ปัญหาลูกกินยายากก็ว่าเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่กังวลใจแล้ว ปัญหาลูกกินยาแล้วอาเจียรก็อีกปัญหาให้คุณแม่กังวลได้มากกว่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย หลายสาเหตุ ในครั้งนี้ จะมาไขข้อสงสัยและแนวทางการแก้ไขปัญหาลูกอาเจียรหลังกินยากันค่ะ
สาเหตุของปัญหาลูกอ้วกหลังกินยา

ลูกกินยาแล้วอ๊วก ทํายังไงดี เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่มีความกังวล และเป็นข้อสงสัย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ปัญหาการที่ลูกอาเจียรหลังการกินยา เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง และเป็นซ้ำได้ ซึ่งการอาเจียรมักเกิดจากที่ลูกร้องไห้เพราะไม่ชอบรสชาติขมของยา ลูกจะแสดงอาการต่อต้านโดยการพยายามอาเจียรออกมา หรืออีกสาเหตุเกิดจากที่คุณพ่อคุณแม่ป้อนยาลูกผิดวิธี ป้อนไม่ดี คือ การป้อนยาไปโดนโคนลิ้นของลูกทำให้เกิดการคย้อนยาออกมาโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดการอาเจียร ซึ่งการแพทย์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า รีเฟร็กซ์การขย้อน
สาเหตุอื่นๆ
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ทานเข้าไป ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกอ้วกจะมาจากกลุ่มยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ควรไปขอรับคำแนะนำจากแพทย์
- ยาที่ทานเข้าไป อาจไปทำการระคายเคืองกระเพาะอาหารของลูกซึ่งส่วนใหญ่อาจมาจากยาแก้ปวดในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ควรไปขอรับคำแนะนำจากแพทย์
ลูกอ้วกยาออกมาต้องป้อนซ้ำหรือไม่
โดยทั่วไปหากลูกน้อยไม่ได้เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการดูดซึมหรือการย่อยอาหาร เช่น โรคไวรัสลงกระเพาะ ปกติแล้วหากลูกกินยาเข้าไปแล้ว 30 นาที ร่างกายจะการดูดซึมยาไปแล้ว ดังนั้น หากลูกมีอาการอาเจียรหลังจากกินยาไปแล้ว 30 นาที คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนใหม่ ในกรณีที่คุณแม่ต้องป้อนยาให้ลูกใหม่ คือ
- ลูกเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ร่างกายยังไม่ดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ข้อสังเกตุคือหากเห็นเศษอาหารที่กินมามาก่อนการอาเจียรมานานหลายชั่วโมงออกมา คุณแม่ก็อาจจะป้อนยาลูกซ้ำ แต่ก็ต้องลดขนาดยาลงมาครึ่งหนึ่ง
- หรือในกรณีที่ลูกอาเจียรออกมาในทันทีหลังกินยา หรืออาเจียรออกมาหลังกินยาแต่ไม่เกิน 30 นาที แต่ก็ป้อนยาในปริมาณที่ลดลงมาครึ้งหนึ่ง
การป้อนยาใหม่เป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนเพราะการป้อยยาใหม่มันมีผลต่อผลข้างเคียงที่ลูกได้รับยาในปริมาณที่มากเกินไป หรือหากได้รับยาที่น้อยเกินไปก็อาจส่งผลให้ลูกไม่หายจากโรค ไม่เพียงเท่านั้นก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยไม่ใช่เหตุ
วิธีป้องกันการอาเจียรหลังการป้อนยา

อาการอาเจียรหลังการป้อนยาเกิดมาจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ก็มาจากพฤติกรรมการต่อต้านของลูกที่ไม่ชอบรสชาติของกลิ่นของยา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มีวิธีการป้องกันการอาเจียรของลูกหลังกินยาได้ดังนี้
เปลี่ยนรสชาติของยา
ก่อนอื่นต้องเช็คก่อนว่ายานั้นสามารถผสมอย่างอื่นแล้วไม่มีผลต่อตัวหรือไม่ การเปลี่ยนรสชาติยยาเป็นวิธีที่นิยมทำกันเปลี่ยนจากรสขมเป็นรสหวาน ส่วนใหญ่จะผสมกับน้ำหวาน
ชวนลูกเล่นในขณะป้อนยา และป้อนด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
ในขณะที่กำลังป้อนยา คุณแม่อาจจะมีการหลอกล่อ หรือชวนลูกเล่นเพื่อเบี่ยงเบน แต่หากลูกรู้เรื่องก็ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจ ไม่ควรโกหก บังคับ หรือขมขู่ เพราะอาจทำให้ลูกกินยายากมากขึ้นไปอีก
หาอุปกรณ์เสริมช่วยการป้อนยา
ส่วนใหญ่เพื่อความแม่นยำในปริมาณของยา และง่ายต่อการป้อนยาลูก ส่วนใหญ่จะใช้หลอดสลิงฉีดยา หรือในกรณีที่ใช้ยาภายนอกก็หาอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม เช่น หลอดหยด แต่หากยากินมีรสชาติหวานอยู่แล้วก็สามารถใช้ช้อนได้
ท่าป้อนยา
คำแนะนำคืออย่าป้อนยาในท่านอน เพราะลูกอาจจะกลืนยาไม่ทันและสำลักยาออกมา ควรป้อนยาให้ศีรษะอยู่สูงขึ้นมา
เตรียมน้ำให้พร้อมหลังการป้อนยา
หลังจากที่คุณแม่ป้อนยาแล้ว ให้ป้อนน้ำตามเล็กน้อย เพราะยาที่มีรสหวานหรือเป็นน้ำเชื่อมอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอลูกได้
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกจะอาเจียรออกมา คืออาการต่อต้านยาที่รสชาติที่ไม่ชอบ และการป้อนยาลูกที่ไม่ดี ทำให้ลูกมีอาการอาเจียรออกมา ดังนั้น การเปลี่ยนรสชาติ กับท่าการป้อนยาจึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดีที่สุด แต่หากมาจากกรณีอื่น ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์เป็นทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง