โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มีปัจจัยเสี่ยงสูง เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้เกิดความพิการหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ ซึ่งความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับสุขภาพขอผู้ป่วยตลอดจนความรวดเร็วในการเข้ารับการรักษาค่ะ ถึงแม้ว่าโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะไม่ได้พบบ่อยมากนักในประเทศไทย แต่ก็ไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะสุขภาพของลูกเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่า เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่จะกำจัดเชื้อโรคยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เชื้อจึงมีโอกาสกระจายไปสู่อวัยวะต่างๆได้ และอาจทำให้เกิดความพิการหรือทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและอีกหลายๆสาเหตุ ดังนี้
- เชื้อไวรัส ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยผ่านทางเสมหะ น้ำมูก เป็นต้น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสสามารถหายได้เองใน 7 -10 วัน ไม่จำเป็นต้องให้ยาแก้อักเสบ เพียงให้การดูแลทั่วไปตามอาการเท่านั้น
- เชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เยื่อหุ้มสมองสามารถส่งผลอันตรายอย่างรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในบางรายอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของสมองบางส่วนและร่างกายส่วนอื่นๆอย่างถาวร ซึ่งสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยกางไอและจาม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เช่น เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งเชื้อนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีด้วย
- สาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเนื้องอก และยาบางชนิด ส่วนใหญ่เป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ ยาปฏิชีวนะ และอิมมูโนกลอบูลิแบบให้ทางหลอดเลือดดำ การแพร่กระจายของมะเร็งมายังเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจเกิดจากการอักเสบอื่นๆ
อาการโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก อาการโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก อาจไม่มีลักษณะจำเพาะที่ชัดเจน ในระยะแรกเริ่มอาจคล้ายคลึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ฯลฯ นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นๆที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่ ไข้สูง ร้องไห้ ตาไวต่อแสง ตัวและลำคอแข็ง กระหม่อมนูน หรืออาจมีอาการซึม ชัก เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย และแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ในเด็กเล็กจะมีระยะเวลาดำเนินโรคเร็วมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีค่ะ
การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กจะขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ ถ้าเป็นเชื้อไวรัสแพทย์จะให้พัก และให้น้ำเกลือ เพราะอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสสามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ และไม่ทำให้เกิดผลกระทบใดๆต่อร่างกาย แต่ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาทันที โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ และจะต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หูหนวก ชัก หรือตาบอด เป็นต้น หากเกิดจากเชื้อชนิดอื่นๆสามารถรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อนั้นๆ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้บ่อยในเด็ก สามารถป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน ได้แก่
- เชื้อไวรัส ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยผ่านทางเสมหะ น้ำมูก เป็นต้น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสสามารถหายได้เองใน 7 -10 วัน ไม่จำเป็นต้องให้ยาแก้อักเสบ เพียงให้การดูแลทั่วไปตามอาการเท่านั้น
- เชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เยื่อหุ้มสมองสามารถส่งผลอันตรายอย่างรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในบางรายอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของสมองบางส่วนและร่างกายส่วนอื่นๆอย่างถาวร ซึ่งสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยกางไอและจาม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เช่น เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งเชื้อนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีด้วย
- สาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเนื้องอก และยาบางชนิด ส่วนใหญ่เป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ ยาปฏิชีวนะ และอิมมูโนกลอบูลิแบบให้ทางหลอดเลือดดำ การแพร่กระจายของมะเร็งมายังเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจเกิดจากการอักเสบอื่นๆ
การดูแลสุขภาพของลูกเป็นสิ่งสำคัญ หากลูกป่วยคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด และพาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจไม่ใช่แค่เพียงการป่วยไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น อาจส่งผลที่รุนแรงได้ ความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต หรือทุพพลภาพในระยะยาว เช่น สมองถูกทำลาย หูหนวก และอาจจะสูญเสียความสามารถในการใช้แขนขาค่ะ
[…] เยื้อหุ้มสมองอักเสบ […]