โรคเลซี่อาย(Lazy eye) หรือ โรคตาขี้เกียจ(Amblyopia) เกิดจากความผิดปกติของดวงตา ทำให้ตาข้างนั้นๆมองเห็นไม่ชัด ส่งผลให้การรับภาพของดวงตาข้างดังกล่าวลดน้อยลงทำให้ตาข้างนั้นมีระดับการมองเห็นลดลงจนถึงขั้นตาบอดได้ค่ะ เลซี่อายเป็นโรคที่ตรวจสอบได้ยากเนื่องจากความผิดปกติของสายไม่สามารถตรวจพบได้และไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดถึงความผิดปกติ แต่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็กๆ ที่มักจะมองเห็นไม่ชัดโดยเฉพาะในเวลาค่ำๆ เหม่อลอย ซึ่งควรได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆหรือก่อนอายุ 7 ปีค่ะ
สาเหตุของของโรคตาขี้เกียจ
- โรคของจอประสาทตา และประสาทตา พบบ่อยในเด็กคลอดก่อนกำหนด
- โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ มาบดบังการมองเห็น เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคที่มีความผิดปกติในส่วนหน้าของตา เป็นต้น พบบ่อยในเด็กทารก ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากแต่มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด
- โรคตาเข ภาวะสายตาที่มากและไม่เท่ากัน พบได้บ่อยในเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3 – 5 ปี และเป็นสาเหตุของเลซี่อายที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะการมองเห็นไม่ดีเท่ากับดวงตาที่ปกติ ทำให้ใช้สายตาเพียงข้างเดียวเพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อนค่ะ
- ภาวะสายตาผิดปกติ สั้น ยาว หรือเอียงไม่เท่ากันระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง พบบ่อยในเด็กวัยเรียนอายุต่ำกว่า 7 ปี หากเกิดจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยการสวมแว่นตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติทางสายตาก็จะช่วยให้อาการตาขี้เกียจไม่รุนแรงมากนักหรือเพื่อป้องกันภาวะสายตาขี้เกียจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
เมื่อไหร่ต้องมาพบแพทย์
ปกติในเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกของดวงตา เช่น หนังตาตก ดูเหมือนมองไม่เห็น มีจุดขาวกลางตาดำ ตาแดง น้ำตาไหล ฯลฯ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกน้อยมาพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจดูการตอบสนองของเด็ก และเมื่ออายุ 3 – 5 ปี ควรพาลูกมาตรวจวัดระดับการมองเห็นของสายตา ความผิดปกติของดวงตา หรือหากสงสัยว่าลูกมีอาจมความผิดปกติทางสายตาควรพาลูกปรึกษาจักษุแพทย์ทันทีค่ะ
การรักษาโรคเลซี่อาย
- หากเกิดจากความผิดปกติทางสายระว่างทั้ง 2 ข้างที่สั้น ยาว หรือเอียงไม่เท่ากัน ซึ่งจะใช้วิธีการรักษาโดยสวมแว่นสายตา เป็นการกระตุ้นการมองเห็นของสายตาข้างที่มีความผิดปกติให้ถูกใช้งานมากขึ้นค่ะ
- การผ่าตัด วิธีนี้ใช้สำหรับโรคตาที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ มาบดบังการมองเห็น เช่น ต้อกระจก หนังตาตก เป็นต้น วิธีนี้เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด หลังจากผ่าตัดจะค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นตาอีกข้างที่ที่มีอาการตาขี้เกียจร่วมด้วย เพื่อให้สามารถใช้สายตาได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดค่ะ
- กระตุ้นการใช้งานของดวงตาที่มีอาการตาขี้เกียจ โดยการปิดตาข้างที่ดีและใช้เพียงข้างที่มีอาการตาขี้เกียจเพื่อกระตุ้นให้การมองเห็นมากขึ้นค่ะ
โรคเลซี่อายหรือโรคตาขี้เกียจ สามารถรักษาให้หายได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่ตอนอายุ 3 – 5 ปี และรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปทำการตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหมั่นสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก เพราะยิ่งรู้เร็วเท่าไรก็ช่วยรักษาดวงตาคู่น้อยๆของลูกได้เร็วค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ โรคตาในเด็ก
- ปัญหาสายตาที่พบบ่อยในเด็ก
- โรคตาขี้เกียจในเด็ก เสี่ยงลูกมองไม่เห็น
- สาเหตุปัญหาสายตาในทารก
- 10 วิธีการดูแลดวงตาลูกน้อย