การพูดคุยกับทารกในครรภ์หลายๆคนอาจมองว่าเป็นการสนทนาที่ไร้สาระหรือเหมือนการพูดข้างเดียว แต่การพูดคุยกับลูกน้อยของคุณในขณะที่พวกเขายังอยู่ในครรภ์นั้นจะช่วยให้คุณสร้างความผูกพันที่ดีค่ะ นอกจากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังมีข้อดีอย่างไรบ้างเรามาดูไปพร้อมกันค่ะ
ทารกในครรภ์ได้ยินเสียงตอนไหน
เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 14 สัปดาห์ นอกจากเสียงหัวใจของแม่และเสียงลมหายใจของคุณแล้ว ลูกน้อยของคุณจะเริ่มได้ยินเสียงต่างๆรอบตัวซึ่งสามารถสังเกตได้จากการตอบสนองของทารก เช่น ขยับตัว ถีบท้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุย เล่านิทานหรือฟังเพลงกับลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
เหตุผลที่ควรคุยกับทารกในครรภ์
- การพูดคุยกับลูกน้อยของคุณในระหว่างตั้งครรภ์สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับลูกน้อย นอกจากนี้ยังทำให้เขารู้สึกปลอดภัยและคลายความเครียดได้
- ช่วยกระตุ้นการได้ยินในเด็ก จากการศึกษาพบว่าพัฒนาการของหูจะเริ่มต้นในช่วงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 25 ซึ่งแตกต่างจากการมองเห็นทารกพัฒนาการทางการมองเห็นจะเริ่มต้นเมื่อคลอดออกมาแล้วเท่านั้นค่ะ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินกว่า 60 เดซิเบล เนื่องจากเสียงที่ดังมากอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการได้ยินของทารกในครรภ์ได้ค่ะ
- ช่วยให้ลูกน้อยคุ้นเคยกับคุณ จากการศึกษาพบว่าการสื่อสารพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์เป็นประจำจำ ช่วยให้เด็กทารกสามารถจดจำคุ้นเคยกับเสียงของคุณและเข้าใจอารมณ์ของแม่ได้ค่ะ
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่รัก การใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการพูดคุยกับลูกน้อยของคุณ อาจเป็นการฝึกสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่รักได้ค่ะ ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่สามารถทำร่วมกันได้ค่ะ
การสื่อสารที่ดีที่สุดกับลูกน้อยในครรภ์
- การพูดคุย การอ่านหนังสือหรือการเล่านิทาน เป็นวิธีการสื่อสารง่ายๆเพียงแค่พูดคุยกับพวกเขาในแบบที่คุณต้องการ และสามารถทำได้ตลอดเวลาค่ะ
- การเปิดเพลงให้ลูกฟัง ประโยชน์จากเสียงเพลงช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการได้ยินเช่นเดียวกับการพูดคุณค่ะ คุณแม่สามารถเปิดเพลงคลาสิค เพลงกล่อมเด็ก หรือเพลงทั่วๆไปที่คุณแม่ชอบฟังก็ได้ค่ะ
- การสัมผัสหรือการนวดเบาๆที่หน้าท้อง ทารกในครรภ์สามารถรับรู้ถึงสัมผัสที่อ่อนโยนของคุณพ่อและคุณแม่ได้จากการลูบสัมผัสหน้าท้อง และยังเป็นการช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ
- การเล่นกับลูกน้อยในครรภ์ด้วยการใช้ไปฉาย ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการมองเห็น การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ได้ดีค่ะ
- การทำจิตใจให้สบาย สดชื่น แจ่มใส เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าความเครียดส่งผลต่อสุขภาพของตัวคุณและลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นการทำจิตใจให้มีความสุข ผ่อนคลายก็จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกเช่นเดียวกันคุณแม่ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง