โรคซึมเศร้าในเด็ก
อาการซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอัตราภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กเพิ่มมากขึ้น และหลายคนอาจสงสัยว่าเด็กๆจะซึมเศร้าได้หรือไม่ เนื่องจากหลายท่านยังคงเชื่อว่าเด็กจะไม่รู้สึกโศกเศร้าหรือหดหู่เพราะพวกเขายังเด็กมาก ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจ และตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในเด็กที่อาจขึ้นกับลูกของคุณค่ะ
เด็กๆประสบกับภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่
ภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Depression) เป็นความเข้าใจผิดที่ผู้ใหญ่หลายท่านเข้าใจว่า เด็กๆไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้เพียงเพราะอายุ ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้าในเด็กนั้นเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่คุณคิด โดยพฤติกรรมของเด็กที่ซึมเศร้าอาจแตกต่างจากพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าค่ะ ภาวะซึมเศร้าอาจอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงและมีอาการเฉพาะบางอย่าง ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
- ภาวะซึมเศร้าดิสทีเมีย ดีเพรสชั่น (Dysthymia Depression) เป็นประเภทของภาวะซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงน้อยแต่มีแนวโน้มที่จะเรื้อรังนานกว่า 2 ปี
- ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ความผิดปกติทางอารมณ์จากฤดูที่เปลี่ยนแปลง และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตหนาว เนื่องจากกลางวันสั้นลง กลางคืนยาวนานทำให้คนซึมเศร้า จิตตก รู้สึกเฉื่อยชามากขึ้น
- ภาวะซึมเศร้าแบบสองขั้ว (Bipolar depression) ลูกของคุณมีแนวโน้มที่อารมณ์ขึ้นและลง บางรายจะมีอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างขั้วกัน
- ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder) เป็นภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด จนไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น การเสียชีวิตของผู้ใกล้ชิด เป็นต้น
สาเหตุของอาการซึมเศร้าในเด็ก
อาการซึมเศร้าในเด็กไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ อาจเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยต่างๆประกอบกัน เช่น สุขภาพร่างกาย ประวัติครอบครัวภาวะซึมเศร้า ความเจ็บป่วยทางจิต ความอ่อนแอทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และความไม่สมดุลทางชีวเคมี เป็นต้น ทางการแพทย์เชื่อว่าภาวะซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง
สัญญาณและอาการซึมเศร้าในเด็ก
อาการของภาวะซึมเศร้าสามารถอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ หลายเดือนและหลายปีหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อชีวิตประจำวันของลูกรวมถึงกิจกรรมที่โรงเรียน อาการของภาวะซึมเศร้านอกเหนือจากความหงุดหงิดแล้ว ถ้าลูกของคุณแสดงอาการต่อไปนี้ลูกของคุณประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ
- โศกเศร้าบ่อยครั้ง น้ำตาไหล ร้องไห้บ่อย
- รู้สึกหงุดหงิด และอารมณ์โกรธ
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
- ขาดสมาธิ ปัญหาด้านการเรียนรู้
- รู้สึกผิด ความนับถือตนเองต่ำ
- ความโดดเดี่ยวทางสังคมการสื่อสารไม่ดี
- ทำตัวห่างไกลจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและชอบอยู่คนเดียว ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนุกสนานอีกต่อไป
- การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกิน ความผันผวนของน้ำหนัก และมีปัญหากับการนอนหลับ
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเอง
เด็กอาจเป็นเรื่องยากที่จะระบุภาวะซึมเศร้าด้วยความถูกต้อง และขึ้นอยู่กับอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าลูกของคุณแสดงอาการเหล่านี้มานานกว่า 2-3 สัปดาห์ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในเด็ก
หากลูกของคุณแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรพาเขาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อขอคำปรึกษาและวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าของเด็กได้อย่างถูกต้อง และในส่วนหนึ่งของการประเมินแพทย์อาจต้องการพูดคุยกับผู้ปกครองเช่นเดียวกับลูกของคุณค่ะ รวมถึงอาจขอข้อมูลจากครูและเพื่อนร่วมชั้นเพื่อระบุพฤติกรรม เพื่อใช้การวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าในเด็กโดยเฉพาะค่ะ
การรักษาภาวะซึมเศร้าในเด็ก
การรักษาภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยจิตบำบัดหรือการใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาพความซึมเศร้า ในเด็กที่มีความรุนแรงระดับปานกลางมักรักษาได้ด้วยจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการบำบัดการใช้ยามักจะต้องใช้ในกรณีรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งการหายาที่เหมาะสมและขนาดยาอาจต้องใช้เวลา นอกจากนี้การใช้ยาเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าได้
ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถป้องกันได้หรือไม่
ภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กในระดับหนึ่งสามารถป้องกันได้ โดยสิ่งสำคัญคือเด็กต้องเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูที่แนบแน่นระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่ เมื่อลูกของคุณถูกล้อมรอบจากครอบครัวที่เข้มแข็งความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อพัฒนาทักษะการเผชิญปัญหาที่ดี และควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดี
อาการซึมเศร้าอาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของลูกคุณ ดังนั้นการจัดการกับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เกิดความเครียด และต้องใช้เวลารวมถึงความพยายามอย่างมาก ขั้นตอนแรกคือการพูดคุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ของพวกเขาทุกครั้งที่ลูกต้องการพูดคุย การให้การสนับสนุนและการสละเวลาให้กับลูกของคุณนั้นเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการฟื้นฟูที่ดีที่สุดค่ะ