โรคฟิฟธ์ หรือ Slapped Cheek disease เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ทำให้เกิดผื่นแดงบริเวณแก้มทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่มักพบได้ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-14 ปี
โรคนี้พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ระบุว่าจะมีผู้ป่วยโรคฟิฟธ์ประมาณ 20% ที่ไม่เคยแสดงอาการใดๆ ออกมา และคนไม่สามารถแพร่โรคนี้ไปสู่สัตว์ได้ เนื่องเชื้อไวรัส Parvovirus เป็นคนละชนิดกับที่ทำให้เกิดในแมวและสุนัข
สาเหตุของโรคฟิฟธ์
โรคฟิฟธ์ (Fifth disease) มักจะแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus B19 สามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกที่มีเชื้อไวรัส ทำให้มีความเสี่ยงได้ หากคุณอยู่ใกล้กับผู้ป่วย และมีการจามและไอเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้จากทางเลือดได้ด้วย
อาการของโรคฟิฟธ์
ด้วยโรคนี้สามารถติดต่อได้จากทางระบบทางเดินหายใจ โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 5-10 วัน โดยไม่มีอาการนำ แต่จะเป็นลักษณะมีอาการไข้ต่ำๆ หนักศีรษะ มีน้ำมูก คัดจมูก และมีอาการเจ็บคอเล็กน้อย ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด แต่เมื่ออาการดังกล่าวหายไป 2-3 วัน ก็จะก่อให้เกิดผื่นแดงขึ้นมาที่แก้มทั้งสองข้าง บริเวณแก้มจะมีความร้อน แต่ไม่มีอาการเจ็บ และผื่นจะขึ้นตามแขนขา ลำตัว หรือบางครั้งจะพบได้ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ด้ว
ลักษณะของผื่น จะเริ่มด้วยจุดแดงเล็กๆ และมีลักษณะเป็นปื้น ต่อมาผื่นตรงกลางจะจางหายไป จะมีลักษณะคล้ายร่างแหหรือลายลูกไม้ เป็นลักษณะเฉพาะของโรคฟิฟธ์ ซึ่งผื่นดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 5 วัน ก็จะหายไปและกลับมาเป็นซ้ำใหม่ โดยเฉพาะเมื่อถูกความเย็น อาบน้ำ ออกกำลังกายกลางแดด หรือมีความเครียด จะเป็นๆหายๆ ก็อยู่ประมาณ 1-3 สัปดาห์ก็จะหายสนิท ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่พบภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ แต่ก็มีบางรายที่จะมีข้ออักเสบหลังจากที่ผื่นหาย ซึ่งอาการข้ออักเสบมักเป็นกับข้อเล็กๆ เช่น นิ้วมือ ข้อเท้า เป็นต้น
การรักษาโรคฟิฟธ์
สำหรับโรคฟิฟธ์ ไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้รักษาได้ แต่หากเด็กมีความแข็งแรงโรคฟิฟธ์ก็จะหายไปเองอยู่แล้ว และแพทย์ยังแนะนำวิธีบรรเทาอาการได้ ดังนี้
- ดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยบรรเทาอาการ ไข้ อาการคัน หรืออาการปวดตามข้อและข้อบวม
- ใช้ยาพาราเซตามอล แต่ต้องใช้ตามคำแนะนนำจากแพทย์
- ใช้ยาแก้คันตามคำแนะนำจากแพทย์
- ให้ร่างกายได้พักผ่อน เพื่อลดอาการปวดตามข้อ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ผดผื่นบนใบหน้าของทารก
- 7 ผดผื่น ปัญหาผิวหนังเด็ก
- ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไรสิ่งที่คุณแม่ควรรู้