โรคซางในเด็ก

โรคซางในทางการแพทย์ คือ ภาวะการขาดสารอาหาร จะพบได้มากในเด็กที่จะมีฐานะยาจน หรือการเลี้ยงดูลูกที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลทำให้เด็กขาดโปรตีนและพลังงาน และทำให้เด็กมีอาการเบื่ออาหาร ไม่กินนม ไม่กินข้าว มีพยาธิในลำไส้ ทำให้เด็กผอมแห้ง กล้ามเนื้อลีบเล็ก เลี้ยงไม่โต แต่ในปัจจุบันโรคนี้เริ่มมีอัตราที่น้อยลง เนื่องจากพ่อแม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่ถูกต้องมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้โรคซางคือโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ตัวร้อน อาการหวัด เจ็บคอ ไอ มีเม็ดในปากคอ ลิ้นเป็นฝ้า อีกด้วย

สาเหตุของโรคซางในเด็ก

สาเหตุของโรคซาง เกิดจากที่คุณพ่อคุณแม่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้อง ให้ลูกรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เช่น เด็กอาจได้รับนมไม่เพียงพอคือในช่วง 6 เดือนแรก ให้ลูกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ให้ลูกเริ่มกินอาหารอื่นนอกจากนมช้าเกินไป หรือให้ลูกกินนมผสมที่ไม่ถูกต้อง

อีกสาเหตุหนึ่งคือลูกมีอาการลูกเบื่ออาหาร ไม่ยอมกินข้าว กินนม หรือการดูดึม หรือระบบย่อยอาหารลูกมีความบกพร่อง ผิดปกติ ส่งผลลูกได้รับอาหารและสารอาหารที่กินเข้าไปน้อยลง

โรคซางมักเกิดกับครอบครัวที่มีฐานะยากจน เนื่องจากต้องรับอาหารที่ไม่ครบถ้วนในแต่ละมื้อได้รับเพียงสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น หรือต้องอดมื้อกินมื้อจึงทำให้สารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของเด็ก

อาการโดยทั่วไปของโรคซาง

ลักษณะอาการของเด็กที่เป็นโรคซางจะมีลักษณะ ดังนี้

  • เด็กจะมีอาการรับประทานอาหารที่น้อยลง เนื่องจากลูกอาจมีอาการเบื่ออาหาร หรือลูกมีความผิดปกติทางระบบย่อยอาหาร
  • ลูกเริ่มมีร่างกายที่ซูบผอม ตัวเหลือง กล้ามเนื้อเล็กลีบ แขนขาไม่มีแรง มีไข้ตัวร้อนอยู่ตลอดเวลา มีเท้าเย็นถึงแม้อากาศจะร้อนก็ตาม แต่ก็เหงื่อออกมามาก ในเวลากลางคืนมีเหงื่อไหลซึมหัวเปียกและมีกลิ่นเหม็นคาว
  • ลูกจะนอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ สะดุ้งตื่นง่าย หงุดหงิดง่าย หรือมีภาวะทางอารมณ์แปรปรวน เพราะเนื่องจากการที่ลูกนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผื่นขึ้น และเมื่อผดผื่นยุบจะตามมาด้วยอาการท้องเสีย มีลมในท้อง ลิ้นจะเป็นฝ้า หรือมีเม็ดซางขึ้นที่ปากของลูก และลูกจะมีอาการกระหายน้ำ
  • ลูกจะมีอาการท้องเสียและท้องเสียบ่อย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว กระปิดกระปอย หรือบางครั้งก็มีมูกปน และเป็นหวัดบ่อยๆ เริ่มหายใจลำบาก ขอบตาช้ำ
  • ในรายเด็กที่มีอาการรุนแรง อาจจะมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยแปลงไป จะทานเยอะมาก แต่ทานอย่างไรก็ไม่อ้วน และสภาพร่างกายเหมือนคนอดหลับอดนอน แขนขาลีบ พุงโลก้นป่อง

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคซางที่ต้องแพทย์ด่วน

คือมีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว มีเล็บ ริมฝีปาก ผิวรอบปาก มีสีฟ้า การกลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก หายใจไม่สะดวก หายใจติดๆขัด มีอาการเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอกเมื่อหายใจ การเต้นหัวใจผิดปกติ และมีลมพิษหรือผื่นขึ้นตามตัว

การรักษาและการป้องกันโรคซางในเด็ก

อาจารย์แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ.รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวไว้ในหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย ไว้ว่าเนื่องด้วยโรคซางไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงอะไร ซึ่งสาเหตุอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกิดจากการที่เด็กขาดสารอาหารที่ผลมาจากที่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น การรักษาไม่จำเป็นต้องไปฉีดยาใช้การดูแลป้องกัน โดยมีวิธีการป้องการมีดังต่อไปนี้

การทานนมแม่ให้เพียงพอ

นมแม่คือแหล่งสารอาหารที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อเด็ก โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งหากลูกได้รับนมแม่ที่เพียงพอไม่เพียงเป็นการป้องกันโรคซางแล้ว แต่ยังช่วยเสริมแหล่งภูมิคุ้มกัน และการพัฒนาการที่ดีให้กับลูก ไม่ให้ป่วยง่าย ดังนั้น ควรให้ลูกกินนมให้ครบ 6 เดือน และให้กินอย่างต่อเนื่องไปจนถึง 2 ปี

การกินอาหารเสริมป้องกันโรคซาง

หากลูกเริ่มมีอาการเบื่อการกินนมหรือกินนมได้น้อย คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเริ่มให้ลูกได้เริ่มฝึกกินอาหารอื่นนอกจากนมบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับโภชนาการและความเหมาะสมกับอายุที่ลูกกินด้วย เพราะหากเริ่มเร็วเกินไปก็อาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของลูกได้เช่นกัน

การฝึกนิสัยการกินที่ดี

การฝึกการกินของลูกก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรฝึกลูกให้กินตามเวลา นั่งกินให้เรียบร้อย ไม่ควรให้ลูกกินไปเล่นไป และไม่ควรให้ลูกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และก่อนมื้ออาหารไม่ควรให้กินอาหารอย่างอื่นก่อน เพราะจะทำให้ลูกไม่กินอาหารในมื้อหลัก เพราะอาจทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

การกินวิตามินเสริม หรือการใช้ยาป้องกันโรคซาง

ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะไม่มีข้อสั่งห้ามกินวิตามิน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่การควบคุมของแพทย์ โดยเฉพาะการใช้กับเด็กเล็ก ต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก ทางทีดีควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เป็นเรื่องที่ดีที่สุด

การคอยสังเกตุน้ำหนักของลูก

การสังเกตุน้ำหนักของลูกให้มีความเหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะน้ำหนักก็บ่งบอกถึงความผิดปกติร่างกายของลูกได้ ซึ่งน้ำหนักตามช่วงวัยของลูก ดังนี้

  • แรกเกิดถึง – 3 เดือน น้ำหนักขอลูกควรขึ้น 26-31 กรัม/วัน
  • 3-6 เดือน น้ำหนักขอลูกควรขึ้น 17-18 กรัม/วัน
  • 9-12 เดือน น้ำหนักขอลูกควรขึ้น 12-13 กรัม/วัน
  • 1-3 ปี น้ำหนักขอลูกควรขึ้น 7-9 กรัม/วัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here