เด็กนอนกลางวัน

การให้นอนของเด็กทารกเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กทารกไปจนถึงเด็กเล็ก ไม่เพียงเท่านี้ ได้มีผลงานวิจัยระบุว่าการที่ให้ลูกนอนกลางวันจะมีส่วนช่วยให้ลูกมีความจำดี ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกให้เร็วขึ้น และผลการวิจัยยังแสดงการทดลองให้เห็นว่า การที่ลูกนอนหลับ ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มพลังให้แก่ร่างกาย และช่วยพัฒนาสมองของเด็กทารกเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาความทรงจำและแยกแยะ รายละเอียดของประสบการณ์ที่พบเจอระหว่างวันได้อีกด้วย

อย่างที่คุณแม่หลายๆ ท่านทราบกันดี ในขณะที่เรานอนหลับ สมองของเราไม่ได้หลับตามด้วย ซึ่งสมองของเรายังคงประมวลผลสิ่งต่าง ๆ ที่เราเพิ่งพบ ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าการนอนของเด็กเล็ก มีส่วนในการพัฒนาความจำ ส่งผลก่อให้เกิดการรับรู้ และการเรียนรู้ในช่วงที่เด็กกำลังนอนได้อีกด้วย ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถพิสูจน์ได้ว่า เด็กทารกยังสร้างความทรงจำได้เป็นฉาก ในระหว่างที่กำลังหลับ ทำให้พวกเขาสามารถเก็บความทรงจำได้โดยละเอียด

การทดลองเด็กนอนกลางวัน

นักวิทยาศาสตร์จาก Max Planck Institute for Human Cognitive and Brain Sciences (MPI CBS) Leipzig and Humboldt University (HU) Berlin นักวิจัยได้ดูความสัมพันธ์ระหว่างการหลับและความทรงจำที่เกิดขึ้นในระหว่างการนอนหลับของเด็กทารก ใช้เครื่องมือ Electroencephalograms (EEG) ทำการบันทึกการทำงานของสมองของเด็กทารก โดยในการทำการวิจัยแบ่งระยะการเรียนรู้ ออกเป็น 2 ระยะ คือ เด็กที่มาทดสอบจะมีอายุอยู่ระหว่าง 14-17 เดือน ได้เห็นภาพ สิ่งของต่างๆ พร้อมทั้งสอนสิ่งรอบตัวเรียกว่าอะไร และแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้ให้นอนกลางวันประมาณ 1-2 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 2 จะไม่ให้นอนกลางวัน ซึ่งหลังจากที่กลุ่มแรกตื่นนอน นักวิจัยได้ให้เด็ก ทั้ง 2 กลุ่ม ได้ดูภาพของสิ่งของภาพเดิมรวมถึงภาพใหม่ ๆ พร้อมกันไปด้วย และสอนว่าสิ่งที่เห็นคืออะไรบ้าง แต่จะมีบางภาพที่ทารกเคยดูไปแล้วในครั้งแรก ที่นักวิจัยเรียกชื่อผิด เช่น ภาพลูกบอลที่เคยสอนไปครั้งแรกว่าเรียกว่าลูกบอล นักวิจัยกลับบอกว่ามันเป็นรถในการสอนครั้งที่ 2 หลังจากนั้น ก็ได้ให้ทารกได้เรียกชื่อตามภาพที่ได้สอนไปทีละคน นักวิจัยพบว่าทารกที่ได้ นอนกลางวัน 1-2 ชั่วโมงนั้น ยังเรียกภาพ “ลูกบอล” ว่า “ลูกบอล” ในขณะที่ทารกกลุ่มที่ไม่ได้นอนกลางวันกลับเรียก “ลูกบอล” ว่า “รถ”

ข้อสรุปในการทดลองการให้เด็กนอนกลางวันพบว่า หลังจากที่ให้เด็กได้นอนหลับในช่วงเวลากลางวัน พบว่าเด็กสามารถจำเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่พวกเขาได้เคยสัมผัสได้ จึงสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดที่สามาถจำได้ว่าเด็กสามารถสรุปประสบการณ์ที่พบมาได้เท่านั้น แต่ยังสามารถรักษาความทรงจำที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยละเอียดและแยกความแตกต่างพร้อมทั้งเรียนรู้ประสบการณ์นั้น ๆ ไปในตัว

ระยะเวลาการนอนกลางวันของเด็กทารก

สำหรับเด็กทารกในวัยนี้ ยังจะไม่มีจำนวนครั้งในการนอนกลางวันที่แน่นอน เนื่องจากจะอาศัยปัจจัยต่างๆ ที่เด็กทารกพบเจอ แต่สำหรับเดือนแรกเด็กควรนอนันละ 16 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย และควรนอนในช่วงเวลากลางวัน 4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

และเมื่อเด็กเข้าสู่อายุ 4 เดือน ถึง 1 ปี เด็กในวัยนี้ควรนอนกลางวันอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นช่วงเช้า 1 ครั้ง และช่วงบ่าย 1 ครั้ง ช่วงเวลานอนที่เหมาะสมของเด็ก คือช่วง 9 โมงเช้า และช่วงบ่ายโมง ซึ่งระยะเวลาจะให้ลูกนอนเท่าไรก็ได้ แต่หากมันทำให้ลูกนอนช่วงเวลากลางคืนยาก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรปลุกลูกให้ตืนจากที่นอนกลางวันให้เร็วขึ้น และเมื่อลูกเข้าสู่อายุ 9 เดือน ควรลดจำนวนการนอนกลางวันของลูกให้เหลือวันละ 1 ครั้ง เพราะหากให้นอน 2 ครั้ง อาจทำให้ลูกนอนในช่วงกลางคืนยากมากขึ้น และนอนดึก ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

เด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป จะเริ่มไม่นอนกลางวันในช่วงเช้าแล้ว และจะนอนกลางวันเพียงแค่ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และจะนอนกลางวันเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ในช่วงวัยนี้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เขยิบเวลาการนอนกลางวันให้เร็วขึ้น 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้นอนกลางคืนเร็วขึ้น 1-2 ชั่วโมงเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here