ลูกแหวะนม

ลูกแหวะนม หรือการสำรอกนม จะพบบ่อยในเด็กทารกแรกเกิด มักจะเกิดขึ้นหลังที่ลูกอิ่มนม และเรอออกมา จะแหวะออกมามากน้อยก็ขึ้นอยู่ของเด็กแต่ละคน ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้ถือว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด และไม่มีผลต่อสารอาหารที่ลูกได้รับ แต่หากลูกเป็นบ่อยก็ควรสงสัยและหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร

สาเหตุของลูกแหวะนม

สาเหตุลูกสำรอกนม

อาการแหวะนม เป็นอาการที่พบโดยทั่วไป ซึ่งการแหวะนมสาเหตุที่เจอบ่อย คือการที่ลูกกินนมมากจนเกินไป หรือที่เรียกว่า overfeeding คือการกินนมบ่อยมากว่าทุกๆ 2-3 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ลูกสำรอกออกมาบ่อยและมีอาการลูกท้องป่องร่วมด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากที่กล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารของลูก ยังทำงานไม่สมบูรณ์ รูดปิดไม่สนิท อีกทั้งนมคือของเหลวที่สามารถไหลผ่านย้อนกลับมาได้ง่าย ดังนั้น คุณแม่ควรสังเกตอาการว่าหากลูกสำรอกแหวะนมออกมา แล้วไม่มีอะไรออกมาร่วมด้วยเช่นเลือด หรือของเหลวที่เป็นสีเหลือง และมีกลิ่น ก็ถือว่าเป็นแค่การแหวะนมทั่วไป แต่หากมีอย่ากอื่นที่กล่าวมาออกมาด้วยควรรีบพาลูกพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน

สาเหตุอื่นๆของการแหวะนม

  • คุณแม่จับลูกเรอแล้วลมออกมาไม่หมด ก็จะทำให้ลูกเรออกมาอีกครั้งและสำรอกนมออกมา
  • ลูกมีอาการอารมณ์ที่ไม่ดี หรือหลังจากลูกร้องไห้โยเยเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้ลมในท้องลูกมากขึ้น และมีอาการแน่นท้อง อึดอัด
  • ลูกไม่สบาย ลูกเป็นไข้หวัด ซึ่งจะเป็นอการที่พบบ่อยในเด็กทารก หรือลูกได้กินนมบูด ส่งผลทำให้ลูกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ และมีอาการอาเจียรออกมาง่าย
  • ลูกมีอาหารลำไส้อุดตัน และมีอาการแพ้นม

อาการการแหวะนมลูก

อาการเด็กสำรอกนม
  • ลูกจะมีอาการไม่สบายท้อง นอนบิดไปมา
  • ลูกร้องไห้หนักมาก หลังจากที่ลูกกินนมเสร็จ
  • ลูกจะมีเสียงคลืดคลาดที่เกิดจากที่นมล้นมาที่คอ เหมือนมีเสมหะ
  • จะมีอาการสำรอกนมออกมาทั้งทางปากและจมูก
  • นมที่สำรอกออกมาจะมีลักษณะเป็นลิ้มคล้ายเต้าหู้

ซึ่งอาการดังกล่าวที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะหายไปหากลูกได้รับนมที่เหมาะสมตามวัย ซึ่งจะแบ่งได้คือ สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือนไม่ควรให้นมถี่เกินกว่า 8-10 มื้อต่อวัน และสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนไปถึง 6 เดือน ไม่ควรให้เกิน 6 มื้อต่อวัน ซึ่งหลังจากที่ลูกแหวะนมแล้วลูกยังที่สามารถดูดนมได้ตามปกติ อารมณ์ลูกดี ถือว่าเป็นอาการที่ปกติ คุณแม่ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

