการแพทย์และผลการวิจัย ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุหลักของโรคดังกล่าว โดยสันนิฐานเอาไว้ว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธกรรม หรือมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบการทำงานในร่างกายได้ ซึ่งปัจจัยของโรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

ภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน

ซึ่งภาวะดื่อต่ออินซูลิน หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่าภาวะเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อปริมาณของอินซูลินปกติ ซึ่งภาวะดังกล่าว อาจจะเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นโรค PCOS ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ไปกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทอโรนมากขึ้นไปด้วย โดยที่ปริมาณที่ร่างกายมีอินซูลินในกระแสเลือดและเทสโทสเทอโรนมากผิดปกติ ซึ่งจะไปกระทบต่อการสร้างถุงรังไข่ การตกไข่ น้ำหนักตัวที่มากขึ้น หรือเป็นภาวะอ้วน

การติดต่อทางพันธุกรรม

บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่ใกล้ชิด โดยทางสายเลือด ที่ป่วยเป็นโรค PCOS จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มากกว่าบุคคลอื่น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักวิจัยกำลัง
ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง ซึ่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ อีกทั้งยังความเสี่ยงแท้งลูก ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรืออาจคลอดก่อนกำหนด

อาการของโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ส่วนใหญ่จะมีอาการหรือมีความรู้สึกถึงความผิดปกติหลังจากที่มีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งจะมีความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่ก็จะแสดงอาการหลักๆ ดังนี้

  • จะมีบุตรยาก เพราะการตั้งครรภ์ต้องอาศัยของการตกไข่ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ บางรายอาจจะมีภาวะการไม่ตกไข่ในบางเดือน หรือไม่บางคนก็ไม่ตกไข่เลย ทำให้ส่งผลให้การตั้งครรภ์เป็นไปด้วยยาก
  • การตกไข่มีความผิดปกติ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและส่งผลให้มีบุตรยาก
  • ฮอร์โมนเพชชายมีระดับสูง ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วย มีขนตามหน้า และส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีสิวมากจนผิดปกติ
  • อาการอื่น ๆ ผู้ป่วย PCOS อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเกิดความรู้สึกหดหู่ จากอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

หากเป็นโรค PCOS มีลูกอยาก แล้วอยากมีลูกต้องทำอย่างไร

ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการทำให้ตัวเองเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความสมดุล ที่จัส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ลดภาวะการเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ใช้เทคโนโลยีช่วยเรื่องการเจริญพันธุ์

คือการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยให้คุณแม่สามารถมีลูกได้ และช่วยรักษาภาวะยากสำหรับผู้ป่วยโรค PCOC และสามีภรรยาที่มีข้อจำกัดทางสุขภาพร่างกายของทั้งคู่หรือฝ่ายฝ่ายหนึ่ง

การกินยาช่วยให้ไข่ตก

ภาวะการตกไข่ที่ผิดปกติ เกิดจากที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ส่งผลทำให้มีลูกยาก คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานโคลมีฟีน คือตัวยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยให้การตกไข่เป็นไปตามปกติ หรือให้ยาเมทฟอร์มินเสริมหากกรณีรับประทานยาโคลมีฟีนแล้วการตกไข่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ หรือหากใช้ทั้งสองตัวยาไม่เป็นผลก็อาจเปลี่ยนวิธีการรักษาด้วยการฉีดโกนาโดโทรปิน ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ของฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติงและฮอร์โมนลูทิไนซิงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยตกไข่ปกติ อย่างไรก็ตามการฉีดโกนาโดโทรปินอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ลูกแฝด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จะช่วยลดภาวะ PCOS ลดกระบวนการอักเสบในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัว ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น โดยแบ่งโภชนาการบำบัดผู้ป่วยโรค PCOS ออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มอาหารที่ควรรับประทาน
    • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาหารกลุ่มนี้จะลดการอักเสบของร่างกาย และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
    • อาหารเน้นกากใยสูง
    • อาหารเน้นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ
    • อาหารที่มีอินซิทอล
  • กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
    • ข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสี
    • อาหารประเภทน้ำตาลหรือผ่านการแปรรูป
    • อาหารที่ผลิตจากนม

รับประทานยาคุมช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

คนที่เป็นโรคนี้ หมอจะแนะนำให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด แบบฮอร์โมนหรือแบบฮอร์โมนตัวเดียว โดยตัวยาจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ทั้งยังช่วยให้เกิดภาวะไข่ตก เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์เมื่อมีประจำเดือนปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here