โรคโลหิตจางในเด็ก

โรคโลหิตจางในเด็ก

โรคโลหิตจางในเด็ก
สวัสดีค่ะคุณพ่อคุณแม่ วันนี้แอดมินมีสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กๆมาฝากเช่นเคยค่ะ ในบทความนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โรคโลหิตจางในเด็ก โรคอันตรายแต่สามารถป้องกันได้ แล้วจะป้องกันได้อย่างไรตามแอดมินมาเลยค่ะ

โรคโลหิตจาง
โรคโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางหรือเลือดจาง(Anemia) หรือที่หลายๆคนเรียกว่า เลือดน้อย คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง โดยทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย สึกเย็นตามมือและเท้า วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด โดยเฉพาะเมื่อลุกยืนกะทันหันหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ โรคโลหิตจางพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่จะส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ เมื่อเด็กมีภาวะโลหิตจางสมองทำงานช้าลง เนื่องจากได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยลง ทำให้ไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา ไม่อยากเรียนรู้ และยังทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

สาเหตุการเกิดของโรคโลหิตจาง มีสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

  • การสูญเสียเลือด อาจเกิดภาวะโรคหิตจางเฉียบพลันและซีดเรื้อรังเมื่อไม่ได้รับการรักษา เช่น อุบัติเหตุต่างๆ ฯลฯ หรือมีแผลเลือดออกเรื้อรัง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร แผลมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ รวมถึงการมีประจำเดือนผิดปกติ
  • การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน เกลือแร่เหล็ก วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 และวิตามิน บี 12 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงของร่างกาย
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก ซึ่งต้องการใช้เลือดมากขึ้นจากการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ จึงทำให้ดูเหมือนไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่พอรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
  • ไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากไขกระดูกมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว เมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดลดน้อยลง ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก หรือการติดเชื้อในไขกระดูก จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นกันค่ะ

อาการของโรคโลหิตจางจะมีอาการแตกต่างกันไปออกไปตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยสามารถสังเกตจากผิวซีดหรือผิวเหลือง มือเท้าเย็น วิงเวียนศีรษะ หน้ามือ ปวดหัว เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน หากพบว่าเด็กมีอาการผิวซีด ตาซีด เล็บบางเปราะและซีด ทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หายใจเหนื่อยหอบ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุให้โดยเร็วค่ะ

ทานอาหารครบ5หมู่
ทานอาหารครบ5หมู่

การป้องกันและการรักษาโรคโลหิตจางในเด็ก เนื่องจากภาวะโลหิตจางมีลักษณะอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงจึงจำเป็นต้องทราบสาเหตุปัจจัยอื่นๆของภาวะโลหิตจางที่แน่ชัด เช่น ประเภทของโลหิตจาง สาเหตุการเกิด ระดับความรุนแรง ดังนั้นถ้าคุณแม่สงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคโลหิตจางควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งแพทย์อาจให้ยาบำรุงเลือดมารับประทานค่ะ หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและป้องกันได้โดยการให้ลูกน้อยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ สัตว์เนื้อแดง ไข่ เครื่องในสัตว์ ตับหมู ผักใบเขียว ธัญพืช และนม สำหรับเด็กแรกเกิดมักจะได้สารอาหารต่างๆรวมถึงธาตุเหล็กจากนมแม่อยู่แล้วค่ะซึ่งคุณแม่ควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กด้วยเช่นกันค่ะ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคหิตจางได้แล้วค่ะ

โลหิตจางในเด็กป้องกันได้ง่ายๆ เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ โดยเริ่มจากโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยของลูกน้อย และหากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวข้างหรือสงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคโลหิตจางควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