หัวข้อที่น่าสนใจ
โรคแอลดีหรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งในเด็กไม่ใช่เรื่องแปลกและหลายคนเอาชนะและประสบความสำเร็จในสาขาที่ตนเลือก ความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นไม่ได้หมายความว่า ลูกของคุณไม่ฉลาดหรือมีภาวะปัญญาอ่อนค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแอลดีค่ะ
โรคแอลดีคืออะไร
โรคแอลดี (LD : Learning Disabilities) หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ความสามารถในการจดจำ และการทำความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง ความบกพร่องทางการเรียนรู้มีหลายประเภทที่มีผลต่อสมองในด้านต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะพบความบกพร่องทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนมีพฤติกรรมและส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ความบกพร่องด้านการได้ยินหรือการฟัง ความผิดปกตินี้เกี่ยวข้องกับการที่สมองประมวลผลหรือไม่สามารถตีความจากการฟังได้ ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างคำที่คล้ายกัน ส่งผลให้อาจมีปัญหาในการอ่าน การจดจำคำพูดหรือไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ยิน
- ความบกพร่องด้านการใช้ภาษาและการพูด(Dyslexia) ส่งผลกระทบต่อกระทบต่อทักษะการอ่านและการเข้าใจในภาษา การตีความภาษา ไม่สามารถจับใจความเรื่องที่อ่านได้ หรือไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
- ความบกพร่องด้านการเขียน(Dysgraphia) ส่งผลต่อความสามารถทางด้านการเขียนหนังสือ การสะกดคำ และความสามารถในการคิดและเขียนในเวลาเดียวกันได้
- ความบกพร่องด้านการคำนวณ(Dyscalculia) หรือความบกพร่องของทักษะทางคณิตศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อการเข้าใจในตัวเลขและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีความผิดปกตินี้มักจะมีปัญหากับการเรียนรู้ลำดับของตัวเลข การนับ หรือสูตรการแก้โจทย์คณิตศาสตร์พื้นฐาน
- ความบกพร่องด้านการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการแยกแยะความหมายจากข้อมูลที่เห็น ขาดทักษะในการตีความจากภาพหรือตากับมือเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
สัญญาณความบกพร่องทางการเรียนรู้
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย
- อายุก่อนวัยเรียน คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้
-
- การรูดซิป หรือคาดเชือกผูกรองเท้า
- ความยากลำบากในการออกเสียง หรือการใช้คำที่ถูกต้อง
- ปัญหาการเรียนรู้รูปทรง ตัวอักษรและตัวเลข
- ปัญหาการเรียนรู้กิจวัตรประจำวัน
- ปัญหาเกี่ยวกับการจับดินสอหรือสี
- ฯลฯ
- อายุ 5-9 ปี คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้
-
- ปัญหาในการรวมเสียงเพื่อสร้างคำหรือการสะกดคำ คำพื้นฐาน
- ปัญหาในการบอกเวลาและลำดับเหตุการณ์ง่ายๆ
- ปัญหาการเรียนรู้แนวคิดคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- ปัญหาในการเชื่อมโยงตัวอักษรกับเสียงที่เกี่ยวข้อง
- ความเชื่องช้าเมื่อพูดถึงการเรียนรู้ทักษะใหม่
- ฯลฯ
- อายุ 10-13 ปี คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้
-
- ปัญหาการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
- ปัญหากับคำถามที่เปิดกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทดสอบ
- การสะกดที่แตกต่างกันสำหรับคำเดียวกัน
- ความยากลำบากในการอ่านออกเสียง และไม่ชอบการทดสอบ
- ปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการอ่านและแนวคิดทางคณิตศาสตร์
- ความยากลำบากในการสนทนาในชั้นเรียน
- ฯลฯ
สาเหตุความบกพร่องทางการเรียนรู้
ภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น อาจมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติ ได้แก่
- กรรมพันธุ์ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็ก และอาจเกิดจาการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่
- พัฒนาการสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาสมองของเด็ก เช่น การขาดสารอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนดหรือสมองขาดออกซิเจน เป็นต้น และแม้แต่การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาสมองซึ่งอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เด็กมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางสภาพแวดล้อมตั้งแต่สารพิษไปจนถึงสารอาหาร ปัจจัยเหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อศูนย์การเรียนรู้ของสมองและทำให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้
การรักษาความบกพร่องทางการเรียนรู้
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยให้ลูกของคุณรับมือกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลูกของคุณ ความเอาใจใส่จากพ่อแม่และคนใกล้ชิดทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและอารมณ์ของลูกน้อย ในบางกรณีอาจใช้ยาหรือการเยียวยาตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ
การป้องกันความบกพร่องทางการเรียนรู้
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็กอาจป้องกันได้ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ ซึ่งควรเริ่มต้นเมื่อคุณแม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดความผิดปกติต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารทีมีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงเมื่อคลอดแล้วการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมในตั้งแต่ช่วงวัย เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของของลูกน้อยให้สมบูรณ์เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
การมีลูกที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายของคุณพ่อคุณแม่และคนใกล้ชิด อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมปัจจุบันความบกพร่องทางการเรียนรู้ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมค่ะ