หัวข้อที่น่าสนใจ
สถานการณ์ทางการแพทย์และสาธารสุขในทุกวันนี้ คงไม่มีเรื่องใดให้ความสนใจเท่ากับเรื่องของไวรัสโคโรน่าหรือที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ Covid-19 ซึ่งไวรัสตัวนี้กำลังระบาดอย่างต่อเนื่องซึ่งยังไม่สามารถยับยั้งหรือหาวัคซีนป้องกันหรือยารักษาได้ แต่ในครั้งนี้เราไม่ได้มาพูดถูงไวรัส Covid-19 แต่เราจะมาพูดถึงญาติของไวรัสตัวนี้ก็คือไวรัสเมอร์ส ที่เคยระบาดในประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อปี 2012 แต่ประเทศไทยยังโชคดีที่ไม่ได้ระบาดในไทย
โรคเมอร์ส คือ

โรคเมอร์ส (Mers : Middle East Respiratory Syndrome) คือโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โคโรนา (Corona Virus) หรือที่เรียกว่าเชื้อไวรัส (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-Cov) หรือ EMC/2012(HCoV-EMC/2012) ไวรัสตัวนี้มักพบในสัตว์จำพวกค้างคาวบางชนิดหรืออูฐที่เลี้ยงกันมกในตะวันออกกลางที่มีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย ซึ่งต่อมาไวรัสตัวนี้ได้พัฒนาตัวเองให้สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ในที่สุด
อาการของโรคเมอร์ส

อาการของโรคจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน และความรุนแรงของโรคก็จะมีอยู่หลายระดับ คือตั้งแต่ไม่แสดงอาการตลอดจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งที่ติดเชื้อจะมีอาการ ดังนี้
- มีไข้
- ไอ หรือไอปนเลือด
- หายใจลำบาก
- มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ
- หากมีอาการรุนแรงก็จะมีอาการปวดบวมหรือมีระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น อาการv คลื่นไส้และอาเจียร
ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคปอดเรื้อรัง จะส่งผลให้โรคเมอร์สทวีความรุนแรงมากกว่าคนปกติ ดังนั้นหากผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะมีสิทธิที่จะเป็นโรคนี้ให้รีบพบแพทย์ภายใน 14 วัน เพื่อป้องกันรักษาอย่างถูกต้อง
สาเหตุของโรคเมอร์ส

เมอร์สเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่มีความรุนแรง สำหรับสาเหตุยังไม่มีผลการวินัจที่แน่ชัด แต่ได้คาดการณ์เอาไว้คือน่าจะมาจากสัตว์ เนื่องจากผลการรายงานพบว่าเชื้อไวรัสโคโรน่า พบในอูฐและค้างคาว ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถแพร่มาสู่คนได้ และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ หากอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่ไร้การป้องกันในระยะห่างกันไม่เกิน 2 เมตร และอยู่ในบริเวณเดียวกันที่เป็นระบบปิดเช่น ห้องเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ การติดเชื้อใช่ว่าจะติดกันได้ง่าย เนื่องจากส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรือเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน หรือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สามารถเสี่ยงที่จะสัมผัสกับสารคัดหลังจากผู้ป่วยผ่านทางการไอและจาม
สำหรับระยะการฝักตัวของโรคยังระบุที่ไม่แน่นอน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีระยะฝักตัวอยู่ที่ประมาณ 2-14 วันหลังจากการได้รับเชื้อตลอดจนถึงการแสดงอาการของโรค โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน และการแพร่ระบาดมักจะอยู่ในแถบตะวันออกกลางเป็นหลัก เช่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศโอมาน เป็นต้น หลังจากนั้นก็แพร่กระจายไปยังทวีปอื่นๆ
การวินิจฉัยโรคเมอร์ของแพทย์

การวินิจฉัยโรคเมอร์สของแพทย์ สิ่งที่สำคัญก็จะอยู่ในส่วนของการซักประวัติในการที่ไปแหล่งที่มีการแพร่เชื้อ และการสัมผัสต่อผู้ป่วย หรือได้สัมผัสกับผู้ที่กลับมาจากพื้นที่ประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในขณะนั้น จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะตรวจด้วยกัน 2 แบบ เพื่อทำการยืนยันต่อการติดเชื้อและสรุปผล การตรวจ 2 แบบ มีดังนี้
- การใช้วิธีพีซีอาร์ในการตรวจสายพันธุกรรม หรือ เรียกว่า (Polymerase Chain Reaction: PCR) ซึ่งสามารถตรวจพบเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะทำการเก็บตัวอย่างเชื้อจากการส่งตรวจซีรัม (Serum) สารคัดหลังในระบบทางเดินหายใจ หรือจากอุจจาระ
- การใช้วิธีตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Serology) ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อหรือแอนติบอดี้จากตัวอย่างเลือดด้วยวิธีการ Elisa (Enzyme-linked Immuno Sorbent Assay) เพื่อทำการคัดกรองในครั้งแรก และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบอีกครั้งด้วยวิธี IFA (Immunofluorescent Assay) เพื่อทำการยืนยันผลการตรวจ ซึ่งมีการติดเชื้อจะทำให้มีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส จึงสามารถตรวจพบได้ในสารคัดหลังของร่างกาย
การรักษาโรคเมอร์ส

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันหรือมียาในการรักษาเฉพาะโรคเมอร์ส ทำให้ในปัจจุบันจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในระหว่างช่วงที่รอผลตรวจการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส นอกจากนี้ยังมีการทำการทดลองใช้ยาอินเตอร์เฟอรอน อัลฟาทูบี ร่วมกับยาไรบาไวรินในบางกลุ่ม แต่ยังไม่ทราบผลการทดลองแน่ชัด และยังเป็นช่วงที่กำลังพัฒนาตัวยา
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมอร์ส

MERS เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจชนิดรุนแรง ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคปวดบวม และโรคไตวาย ตลอดจนเป็นอันตรายต่อชีวิตในรายที่มีอาการรุนแรง ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค จากประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อจะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 3-4 คน จาก 10 คน โดยส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาสุขภาพอื่นซ่อนอยู่
วิธีการป้องกันโรคเมอร์ส

วิธีการป้องกันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดย ดังนี้
- ล้างมือให้สะอาด ล้างเป็นนิสัย ล้างทุกครั้งก่อนการรับประทานอาหาร
- จัดหาแมสปิดปากปิดจมูก หรือหากไม่มีให้ใช้ทิชชู่ในการปิดปากทุกครั้งเพื่อป้องกันการไอจาม
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า หู ตา จมูก
- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
- เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ
- หลีกเลี่ยงการเดินไปในประเทศหรือพื้นที่มีการแพร่ระบาดโรค หรือหากจำเป็นต้องเดินทางควรหาวิธีรับมือป้องกัน และหากกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด หลีกเลี่ยงเข้าสังคมก่อน และเดินทางไปตรวจหาเพื่อยืนยันการติดเชื้อหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง