โรคเคาช์โปเตโต้ในเด็ก
โรคเคาช์โปเตโต้ในเด็กคืออะไร

โรคเคาช์โปเตโต้ในเด็ก
โรคเคาช์โปเตโต้ในเด็ก พบในเด็กที่มีพฤติกรรมชอบนั่งนิ่งๆ นอนๆ ดูทีวี วิดีโอ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน โดยไม่เคลื่อนไหวทำกิจกรรมอื่นๆ ส่งผลให้เด็กเฉื่อยชาและเสี่ยงโรคอ้วน ผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คุณพ่อคุณแม่กำลังปล่อยให้ลูกจดจ่ออยู่แต่กับการดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานหรือเปล่าคะ วันนี้เราจะมาบอกถึงผลกระทบและวิธีการแก้ไขของโรคเคาช์โปเตโต้ค่ะ

เคาช์โปเตโต้ หรือ โรคขี้เกียจ
เคาช์โปเตโต้ หรือ โรคขี้เกียจ

เคาช์โปเตโต้ หรือ โรคขี้เกียจ คือพฤติกรรมที่จดจ่ออยู่กับการดูทีวี วิดีโอ ทีวี คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ ทำให้เด็กเสพติดการนั่งๆ นอนๆ ไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย และไม่เคลื่อนไหวทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ดังต่อไปนี้

  • พัฒนาการทางด้านร่างกาย เนื่องจากเด็กจะนั่งนิ่งๆใจจดใจจ่อกับหน้าจอ ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ขยับกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมอื่นๆ และไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่คล่องแคล่ว และป่วยง่าย ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย
  • พัฒนาการทางด้านสมอง เพราะเด็กจะจดจ่ออยู่กับวิดีโอ ทีวี คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ที่มีการกระตุ้นที่มากเกินไป ภาพเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว สีสันสนใส ทำให้ไม่สนใจกับกิจกรรมใดๆที่ต้องใช้สมาธิหรือสมองในการแก้ปัญหา ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขในระยะยาวก็จะทำให้เป็นเด็กสมาธิสั้นได้ค่ะ
  • พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสาร การที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้เด็กใช้เวลาอยู่กับการนั่งดูโทรทัศน์ ฯลฯ เป็นเวลานานๆ จะทำให้เด็กขาดการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น พูดน้อยลง ฟังอย่างเดียว ไม่มีการตอบโต้ ทำให้พัฒนาการด้านการภาษาและการสื่อสารช้า
  • ระบบประสาทตา การที่เด็กจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ดูเป็นเวลานานๆและการได้รับรังสีที่ส่งผลเสีย รวมถึงพัฒนาการของจอรับภาพประสาทตาเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคือง สายตาแย่ลง เป็นต้น
  • โรคอ้วน เนื่องจากร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวหรือตกอยู่ในภาวะเคาช์โปเตโต้เป็นเวลานาน ไม่เคยได้รับการเคลื่อนไหวยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ค่ะ ซึ่งอาจจะตามมาด้วยโรคร้ายอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
  • ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน ก้าวร้าว เนื่องจากหน้าจอที่ลูกดูมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วตามที่ต้องการ จึ่งส่งผลให้ลูกไม่มีความอดทนและรอคอยไม่เป็นนั่นเองค่ะ
  • เข้าสังคมยาก เนื่องจากเด็กไม่ค่อยได้เล่นกับเพื่อนๆในวัยเดียวกัน ทำให้ขาดการปรับตัวเมื่อต้องเข้าสู่สังคม ปรับตัวเข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น การใช้ชีวิตพื้นฐานในการอยู่ในสังคมก็จะแย่ลง และอยู่กับคนอื่นไม่ได้ในที่สุดค่ะ

วิธีการป้องกันและแก้ไขที่ดีที่สุด ต้องเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่โดยการห่างจอลงบ้าง เน้นการทำกิจกรรมและพูดคุยกับลูกมากขึ้น เบี่ยงเบนความสนใจของลูก เปลี่ยนสถานที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันบ้างเพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อจนเกินไป มีการกำหนดเวลาในการใช้เทคโนโลยีที่ชัดเจน ไม่ควรให้ดูติดต่อกันนาน 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือให้ดูรายการโทรทัศน์ที่ชอบเพียงหนึ่งรายการ และควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เราไม่สามารถบอกให้ลูกหยุดเสพเทคโนโลยีต่างๆ ได้หากตัวเราเองยังคงมีพฤติกรรมการใช้มากเกินไปค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here