อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

อาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยเด็กและผู้ใหญ่ แม้ในบางครั้งเด็กและผู้ใหญ่รับประทานอาหารแบบเดียวกัน แต่กลับพบว่าเด็กเกิดอาการอาหารเป็นพิษเท่านั้น เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียไม่เท่าผู้ใหญ่นั้นเองค่ะ ดังนั้นอาหารเป็นพิษจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันและการดูแลรักษาที่ถูกวิธีค่ะ

อาหารเป็นพิษคืออะไร

อาหารเป็นพิษคือกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ในบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือปรสิต ที่มีการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีโอกาสสูงกว่าในช่วงวัยอื่น เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆเท่ากับช่วงวัยอื่นๆ และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าเช่นกันค่ะ

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตในอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งสามารถปนเปื้อนเชื้อต่างได้ตั้งแต่ระหว่างการเตรียมอาหาร การเก็บรักษา การขนส่งอาหารที่ผ่านการปรุงไม่ถูกวิธีสุอนามัย รวมถึงภาชนะเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนค่ะ  ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ เช่น ซาลโมเนลลา พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คลอสติเดียม โบทูลินัม มักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ดอง เนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ หรือชิเกลล่า พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด เป็นต้น

อาการอาหารเป็นพิษในเด็ก

โดยปกติอาการมักจะเกิดขึ้น 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้นเข้าไป ซึ่งมักแสดงอาการทั่วไปได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและตะคริว ท้องร่วง อาการปวดหัว มีไข้ เป็นต้น อาการที่เกิดจากอาหารเป็นพิษนั้นรุนแรงในเล็กมากกว่าเด็กโตและวัยรุ่นค่ะ

การรักษาอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและจะดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา คุณแม่สามารถดูแลได้เองที่บ้าน ได้แก่

  • ควรให้ลูกดื่มน้ำสะอาดผสมผงเกลือแร่ด้วยการจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์นมจนกว่าอาการท้องร่วงจะหยุด
  • เมื่อลูกรู้สึกหิวให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆแต่สามารถรับประทานได้บ่อย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำอัดลม ฯลฯ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกทานยาแก้ท้องเสีย ยาต้านอาการท้องร่วงอาจทำให้อาการนานขึ้นและผลข้างเคียงสำหรับเด็กอาจรุนแรง

หากพบว่าลูกมีอาการรุนแรงหรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • อาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียล
  • หัวใจเต้นแรง ปัญหาการหายใจ
  • อาการปวดท้องอย่างรุนแรงหลังจากอุจจาระแล้ว
  • อุจจาระเปื้อนเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ตามัวหรือมองเห็นไม่ชัด
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ ได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย เวียนหัว ปากแห้ง กระหายน้ำมาก เป็นต้น
  • ฯลฯ

การป้องกันอาหารเป็นพิษ

ขั้นตอนในการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ควรทำตามหลักปฏิบัติดังนี้

  • ควรสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ หรือผ่านความร้อนเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
  • ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่เตรียมอาหารอยู่เสมอ
  • ปรุงอาหารหรือเก็บอาหารให้ถูกสุขอนามัย  เช่น แยกเก็บเนื้อสดออกจากอาหารชนิดอื่นๆ เป็นต้น
  • ตรวจสอบการใช้งานหรือวันที่บนบรรจุภัณฑ์ก่อนรับประทาน

อาการอาหารเป็นพิษในเด็กไม่เกิดอาการที่ไม่รุนแรงได้ ถ้าคุณแม่สามารถรับมือและดูแลภาวะอาหารเป็นพิษที่ที่ถูกต้องได้ค่ะ และหากพบอาการผิดปกติควรพบแพทย์ทันทีนะคะ