โรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ หรือเรียกว่าปอดบวม เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี คือโรคที่เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อปอด รวมทั้งการอักเสบบริเวณถุงลม ส่งผลทำให้กระบวนการทำงานของระบบทางเกิดหายใจลดลง กล่าวคือเกิดความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลม และหากมีอาการรุนแรง ก็อาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบประมาณ 2 ล้านคนทั่วโลก

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

สาเหตุของโรคปอดอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน หรือบางรายก็เกิดจากเชื้อรา พยาธิ มีอาการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดม แต่ก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น จากการสำรวจข้อมูลขององค์การอนามัยโลกจะพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบกำลังพัฒนากลายพันธุ์ เป็นเชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus  pneumoniae) และเชื้อฮิบ (HiB) สำหรับเชื้อไวรัสส่วนใหญ่เป็นชนิด respiratory syncytial virus (RSV) เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปอดอักเสบมาจากการติดเชื้อไวรัส โดยมักจะเป็นจากการไปสัมผัสละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งจากเด็กที่มีเชื้อคนอื่น

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคัส เพราะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะพบได้ในเยื่อบุโพรงจมูก ในลำคอ และเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือเยื้อบุดังกล่าวได้ถูกทำลาย ทำให้เชื้อนิวโมคอคคัสหลุดเข้าไปในร่างกาย หรือไม่ก็อาจเกิดจากการที่สำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณลำคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลายหรือถุงลมปอด ซึ่งหากจำนวนเชื้อที่สูดเข้าไปในถุงลมมีมากจนเกินไป จนร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปจากร่างกาย ก็จำทำให้เชื้อเหล่านี้แบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา ส่งผลทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย และยังทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดได์ลดลงทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

เชื้อโรคที่สามารถก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด หรือการสูดหายใจเข้าไป

ในสภาวะปกติที่ระบบทางเดินหายใจในร่างกายจะมีกลไลปกป้องสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่หลอดลมหรือถุงลมปอดโดยร่างกายมีจมูกเป็นอวัยวะในการกรองเชื้อโรค และมีฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ปอดและขับสิ่งต่างๆออกมาโดยการไอ ตาม นอกจากนี้ภายในถุงลมปอดยังมีกลไกในการกำจัดเชื้อหลายอย่าง เช่น เชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยการกำจัดเชื้อโดยระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อโรค และเมื่อความสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคและกลไกในการป้องกันถูกทำลาย ก็อาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้

ขอเสนอแนะเพิ่มเติมหากผู้ป่วยปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่สมอง กระแสเลือด เป็นต้น ส่งผลทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตสูงมาก

อาการของโรคปอดอักเสบ

ลักษณะของอาการผู้ป่วยของโรคปอดอักเสบจะมีความแตกต่างกันออกไปตามเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรค และอายุของผู้ป่วย ซึ่งอาการที่สำคัญของโรคปอดอักเสบในเด็กส่วนใหญ่ ได้แก่ การไอ มีอาการหายใจหอบเหนื่อย แต่สำหรับบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวน งอแง และมีอาการหนาวสั่น อาการในเด็กทารกส่วนใหญ่ไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ หรืออาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดน้ำหรือนม

อาการปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะมีอาจติดเชื้อทางเดินหายใจข้างต้น จะมีไข้ มีน้ำมูก มีอาการไขร่วมกับเสมหะ และต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ซี่โครงบาน และตัวเขียว ส่วนมากจะไม่มีอาการไม่รุนแรง และอาการจะดีขึ้นได้เอง และก็มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

อาการปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ป่วยหนัก มีอาการไอและมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรคปอดอักเสบ

การวินิจฉัยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ ทำการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ปอด รวมทั้งอาจจะใช้วิธีการตรวจหาเชื้อก่อโรค เช่น การเพาะเชื้อจากเสมหะการตรวจแอนติเจนเพื่อหาสารพันธุกรรมเชื้อในเสมหะหรือโพรงจมูก ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ของร่างกายต่อเชื้อ ซึ่งมีแนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กัความรุนแรงของโรค โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 2 ส่วน คือ

การรักษาแบบเจาะจง

จะทำการให้ยาปฎิชีวนะในกรณีที่เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย สำหรับในรายที่ติดเชื้อจากไวรัส จะไม่มียารักษาเฉพาะเจาะจง ยกเว้นเป็นไข้หวัดใหญ่ที่มียาต้านเชื้อไวรัส สำหรับเป็นไวรัสอื่นๆจะรักษาตามอาการ

การรักษาแบบประคับประคอง

จะทำการแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภาวะขาดน้ำแพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือด จะทำให้การให้ออกซิเจนในรายผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย เขียว อกบุ๋ม กระสับกระส่าย มีอาการซึม หากในกรณีที่มีระบบหายใจล้มเหลวอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย หรือบางรายที่มีภาวะหลอดลมตีบก็อาจจะให้ยาขยายหลอดลม และหมอจะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดปอด เพื่อทำการขับเสมหะได้สะดวกไม่อุดตัน หรืออาจรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ตามอาการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ หรือยาละลายเสมหะ

การป้องกันให้ลูกห่างไกลโรคปอดอักเสบ

วิธีการป้องกันที่ดีคือการหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการพาบุตรหลานไปในที่แออัด เนื่องจากการมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัสกับผู้ป่วย ไม่เพียงเท่านี้การพาเด็กรับวัคซีน ป้องกันโรคตามกำหนดนัดก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคการติดเชื้อในระบบทางเดินหายในรวมถึงโรคปอดอักเสบได้ด้วย กุมารแพทย์อาจให้รับวัคซีนเสริม ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮิบ วัคซีนป้องกันโรค IPD เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here