เมื่อลูกแหวะนมบ่อย ควรทำอย่างไร

  • ทำการจับลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ซึ่งมีด้วยกัน 3 ท่า คือ จับเรอด้วยการพาดบ่า จับเรอโดยการนั่งตัก และการจับเรอด้วยการนอนคว่ำบนตัก
  • คุณแม่ไม่ควรกดท้องลูก หรือทำการเปลี่ยนผ้าอ้อมตอนที่ลูกกินอิ่ม
  • ในกรณีที่ลูกแหวะนมออกมาหลังจากที่คุณแม่ทำการไล่ลมให้ลูกเรอ หรือแหวะก่อนการไล่ลมคุณแม่ต้องสังเกตุสาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไร เช่น ลูกดูดนมเร็วเกินไป หรือดูดนมนานเกินไป หรือมีลมเข้าท้องลูกมากเกินไป ก็ให้คุณแม่ทำการไล่ลมลูกเป็นระยะ คือ การเปลี่ยนข้างเต้านม ก็ให้ทำการไล่ลมก่อนเปลี่ยนข้าง แล้วค่อยให้ลูกกินต่อ และก็ทำการไล่ลมก่อนลูกนอน
  • เมื่อลูกเข้านอน คุณแม่ควรให้ลูกนอนในลักษณะที่หัวลูกสูงกว่าลำตัว และทำการจับลูกนอนตะแคงโดยใช้เวลาครึ่งชั่วโมง เพื่อให้บริเวณส่วนบนของกระเพาะอาหารอยู่ด้านช้ายให้ลูกสูงกว่าส่วนอื่น เพื่อทำให้นมได้ไหลย้อนขึ้นมาได้ยากขึ้น

วิธีการลดอาการลูกแหวะ หรือสำรอกนมออกมา

ป้องกันเด็กแหวะนม
  1. พยายามอย่าให้ลูกกินนมมากเกินไป ควรให้ปริมาณที่พอเหมาะสมตามวัยของลูก และเวลากินควรให้ลูกกินนมให้ตรงต่อเวลา เพราะความหิวของลูกอาจส่งผมให้ลูกกินนมเร็วเกินไป หรือมากเกินไป
  2. จับลูกเรอเป็นระยะ ทุกมื้อหลังกินนมเสร็จ
  3. หากลูกกินนมขวด คุณแม่ต้องใช้ขวดนมที่เหมาะสมไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะถ้าใหญ่จนเกินไป อาจทำให้ลมเข้ากระเพาะลูกมากเกินไป และขนาดของจุกนมควรมีขนาดที่เหมาะสมไม่ใหญ่ไปหรือเล็กไป วิธีที่ให้ลูกกินนมขวดที่ถูกต้อง คือให้ลูกกินนมครั้งละครึ่ง เช่น ลูกต้องกิน 4 ออนซ์ ก็ให้กินเพียง 2 ออนซ์ และทำการจับลูกเรอ แล้วค่อยกินอีก 2 ออนซ์ที่เหลือ และทำการจับเรออีกครั้งหลังกินอื่ม
  4. หากลูกกินนมแม่ แล้วต้องการเปลี่ยนเต้าข้าง ให้ทำการจับลูกเรอก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนข้างเต้า
  5. เมื่อลูกเข้านอน ให้จับลูกนอนให้หัวสูงกว่าลำตัว และจับลูกตะแคงให้ด้านซ้ายขึ้นเพื่อ ให้กระเพาะอาหารอยู่ด้านบน ให้เวลาประมาณ 30 นาที เพื่อป้องกันอาการนมไหลย้อนขึ้นมา

ถึงแม้ว่าอาการแหวะหรือการสำรอกนม จะเป็นเพียงเรื่องปกติของเด็กทารก และสามารถหายเองได้ แต่หากลูกมีอาการแหวะนมบ่อยเกินไป คุณแม่ก็ควรตระหนัก และหาสาเหตุของปัญหา โดยเฉพาะโรคกรดไหลย้อนในเด็ก ดังนั้น การสังเกตอาการและลองหาวิธีป้องกัน ลูกก็จะแหวะนมน้อยลง หรือหากลองแล้วอาการแหวะนมของลูกยังไม่ดีขึ้น หรือพบว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ไม่ปกติตามขั้นต้นที่ได้กล่าวมา แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อดูอาการและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here