การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการตรวจสุขภาพเป็นระยะตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด เพื่อตรวจหาและเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์คุณต้องได้รับการตรวจสอบหลายอย่างทั้งสุขภาของคุณและของลูกน้อยในครรภ์ที่กำลังเติบโต รวมถึงน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต การตรวจเหล่านี้จะกำหนดสุขภาพที่ดีของลูกน้อยของคุณ เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักมากหรือลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์กว่าอายุครรภ์ อาจส่งผลเสียความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

ลูกในท้องตัวใหญ่มากกว่าอายุครรภ์คืออะไร

LGA (large for gestational age) เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับทารกที่คลอดออกมาโดยมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ หรือ ภาวะทารกตัวโต (Macrosomia) ซึ่งจะใช้เรียกสำหรับทารกอยู่ในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่าเกือบ 90% ของทารกทั้งหมดที่เกิดในอายุครรภ์เท่ากัน โดยเฉลี่ยแล้วทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมเมื่อแรกเกิดค่ะ 

ปัจจัยที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักเกินหรือตัวใหญ่

อาจมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ทารกเป็น LGA สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ทารกเป็น LGA ตั้งแต่แรกเกิดคือหากตรวจพบว่ามารดาเป็นเบาหวาน หากมารดามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถส่งต่อน้ำตาลนี้ไปยังทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโตได้ เป็นผลให้ทารกสร้างอินซูลินและน้ำตาลส่วนเกิน และอินซูลินทำให้การเจริญเติบโตเร็วขึ้นมีไขมันสะสม 

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ในทารก ได้แก่

  • คลอดยากซึ่งอาจเป็นอันตรายทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อย
  • ทารกที่คลอดออกมาตัวใหญ่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาในการหายใจ หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคทางเดินหายใจค่ะ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะคลอด
  • อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการคลอด เช่น เส้นประสาทที่แขนเสียหายหรือกระดูกคอหัก
  • ทารกแรกเกิดที่มีขนาดตัวใหญ่ มักจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากเกินไปและอาจส่งผลให้เกิดโรคดีซ่านในขณะคลอด

การป้องกันภาวะทารกในครรภ์ตัวใหญ่

การดูแลก่อนคลอดอย่างเหมาะสมและการตรวจสุขภาพเป็นประจำมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตั้งครรภ์ทั้งหมดค่ะ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้ทราบการเจริญเติบโตของทารกและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here