โรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถติดต่อไปยังลูกได้ เนื่องจากปกติจะไม่แสดงอาการใดๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจตั้งแต่เริ่มต้น คือ ตั้งแต่ที่คุณแม่ได้เริมมีอาการตั้งครรภ์ ซึ่งหากทำการตรวจแล้วผลออกมาเป็นบวก ทั้งคุณแม่และคุณลูกจะได้รับการรักษาโดยยาปฎิชีวนะ ในครั้งนี้ เรามาให้ความรู้กับคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับโรคหนองในเทียม หากมีการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลกระทบต่อลูกอย่างไร

โรคหนองในเทียม คือ

โรคหนองในเทียม (Chlamydia) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากคู่ที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะมีผลต่อระบบการสืบพันธ์ ส่งผลให้เป็นสาเหตุที่ให้เกิดมูกใส และเกิดหนองที่บริเวณอวัยเพศ แต่บางครั้งโรคหนองในเทียมจะไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนในผู้ป่วยบางราย

โรคหนองในเทียมส่วนใหญ่มักพบได้ในวัยรุ่นที่สามารถเกิดขึ้นทั้งเพศหญิงและชาย และก็ยังมีหลายคนมีความสับสนระหว่างโรคหนองในแท้กับหนองในเทียม ซึ่งมีความแตกต่างกันเกิดจากแบคทีเรียคนละชนิด โรคหนองในแท้จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria Gorrhoese) หนองในทั้ง 2 ชนิดจะแสดงอาการที่คล้ายๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ หนองในเทียมจะมักไม่ค่อยมีอาการ หรือมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าหนองในแท้ พร้อมกับมีระยะฟักตัวนานกว่าหนองในแท้

สาเหตุของโรคหนองในเทียม

หนองในเทียมสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อสามารถแพร่หรือติดต่ได้จากหลายทาง เช่น ทางอวัยเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือทางตา รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์ได้

อาการของโรคหนองในเทียมระหว่างการตั้งครรภ์

90 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในเทียม มักจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากมีอาการเหล่านี้ และแสดงอาการในระช่วง 1-3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ คือ

  • มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีความรู้สึกไม่สบายเมื่อคุณปัสสาวะ
  • มีการอักเสบที่บริเวณปากมดลูก
  • มีภาวะตกขาว
  • มีอาการปวดท้อง
  • มีอาการเจ็บระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการอักเสบของทวารหนัก ปวดทวารหนัก และมีน้ำออกมา หากมีการร่วมเพศทางทวารหนัก
  • มีอาการการติดเชื้อที่คอ หากมีการทำออรัลเซ็กส์กับคู่นอนที่ติดเชื้อ

ผลกระทบจากการติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างตั้งครรภ์

การได้รับการรักษาได้อย่างเร็ว อาจจะลดความเสี่ยงของปัญหาได้ แต่สำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างการตั้งครรภ์ จะมีอัตราสูงที่จะ เกิดการติดเชื้อของถุงน้ำคว่ำและของเหลว มีภาะถุงน้ำคว่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์และมีอัตราที่จะคลอดก่อนกำหนดสูง

จากการวิจัยบางงานวิจัย จะวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงของโรคหนองในเทียม กับอัตราความเสี่ยงของการแท้งลูกเพิ่มขึ้น ถึงแม่ว่างานวิจัยอื่นๆจะยังไม่พบความเกี่ยวข้องก็ตาม

สำหรับโรคหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และการติดเชื้อเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้เปอร์เซนต์ที่มากขึ้น หากคุณได้สัมผัสเชื้อ ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีความเสี่ยงเพิ่มของการติดเชื้อในมดลูกหลังจากที่มีการตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2

ผลกระทบต่อเด็กทารก จากการติดเชื้อหนองในเทียม

ผลกระทบต่อเด็กทารกจาการติดเชื้อหนองในเทียม ซึ่งหากคุณแม่มีการคลอดลูกออกมา ก็มีเปอร์เซนต์สูงที่จะส่งผ่านแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมไปยังลูก ซึ่งความเป็นจริงเด็กทารกเป็นจำนวนมากถึงครึ่งหนึ่งที่ใช้วิธีการคลอดแบบธรรมชาติจากแม่ที่มีเชื้อหนองในเทียม ที่ไม่ได้รับการรักษา หรือแม้เด็กทารกจะคลอดแบบผ่าคลอดก็ตาม 25-50 เปอร์เซนต์ของทารกเหล่านี้จะมีโอกาสติดเชื้อที่เยื้อบุตาอักเสบ ในช่วง 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คลอดมา และ 5-30 เปอร์เซนต์เด็กทารกจะมีโอกาสติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างการคลอด และมีอาการบวมในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อหนองในเทียมจากแม่ไปสู่ทารก

  1. ก่อนการแต่งงาน ควรได้รับการตรวจเชื้อ เช่น ผู้ชาย ควรตรวนโดยเฉพาะทีีเคยมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน หรือเคยมีประวัติการเป็นท่อปัสสาวะอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม สำหรับผู้หญิงตรวจภายในเพื่อตรวจหาเชื้อหนองในเทียมและทำการรักษาไปพร้อมกัน
  2. สำหรับคุณผู้ชายที่ติดเชื้อโรคหนองในเทียมในระหว่างที่ภรรยาตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาจนกว่า คุณผู้ชายจะได้รับคำยืนยันจากแพทย์ว่ารักษาหายแล้ว หรือหากต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็ต้องได้รับการป้องกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  3. สำหรับในกรณีที่คุณผู้ชายติดเชื้อหนองในเทียม แต่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นและไม่รู้เป็นตั้งแต่เมื่อไร และได้มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หลายครั้ง ต้องรีบพาภรรยาไปตรวจการติดเชื้อ และทำการรักษา โดยวิธีการรักษาจะรักษาด้วยยาอิริโธรมัยซินขนาด 500 มก. วันละ 4 ครั้ง นานอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน ไปพร้อมกับสามี ซึ่งยาดังกล่าวสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
  4. การใช้ยาหยอดยาด้วยสารละลายซิลเวอร์ในเตรด ไม่อาจที่จะฆ่าเชื้อคลามัยเดียได้ ซึ่งในหลายประเทศได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว และได้ใช้ยาอิริโธรมัยซินแทน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here