วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ

วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ วัย 2-5 ปี

เมื่อลูกเข้าสู่วัย 2 ปี ขึ้นไปจนถึงวัย 5 ปี จะเป็นวัยที่ลูกกำลังเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และชอบเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวมากที่สุด เพราะลูกจะ ทั้งดื้อ ทั้งซน ไม่เชื่อฟัง ยิ่งห้ามยิ่งทำ เอาแต่ใจ เรียกร้องความสนใจเก่ง หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า วัยทอง 2 ขวบ ซึ่งในเด็กในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความอดทนในการเลี้ยงดู เพราะต้องคอยทำความเข้าใจพร้อมกับสอนลูกเพื่อให้ลูกเข้าใจในการกระทำต่างๆทั้งดีและไม่ดี

การรับมือหรือวิธีการแก้ปัญหาของเด็กดื้อในวัยนี้ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า การดื้อของลูก มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการของเด็ก ซึ่งการที่เด็กในวัยนี้ได้แสดงพฤติกรรมต่อต้านหรือดื้อแพ่งกับพ่อแม่ออกมา เพราะลูกกำลังทดสอบการเรียนรู้ที่ได้จากพ่อแม่ที่ได้สอนหรือกำหนดเอาไว้ ว่าในแต่ละเรื่องมีขอบเขตของการที่จะทำสิ่งนั้นขนาดไหน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสินใจที่สามารถทำสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งทั้งหมดนี้คือพัฒนาการการเจริญเติบโตทางความคิดและจิตใจ ในการตัดสินใจ และใช้เหตุผลด้วยตนเอง ของเด็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องต้องมีความอดทน และทำความเข้าใจ พยายามอธิบายในสิ่งต่างที่ลูกทำอยู่เสมอ เพื่อให้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวของเด็กว่าอันไหนทำแล้วดี อันไหนทำแล้วไม่ดี

สาเหตุที่ทำให้ลูกดื้อ

สาเหตุของเด็กดื้อหลักๆ เกิดจากความเข้าใจผิดในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ หรือการเลี้ยงดูแบบผิดๆ ส่วนมากเป็นการตามใจมากเกินไปและไม่ค่อยมีเวลาเอาใจใส่ลูกเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น เมื่อเวลาที่ลูกเรียกร้องความสนใจโดยการร้อง วีน ก็เข้าไปโอ๋ให้หายในทันที ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะหาก ลูกใช้วิธีนี้ครั้งหนึ่งแล้วครั้งต่อไปก็จะตามมา หรือการเลี้ยงอีกอย่างที่ผิดคือการเลี้ยงด้วยสิ่งของเช่น เงิน โทรศัพท์ ฯลฯ แทนการเลี้ยง หรือตามใจในสิ่งที่ลูกต้องการ เพราะจะทำให้เด็กถูกปลูกฝังความใจที่ผิดว่าเด็กจะคิดว่าเวลาพ่อแม่รักย่อมได้สิ่งตอบแทนเสมอ

วิธีการแก้ไขปัญหาลูกดื้อ

การแก้ไข้ปัญหาลูกดื้อ มีด้วยกัน 5 วิธี

  • การกำหนดเวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือ
    ควรมีการกำหนดในการเล่น เพียงวัน 30 นาที เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม สำหรับเด็กในวัย 2-5 ปี ที่จะอยู่กับหน้าจอ เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต หากให้ลูกดูนานเกินไป อาจจะทำให้ลูก อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น เกิดการซุกซนที่มากขึ้น ดังนั้น ต้องกำหนดเวลาในการเล่นสิ่งเหล่านี้
  • การปล่อยให้เด็กออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านบ้าง
    การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ออกไปวิ่งเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน บ้าง จะทำให้เด็กได้ใช้แรงเผาพลาญพลังงาน ออกกำลังกาย จะเป็นการให้เด็กได้รู้สึกปลดปล่อย ได้สนุกสนาน จะทำให้เป็นการช่วยให้เด็กเวลาทำกิจกรรมภายในบ้าน เด็กจะมีสมาธิที่มากขึ้น และซนดื้อ น้อยลง
  • ทำข้อตกลง หรือตั้งกฏ งดของว่างหรืองดกิจกรรมที่เด็กต้องการ
    ในกรณีที่เด็กแสดงพฤติกรรมดื้อออกมา ให้ทำข้อตกลง หรือกฏ หากไม่ทำตามกฏหรือสัญญาที่กำหนดไว้ ก็จะถูกงดของว่าง หรือ อดทำกินกรรมที่เด็กต้องการ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งให้ลูกทำตามกฏให้ได้ วิธีนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักและเป็นการส่งเสนิมทำตามเงื่อนไขหรือกฏระเบียบทางสังคม
  • อธิบายเหตุผลเมื่อลูกทำผิด อย่างจริงจัง
    ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่ดุและลงโทษลูกเวลาทำผิด แต่ไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงผิด ทำให้เด็กไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองทำว่าผิดอะไร ทำให้เด็กเกิดการต่อต้านในทันที เพราะเกิดจากความน้อยใจพ่อแม่ และอาจทำให้คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ดังนั้น หากลูกทำผิด ต้องอธิบายความผิดของลูกด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของลูก และทำความเข้าใจลูกในความผิด นั้นๆว่าไม่ควรทำแบบนั้นอีก
  • ไม่สนใจ ทำเมินเมื่อลูกทำผิดและเรียกร้องความสนใจ
    หากในกรณีที่ลูกเริ่มโวยวาย อาละวาดอย่างไร้เหตุผล เพื่อเรียกร้องความสนใจ เอาไม่อยู่ ให้ใช้ไม้แข็งในการทำเมิน และใช้สายตาที่ดุ จะทำให้ลูกรูสึกถึงปฏิกริยาของพ่อแม่ในทันที ว่าต้องหยุดทำ ต้องกำชับคนรอบข้างห้ามโอ๋โดยเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้น เวลาพ่อแม่ดุ เด็กก็จะหันไปหาคนที่โอ๋ในทันที ไม่เพียงจะทำให้เด็กไม่เลิกเรียกร้องความสนใจแล้ว ก็อาจทำให้เด็กเสียนิสัยไปถึงในอนาคต วิธีนี้หากทำให้ได้เด็กจะลดความดื้อ และเรียกร้องความสนใจน้อยลง

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยลดพฤติกรรมการดื้อให้ลดลง และง่ายต่อการเลี้ยงดู ปัจจัยหลักของการเลี้ยงดู คือการดูแลเอาใจใส่ ไม่ปล่อยปะละเลย หรือการเลี้ยงลูกแบบพ่อแม่รังแกฉัน เพราะอาจทำให้เด็กโตขึ้นมา และจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสังคม ดังนั้น พ่อแม่คือปัจจัยหลักสำคัญที่จะมอบความรัก มอบสิ่งดีให้กับลูก เพื่อลูกเป็นคนดีของสังคมค่ะ เพราะไม่มีใครเลี้ยงดูลูกได้เท่ากับพ่อแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง