หัวข้อที่น่าสนใจ
โรคออทิซึมในเด็ก หรือกลุุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทพัฒนาการ มีผลกระทบต่อการพัฒนาการ ซึ่งในการดำรงชีวิตของเด็กจะมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ การเข้าสังคม ภาษา การสื่อสารที่ผิดปกติ ตลอดจนการมีพฤติการยึดติด ซ้ำๆ เป็นคนที่เปลี่ยนแปลงยาก ความรุนแรงของอาการจะมีความแตกต่างกันออกไปในเด็กแต่ละราย ตั้งมีอาการเล็กน้อยตลอดจนการแสดงอาการที่รุนแรง
สาเหตุของโรคออทิซึมในเด็ก
ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของโรคนี้ได้ เนื่องจาก ออทิซึ่ม จะส่งผลกระทบในแต่ละคนที่มีความแตกกต่างกันออกไปแต่ทางการแพทย์ได้มีความเห็นไว้ว่า โดยทั่วไปแล้วสาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของภาวะ ออทิสซึ่มสเป็กทรั่ม (Autism Spectrum) ซึ่งมาจากปัจจัยร่วมกันระหว่างสิ่งแวดล้อมอื่นๆ กับการติดต่อทางพันธุกรรม
อาการของโรคออทิซึม
อย่างที่บอกว่าโรคออทิซึมเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทในด้านทางการพัฒนา โดยจะแบ่งกลุ่มอาการแสดงความบกร่อง ดังนี้
อาการผิดปกติทางพฤติกรรม
ความผิดปกติทางพฤติกรรมมักจะพบในเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการที่แสดงออกมา คือ
- จะแสดงพฤติกรรมแบบซ้ำๆ เช่น กระโดด หมุนตัว สะบัดมือ โยกตัว ให้ความสนใจในวัตถุที่กำลังหมุน เป็นต้น
- ให้ความสนใจในเฉพาะเรื่อง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จะยึดติดกับการทำแบบเดิมๆ รูปแบบเดิมๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะแสดงอาการหงุดหงิด และกังวัลออกมา
- จะมีการตอบสนองต่อประสาทสัมผัสในสิ่งเร้าน้อยหรือมากเกินกว่าปกติ เช่น เดินเขย่งเท้า เป็นต้น
อาการผิดปกติบกพร่องของทักษะการเข้าสังคม
- เด็กจะไม่ชอบสบตา หรือมองหน้าใคร
- จะไม่แสดงอาการการอยากได้ หรือบอกความต้องการ
- จะไม่แสดงพฤติกรรมเลียนแบบเหมือนเด็กคนอื่นๆ จะไม่สนใจในคนเลี้ยง
- จะไม่อวดในสิ่งใหม่ๆให้ใครได้เห็น ชอบอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร
อาการความผิดปกติบกพร่องในทางการสื่อสาร หรือการเข้าใจในภาษา
- เวลาเรียกจะไม่ร้องขานตอบ เรียกชื่อจะไม่หัน
- เด็กจะไม่ชอบทำคามคำสั่ง จะไม่สนหากต้องการให้ทำอะไร
- จะพูดช้า หรือไม่พูดเลย
- จะแสดงท่าทางตามคำพูดไม่เป็น
การดูแลรักษาโรคออทิซึม

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุการรักษาของโรคนี้ให้หายขาดได้ ดังนั้นจะเป็นการเน้นเป็นการดูแล โดยการกระตุ้นการพัฒนาและการปรับพฤติกรรม เพื่อไปเน้นการฟื้นฟูจุดบกพร่องของเด็กให้ลดลง และเน้นการฝึกให้เด็กได้เข้าสังคมออกจากโลกส่วนตัว ในการฝึกปรับพฤติกรรมลูกตั้งแต่ยังเด็ก จะช่วยให้เด็กมีโอกาศเป็นปกติได้ง่ายกว่ามาฝึกในตอนโตแล้ว
หลักการในการส่งเสริมการพัฒนาการเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะเด็กจะเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากคนใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ และคนภายในบ้าน เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ฝึกผ่านจากการเล่นที่เด็กสนใจ
การเตรียมตัวฝึกลูก ขั้นแรกจะต้องจัดสถานที่ที่เหมาะสมกับการฝึก มีความสงบ จากนั้นจัดอุปกรณ์ให้เป็นที่เน้นจัดไว้ในที่เดิมๆ และจัดตารางเวลาการทำกิจวัตรให้สม่ำเสมอ เด็กสามารถคาดเดาได้เป็นขั้นตอน โดยอาจมีตารางรูปภาพกิจกรรม จะช่วยให้เด็กได้เข้าใจง่ายขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง