หัวข้อที่น่าสนใจ
“คุณทราบหรือไม่ว่า ประเทศไทยของเราติดอันดับเด็กถูกรังแกภายในโรงเรียนเป็นอันดับ 2 ของโลก รองมาจากประเทศญี่ปุ่น
การแกล้งกันภายในโรงเรียน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และแถมยังจะมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะในปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลได้ง่าย มีตัวอย่างตนแบบมากมาย ที่เด็กสามารถลอกเรียนแบบได้ บวกกับพ่อแม่มีเวลาที่น้อยและคุณครูก็ดูแลเด็กได้ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นมา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเรื้อรังกันมานาน อัตราการแกล้งก็เริ่มต้นตั้งแต่ระดับอนุบาลไปถึงตอนโต ซึ่งในเด็กบางคนที่ถูกเพื่อนแกล้งจนถึงขั้นเก็บกดสะสม จนอันตรายไปถึงคิดฆ่าตัวตาย อย่างที่ออกข่าวอยู่บ่อยๆ
วิธีการแกล้งมีอะไรบ้าง
รูปแบบของการแกล้งมีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่ในครั้งนี้จะพูดถึงรูปแบบการแกล้งที่พบบ่อย คือ
- การทำร้ายจิตใจ คือ การใช้คำพูดที่รุนแรง มีการใช้ความหยาบคาย ใช้คำพูดที่ดูถูก หรือพฤติกรรมที่ดูถูก เพื่อทำให้ผู้ถูกแกล้งมีความรู้สึกที่แย่ ในรูปแบบนี้พบบ่อยที่สุด
- การแสดงอำนาจเหนือกว่า คือ การชอบแสดงอำนาจของตัวเองกับเพื่อน โดยการ สั่งให้ทำโน่นทำนี่ ใช้ให้เป็นคนรับใช้ หรือให้เพื่อนเป็นด่านหน้าไปหาเรื่องกับคนที่ไม่ชอบ เป็นต้น
- การขมขู่ คือ คือการขู่ที่อาจมาจากการใช้กริยาท่าทาง วางอำนาจ หรืออวดเบ่งว่าตัวเองมีความสามารถหรือคุณสมบัติที่จะสามารถทำร้ายเพื่อนได้
- การทำร้ายร่างกาย การแกล้งแบบนี้อันตรายที่สุด เพราะอาจเกิดความอันตายต่อร่างกาย และพิการได้
- การคว่ำบาตรเพื่อน คือ การยุยงให้เพื่อนในห้องรังเกียจ หรือไม่พูดคุยกับเพื่อนที่ถูกแกล้ง หากใครไปคุยด้วยก็จะโดนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้อาจทำร้ายจิตใจจนปิดกั้นตัวเองไม่ให้รักใคร หรือเชื่อใจใคร
พฤติกรรมของลูกที่แสดงถึงว่าลูกโดนแกล้ง
หากลูกมีพฤติกรรมดังต่อนี้ ลูกของคุณอาจมีเรื่องที่ทำร้ายจิตใจ หรืออาจโดนแกล้งจากที่โรงเรียน
- ลูกมีกริยาซึมเศร้า
- ลูกเบื่ออาหาร ไม่ยอมกินอาหารอย่างไม่มีสาเหตุ
- ลูกไม่อยากไปโรงเรียน
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่เหมือนเดิม
- ของหายบ่อยๆ
- เสื้อผ้าเหมือนถูกฉีกขาด
- มีอาการปวดท้อง
- ฝันร้าย หรือนอนไม่หลับ
- ลูกปัสสาวะรดที่นอน
- มีความกังวลการแตกแยก
เมื่อลูกโดนแกล้ง ควรแก้ปัญหาอย่างไร และรับมืออย่างไร
เมื่อลูกโดนแกล้ง โดนรังแก ในเด็กบางคนที่สามารถบอกเล่นให้พ่อแม่ หรือคุณครูฟังก็จะรับความช่วยเหลือ หรือดูแลจากผู้ใหญ่ แต่ในเด็กบางคน ไม่ยอมเล่าถึงปัญหา เลือกที่จะเก็บไว้เพียงลำพัง จะพยายามแก้ไขด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่ก็มักทำไม่สำเร็จ จนส่งผลให้มีผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิต เช่น เด็กบางคนมีความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียน ทำให้ผลการเรียนแย่ลง หรือบางรายร้ายแรงคือทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
