วิธีกระตุ้นน้ำนม

คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ เมื่อหลังคลอดมักมีความกังวลเรื่องน้ำนมไม่พอให้กับลูกน้อย อาจเกิดจากที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การให้นมลูกมาก่อน จึงไม่มั่นใจว่าน้ำนมที่มีในช่วงแรกเพียงพอต่อความต้องการของลูกหรือไม่ ซึ่งตามหลักการแล้วการให้นมลูกตั้งแต่แรกเกิดไปยังลูกมีอายุ 6 เดือนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมอง และยังมีภูมิต้านทานโรคให้กับลูก ที่สำคัญคือการสร้างสายใยระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดี

น้ำนมแม่มีน้อยจริงหรือไม่

น้ำนมของแม่มีน้อยจริง หรือเป็นเพียงความรู้สึกที่คิดไปเอง ในช่วงเวลาที่ลูกร้องหิวนมบ่อยๆ ทำให้คุณแม่มีความกังวลและเข้าใจไปว่านมมีน้อย ซึ่งความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นว่ามีน้ำนมน้อยอย่างที่เข้าใจ และสาเหตุที่มักจะทำให้เข้าใจผิด โดยเรื่องเข้าใจส่วนใหญ่เช่น

เต้านมไม่คัด ทำให้เข้าใจไปว่าน้ำนมมีน้อย ซึ่งการที่เต้านมไม่คัด ที่จริงมาจากที่ร่างกายสามารถปรับการผลิตน้ำนมแม่ได้พอดีกับความต้องการของลูก

ลูกดูดนมแล้วหลับก่อนที่ลูกอิ่ม เมื่อเอาลูกออกจากเต้า ไม่นานก็ตื่นขึ้นมาร้อง ในกรณีนี้ แนะนำให้คุณแม่ลองสังเกตุว่า หากลูกหลับขณะที่กำลังกินนม และคายหัวนมออกมา แสดงว่าลูกอิ่ม แต่ที่ยังไม่คายเนื่องจากลูกแค่อมหัวนมไว้ หรือแค่ดูดเบาๆ ดังนั้น คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อ โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • ใช้นิ้วชี้ประคองด้านล่างของเต้านม และเขี่ยริมฝีปากลูกเบาๆ เพื่อกระตุ้นการดูดต่อ
  • ใช้มือบีบเต้านม เพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะจนกว่าลูกจะอิ่ม และจะคายปากไปเอง แต่หากทำไปแล้วไม่ได้ผล ก็อาจเกิดจากน้ำนมเริ่มน้อยและไหลช้า ให้ใช้วิธีการเปลี่ยนเต้า และทำในวิธีเดียวกัน
  • หากลูกไม่ยอมตื่นมาดูดต่อ ให้ลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่น และเข้าเต้าเพื่อดูดนมใหม่

สลับเต้าดูดในมื้อเดียวกัน ในสาเหตุดังกล่าวจะทำให้ลูกหิวเร็วเนื่องจากลูกอาจได้รับเพียงน้ำนมส่วนหน้า โดยไม่ได้ส่วนหลังที่จะไขมันมากกว่า ทำให้ลูกหิวเร็ว

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีน้ำนมน้อย

  • ให้ลูกดูดนมเพื่อกระตุ้นการมีน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
  • ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี หรือลูกอมหัวนมได้ไม่ลึกพอ
  • ให้ลูกดูดนมในช่วงแรกไม่บ่อยพอ คือน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาจเกิดจากที่มีการให้นมผสม การดื่มน้ำ หรืออาหารเสริมร่วมก่อนวัยอันสมควร (คือก่อน 6 เดือน) ส่งผลทำให้ลูกอิ่มและไม่ยอมดื่มนมแม่
  • คุณแม่ออกไปทำงานแล้วปั๊มนมให้ลูกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3-4 ชั่วโมง
  • เกิดจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
  • เกิดจากที่คุณแม่กินยาคุมกำเนินชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอด

วิธีกระตุ้นน้ำนม

  • ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ คือเพิ่มความถี่ หรือเพิ่มมื้อนม หากลูกนอนนานกว่า 2-3 ชั่วโมงก็ให้ปลุกลูกขึ้นมาดูด
  • อย่ารอให้เต้านมคัด ให้ทำการให้ลูดดูดหรือปั๊มนมออกมา ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น อีกทั้งหากยิ่งปั๊มหรือลูกกินย่อย จะเป็นการเพิ่มปริมาณไขมันในน้ำนมแม่
  • ให้ลูดดูดนานๆ โดยให้ดูดจนเต้านมนิ่มโดยไม่ต้องจำกัดเวลาในแต่ละข้าง เพราะนอกจากลูกจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมมากขึ้นมากแล้ว นมส่วนหลังเป็นส่วนที่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักของลูกด้วย
  • เมื่อลูกมีอาการดูดช้า หรือง่วง ให้ทำการเปลี่ยนเต้านม หรืออุ้มลูกเรอ หรือไม่ก็เปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อปลุกลุกขึ้นมาดูดนม
  • เวลาให้นมลูกให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท หรือบรรยากาศดี หรือไม่เปิดเพลงฟังในระหว่างการให้นมลูก เพื่อให้ร่างกายหลังสารความสุขออกมา จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมาได้ดีอีกทาง
  • ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงความเครียด และมีความมุ่งมั่นในการให้นมลูก
  • ให้ลูกดูดนมจากเต้าเท่านั้น ไม่ใช่จากขวดนมเพราะมีเพียงลูกเท่านั้นที่จะดูดกระตุ้นให้น้ำนมแม่มีมากขึ้น
  • ขณะที่ปั๊มนม ทำสมาธิ ทำจิตใจให้สบาย หรือหาหนังสือ ฟังเพลงควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้ร่างกายมีปฎิกริยาให้น้ำนมพุ้งได้ง่าย
  • ทานอาหาร ผัก หรือสมุนไพร ที่ช่วยกระตุ้นการมีน้ำนม
  • นวดเต้า และหัวนมเบาๆ ช่วยให้น้ำนมพุ่ง ทำให้ปั๊มนมออกมาได้ง่าย ช่วยลดอาการท่อน้ำนมตันหรือเต้านมเป็นไต หรือใช้วิธีการประคบร้อนเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้นก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here