หัวข้อที่น่าสนใจ
การเลี้ยงลูกด้วยดนตรี เป็นอีกวิธีการเลี้ยงลูกวิธีหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งวิธีนี้ก็มีผลงานวิจัยเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับ การศึกษาประโยชน์ของดนตรีต่อการพัฒนาการในด้านต่างๆ ของเด็ก โดยผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่า การใช้ดนตรีในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก เป็นวิธีที่ช่วยในการส่งเสริมทักษะด้านต่างๆที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะการให้ลูกได้ยินเสียงดนตรี ถือว่าเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการลำดับแรกๆ ของลูก เนื่องจากลูกสามารถได้ยินเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องของคุณแม่ ลูกจะมีความพึงพอใจในเสียงดนตรีที่ได้ยิน และลูกยังมีสามารถรับรู้ถึงระดับของเสียงสูงต่ำได้อย่างดี รวมถึงยังสามารถแยกแยะเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลงของแม่ กับเสียงของผู้หญิงคนอื่นๆได้อีกด้วย หากได้รับการฝึกหรือกระตุ้นการได้ยินของลูกอยู่เสมอ โดยใช้วิธีการให้ลูกฟังเสียงดนตรีตั้งแต่อยู่ในท้อง จะทำให้ลูกมีการตอบสนองต่อเสียงได้ดีขึ้น เมื่อคุณแม่จะร้องเพลงหรือปลอบลูก จะส่งผลให้ลูกมีความผ่อนคลาย
แต่เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่าดนตรีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ พัฒนาทักษะของลูกได้อย่างไร ในครั้งนี้เรามีคำตอบให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
การส่งเสริมพัฒนาการโดยการเลี้ยงลูกด้วยดนตรี
การส่งเสริมการพัฒนาการทางสติปัญญา

เป็นธรรมดาที่คุณพ่อคุณทั้งหลายอยากให้ลูกเป็นเด็กที่ฉลาด จึงหาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและสติปัญญา ซึ่งการเล่นดนตรีก็เป็นอีกวิธีหนึ่งจะช่วยส่งเสริมด้านการพัฒนาการทางสติปัญญาได้ โดยผลงานการทดลองของมหาวิทยาลัยโทรรอนโตแห่งประเทศแคนนาดา ได้ทำการแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดยที่กลุ่ม 1 และกลุ่มที่ 2 จะเรียนการร้องแพลงและเรียนคีย์บอร์ด 5 วัน/สัปดาห์ โดยใช้ระยะเวลา 7 เดือนด้วยกัน ส่วนสำหรับ กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 จะทำกิจกรรมอื่นๆ ยกเว้นการเรียนดนตรี ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่ากลุ่มที่มีการเรียนวิชาดนตรีและกลุ่มที่ไม่มีการเรียนดนตรี การพัฒนาการทางด้าน IQ มีความแตกต่างกันโดยกลุ่มที่มีการเรียนดนตรี จะมี IQ เพิ่มสูงถึง 7 จุด แต่สำหรับกลุ่มที่ไม่มีการเรียนดนตรี จะมี IQ เพิ่มขึ้นเพียง 4.3 จุด และยังมีผลการทดลองเพิ่มเติมพบว่าเด็กที่เลือกเรียนคีย์บอร์ดจะมีการพัฒนาการทางสมองสูงกว่าเด็กที่เลือกเรียนร้องเพลง
ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านภาษา และการรับรู้

การให้เลี้ยงลูกโดยการใช้ดนตรี สามารถที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการรับรู้ในด้านภาษา และยังช่วยในเรื่องทักษะการอ่านอีกด้วย เพราะเสียงดนตรี และคำพูดมีการทำงานที่ร่วมกันอยู่ การที่เล่นดนตรีบ่อยๆ จึงเป็นวิธีในการช่วยการฝึกการถอดเสียงและรูปแบบของคำต่างๆ ให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งยิ่งเด็กใช้เวลาอยู่กับดนตรีมากเท่าไร ก็จะทำให้สมองในส่วนภาษาศาสตร์ของลูกพัฒนาขึ้นไปด้วย โดยจะช่วยให้ลูกสามารถจำคำศัพท์และการรับรู้ในด้านการอ่านได้ดี
ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม และการพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเอง และทักษะการเข้าสังคม ก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อลูกได้เช่นกัน เพราะการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่จะสอนให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่รู้สึกถึงความมุ่งมั่น ความอดทน ฝึกวินัย ในการฝึกซ้อม ตลอดจนการได้ลิ้มลองรสชาติของการประสบความสำเร็จ ส่งผลให้เกิดความนับถือในตัวเอง ส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และฝึกให้ลูกได้เป็นเด็กที่กล้าแสดงออกอีกด้วย
ส่งเสริมการพัฒนาด้านร่ายกายและสุขภาพ

การใช้ดนตรีในการเลี้ยงลูก นอกจากจะพัฒนาในด้านสมองและจิตใจแล้ว ก็ยังส่งเสริมการพัฒนาในทักษะการประสานงานของส่วนต่างๆในร่างกายได้ ซึ่งได้มีการทดสอบพบว่า เด็กในช่วงก่อยวัยเรียน การเล่นดนตรีจะมีประโยชน์ เทียบเท่ากับการเล่นออกกำลังกาย ไม่เพียงเท่านี้ยังพบว่าการร้องเพลง มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหัว ระบบการหายใจ และการทำงานของปอด ช่วยในการปรับท่าทางให้ดีขึ้น ส่งผลทางด้านอารมณ์ให้ดี ลดความตึงเครียด ส่งเสริมความสุข สนุกสนาน อีกด้วย
ส่งเสริมทักษะการคำนวณ

คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้ดนตรีในการเลี้ยงลูก ช่วยส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์การคำนวณได้ มีผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดสอบ เด็กในระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 2 โดยทำการแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะมีประสบการณ์ทางด้านดนตรี และกลุ่มที่ 2 ไม่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เด็กที่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี สามารถทำแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ในขั้นพื้นฐานได้สูงกว่าเด็กที่ไม่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี ไม่เพียงเท่านี้ การทดสอบได้ทดสอบเด็กในกลุ่มที่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี โดยแบ่งเด็กที่เล่นคีย์บอร์ด กับเด็กที่เล่นเปียโน กับเด็กที่ร้องเพลง ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เด็กที่เล่นคีย์บอร์ดทำคะแนนได้สูงกว่าเด็กที่เล่นเปียโนกับเด็กร้องเพลงมาก ดังนั้น หากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีความสนใจในเรื่องดนตรี ก็ลองแนะนำลูกให้ลูกได้ลองเล่นคีย์บอร์ด เพราะอาจจะช่วยในทักษะของลูกได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ลูกขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก แก้ปัญหาอย่างไร
- การปล่อยให้ลูกวิ่งเล่น กระตุ้นพัฒนาการที่ดี
- กิจกรรมพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์สำหรับเด็ก