การแกล้งกันภายในโรงเรียน นั้น เด็กที่ถูกแกล้ง หรือเด็กที่เป็นคนแกล้ง มักจะมีปัญหาในตัวเอง โดยผลวิจัยพบว่า เด็กที่เป็นเหยื่อถูกกระทำมันเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง ขาดทักษาการเข้าสังคม ขาดทักษะการสื่อสารกับคนรอบๆข้าง มีความกังวลสูง หรือมีสุขภาพที่อ่อนแอ ซึ่งในบางครั้งมีการแสดงปฏิกริยาตอบโต้มาก จึงทำให้คนอื่นสามารถรังแกได้ ส่วนสำหรับเด็กที่รังแก แกล้งคนอื่น จะพบว่าจะมีลักษณะปัญหาคล้ายกับเด็กที่ถูกแกล้ง ซึงอาจเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวชอบการใช้ความรุนแรง ซึ่งตัวอย่างพฤติกรรมไม่ดีต่อเด็ก หรือครอบครัวขาดความเป็นระเบียน อีกอย่างแวดล้อมสังคมก็เป็นส่วนสำคัญ เช่น การได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน และเมื่อเด็กแสดงอำนาจโดยการแกล้งคนอื่น สำหรับจิตใจ เด็กที่มีการใช้คามรุนแรงกับผู้อื่น เพื่อให้ได้รับการยกย่องและรู้สึกดีมั่นใจในตัวเอง แต่สำหรับบางรายอาจมีความผิดปกติทางด้านทางจิต ที่ต้องการการช่วยเหลือเช่นเดียวกัน
คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อลูกถูกรังแก
- ประเมินปัญหาของเด็กที่เป็นเป้าของการรังแก คืออะไร และก็พัฒนาทักษะที่บกพร่อง เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษาการเข้าสังคม เป็นต้น
- พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปแก้ปัญหาของลูกโดยตรง แต่ควรทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่สำหรับหากมีการใช้ความรุนแรงกันเกิดขึ้น และเด็กไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พ่อแม่จึงค่อยเข้าไปช่วยในการจัดการ
- ควรให้เด็กได้เล่นเรื่อง เพื่อให้ได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจออกม ให้ผู้ใหญ่ได้รับฟัง และแสดงความเห็นใจ และให้คำแนะนำหลังจากที่เด็กได้ระบายออกมา
คำแนะนำของเด็กที่โดนแกล้ง
- พัฒนาทักษะการเข้าสังคม ให้ลูกได้เข้าหากลุ่มที่ไม่ชอบการรังแก เพื่อทำความรู้จักและอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อลดความเสี่ยงการถูกรังแก
- บอกลูกให้หลีกเลี่ยงไปในที่ลับตาคน เพื่อลดการถูกรุมแกล้ง
- ให้หลบหลีกเลี่ยงกลุ่มเด็กที่ชอบรังแก
- แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อการถูกแกล้งมากจาเกินไป เพราะหากยิ่งสงบก็ยิ่งถูกรังแก
- พัฒนาทักษะการต่อสู้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้า เช่น การฝึกการต้องหน้า สบตา ฝึกการใช้น้ำเสียงที่หนักแน่น ฝึกการป้องกันตัว และเมื่อการโดนแกล้ง ก็ควรแจ้งให้คุณครูทราบทุกครั้ง ถึงแม้ว่าจะถูกล้อว่า ขี้ฟ้อง หรือถูกขู่
บทบาทสำคัญของโรงเรียนและคุณครู
- ต้องไม่ปล่อยปะละเลยกับการรังแกกัน คุณครูควรรับฟังเหตุผลของเด็ก และให้การช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กที่ถูกแกล้ง ให้รู้สึกมั่นใจว่าคุณครูสามารถปกป้องได้
- จัดการปัญหาต่างๆ เช่น การสั่งสอนเด็กที่ชอบรังแกคนอื่น ให้รู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้ เป็นการกระทำที่ได้ดี
- ให้การช่วยเหลือ ทั้งในเด็กที่ถูกแกล้ง และเด็กที่ชอบแกล้ง และช่วยพัฒนาทักษะต่างๆที่บกพร่องไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 4 ข้อเสียการแกล้งเด็ก พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อเด็ก
- ลูกเป็นเด็กเกเร รับมือและป้องกันอย่างไร
- การถูกบูลลี่ ไม่ใช่เรื่องปกติ