โรคสมองพิการในเด็ก

ทำความรู้จัก โรคสมองพิการในเด็ก

โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) คือโรคความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดกับเด็กเล็กหรือทารก เกิดจากความผิดปกติในส่วนหน้าของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งสาเหตุเกิดจากสมองได้รับความเสียหาย หรือสาเหตุมาจากการพัฒนาของสมองที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อการควบคุมของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และการทรงตัวของร่างกายไปตลอดชีวิต

ในปัจจุบันเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมองพิการในเด็กมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการอัตราการรอดชีวิตเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวที่น้อยที่สูงขึ้น ซึ่งเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคสมองพิการ

สาเหตุของโรคสมองพิการในเด็ก

สมองได้รับความเสียหายได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างที่กำลังคลอด และหลังคลอด แต่อย่างไรก็ได้ก็ตาม มี 1ใน3 ที่เด็กที่ป่วยเป็นโรคสมองพิการที่ไม่สามารถทราบสาเหตุที่ชัดเจน

สมองได้รับความเสียหายก่อนคลอด

สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของสมองของเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งผลอาจมาจากการติดเชื้อระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อหัดเยอรมัน เชื้อไวรัสอื่นๆ หรือมากจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจมีปัญหาทางระบบหลอดเลือด เกิดจากปัญหาทางเมตาบอลิก หรือมาจากที่คุณแม่ได้รับสารพิษบางอย่าง

สมองได้รับความเสียหายระหว่างคลอด

สาเหตุอาจเกิดจากการที่คุณแม่คลอดยาก รกพันคอ เด็กขาดออกซิเจนในช่วงคลอด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย เด็กติดเชื้อ ตัวเหลือง หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเด็กมีเลือดออกจากสมอง หรือได้สมองเด็กได้รับความเสียหาย

สมองได้รับความเสียหายหลังคลอด

สาเหตุอาจเกิดจากเด็กได้รับการติดเชื้อ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งจะทำให้สมองของเด็กได้รับความเสียหาย หรืออาจเกิดจากที่สมองของเด็กได้รับการกระทบกระเทือน

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

  • คุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • คุณแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ขณะตั้งครรภ์
  • เด็กไม่กลับหัวออกมาตอนคลอด

อาการของสมองพิการในเด็ก

อาการโรคสมองพิการ มีความรุนแรงแตกต่างกันออกขึ้นอยู่แต่ละส่วนของสมองที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาการที่พบเห็นได้ชัด ได้แก่

  • เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า ทั้งทางร่างกาย และการพูด
  • เด็กมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว หรือการทรงตัว มีการเคลื่อนไหวน้อย น้ำลายไหลมาก หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ถึงแม้อยู่ในวัยที่รู้เรื่อง
  • เด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้และสติปัญญา
  • เด็กมีความผิดปกติทางการได้ยิน หรือการมองเห็น
  • เด็กมีความผิดปกติการทางสื่อสาร การพูดหรือการใช้ภาษา
  • เด็กมีความผิดปกติทางการรับรู้ความรู้สึก

สมองพิการ มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งแบ่งออกประเภทได้ ดังนี้

สมองพิการชนิดหดเกร็ง

ชนิดนี้เป็นชนิดที่จะพบมากที่สุด ถึง 80% ของผู้ที่ป่วยสมองพิการชนิดอื่นๆ โดยสมองพิการชนิดนี้จะให้กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็ง และมีความผิดปกติทางการเดิน แต่ผู้ป่วยบางรายก็จะมีกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง หรือหนักหน่อยก็เป็นอัมพาต ซึ่งจะส่งผลทำให้เป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือส่งผลเป็นขาทั้ง 2 ข้าง ใบหน้า หรือเป็นทั้งร่างกาย

สมองพิการชนิดกระตุ๊ก

เด็กที่ป่วยสมองพิการชนิดนี้ จะมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งตึง สลับกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือทำให้เกิดอาการชัก

สมองพิการชนิดผสม

เด็กที่ป่วยด้วยโรคสมองพิการชนิดนี้ จะมีอาการชนิดหดเกร็ง หรือกระตุ๊ก ร่วมกัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมองพิการ

ผู้ป่วยโรคสมองพิการ จะมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนี้

  • ประสาทการรับรู้สึกผิดปกติ
  • ปัญหาทางเดินอาหารผิดปกติ
  • สายตาการมองเห็นผิดปกติ
  • ช่องปากมีความบกพร่อง
  • กระดูกมีความผิดปกติ
  • มีปัญหาทางจิต
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้

การรักษาโรคสมองพิการ

การดูแลรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะต้องอาศัยการร่วมด้วยช่วยกันของทั้ง ตัวผู้ป่วย จากครอบครัว และคณะแพทย์รักษา โดยการรักษาควรรักษาตั้งแต่ที่เด็กยังเล็กๆ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าการรักษาเด็กที่ป่วยตอนอายุมากขึ้น การรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอายุของผู้ป่วย

คณะแพทย์ที่จะดูแลรักษาเด็กที่ป่วยด้วยโรคสมองพิการ ประกอบด้วย มีกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา ศัลยแพทย์ด้านระบบประสาท ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์ นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด

แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่ป่วยด้วยโรคสมองพิการ มีดังนี้

  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้เด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้อย่างปกติให้มากที่สุด และคอยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • มีการกำหนดตารางการบำบัด เพื่อเพิ่มศักยภาพทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการกิน การช่วยเหลือตัวเอง และฝึกทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ
  • บำบัดโดยการฝึกพูด
  • มีการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาอื่นๆ และให้ยาลดอาการหดเกร็ง
  • ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ลดการตึงของกล้ามเนื้อ ผ่าตัดย้ายเส้นเอ็น และการผ่าตัดกระดูก
  • การรักษาแบบอื่นๆ เช่น การรักษาปัญหาสายตาและการได้ยิน ภาวะชัก และการรักษาจิตเวช

การป้องกันโรคสมองพิการ

ส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม จึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ปกครองสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ และป้องกันได้จากบางสาเหตุ โดยทำได้ ดังนี้

  • รับวัคซีนให้ครบ
  • ฝากครรภ์และไปพบแพทย์ตามกำหนด
  • ดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์
  • ป้องกันไม่ให้เด็กได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
  • ดูแลสุขภาพเด็กให้แข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง