ลูกสมาธิสั้น

ลูกสมาธิสั้น รักษาอย่างไร

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งลักษณะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุลูกง่ายๆ คือ อารมณ์หุนหันพลันแล่น ซน จะอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ มีความทำอะไรแล้ววู่วาม ซึ่งอาการซนและหุนหันพลันแล่น เป็นอาการเด่นที่พบในเด็กได้มากที่สุด อาการทั้งหมดดังกล่าวที่กล่าวมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจจะส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตของลูกได้ในอนาคต

อัตราของเด็กสมาธิสั้นในประเทศไทยอยู่ 3-5 % ของเด็กปกติทั่วไปในวัยเรียน โรคสมาธิสั้น จะแสดงอาการเมื่อลูกเข้าสู่อายุ 7 ขวบ ขึ้นไป

ลูกสมาธิสั้น อาการเป็นอย่างไร

อาการเด็กสมาธิสั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 คือ เด็กขาดสมาธิ

  • เด็กจะไม่สามาถทำงานที่พ่อแม่หรือคุณครูสั่งได้สำเร็จ
  • จดจ่อกับการเล่นหรือทำงานน้อยมาก
  • เวลาที่คุยจะให้ความสนใจในระหว่างการสนทนาน้อยมาก
  • เด็กจะทำงานที่คุณครูหรือพ่อแม่สั่งผิดพลาดบ่อย ไม่ค่อยตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดในงานน้อย
  • ทำอะไรไม่ค่อยจะมีระเบียบ
  • ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สมาธิ หรือมีการวิเคราะห์วางแผน
  • ขี้ลืม ชอบทำอุปกรณ์การเรียนหายบ่อย
  • ไม่จดจ่อกับงาน วอกแวกบ่อย

กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีอาการซุกซน การควบคุมตัวเองต่ำ

  • ชอบยุกยิก ไม่อยู่นิ่ง
  • ไม่ค่อยชอบอยู่กับที่
  • ชอบปีนป่าย หรือวิ่งไปมา
  • ชอบพูด พูดมาก พูดไม่หยุด
  • ชอบเล่นเสียงดัง
  • เป็นเด็กที่ตื่นเต้นง่าย หรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • ชอบตอบคำถาม ในขณะยังพูดคำถามไม่หมด
  • ไม่ชอบรอ
  • ชอบพูดแทรกเวลาคนอื่นพูด

ทั้ง 2 กลุ่มนี้ หากลูกคุณเป็นลักษณะดังกล่าว เกิน 6 ข้อ ควรรีบทำการรักษา เพื่อไม่ให้เป็นผลกระทบต่อการเรียนหรือการใช้ชีวิตในอนาคต

ลูกสมาธิสั้น สาเหตุเกิดจาก

สาเหตุของเด็กสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีในสมองบางตัว ซึ่งกรรมพันธ์ุก็เป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่ทำให้เด็กสมาธิสั้น ส่วนการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นเพียงปัจจัยรองลงมาที่ทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็กจะดีขึ้นหรือแย่ลง ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีขาดสารอาหาร หรือคุณแม่ที่ชอบดูดบุหรี่ ชอบดื่มแอลกอฮอร์ หรืออยู่ในแวดล้อมที่มีสารพิษ อย่างเช่น ตะกั่ว เป็นต้น จะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นสูงถึง 30-40% และยังส่งผลไปถึงความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้ ร่วมด้วย

กลุ่มเด็กที่สมาธิสั้น ประมาณ 20-30% ของเด็กทีสมาธิสั้น ทั้งหมด มีโอกาสหาย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะสามารถใช้ชีวิต หรือเรียน ทำงาน ได้อย่างปกติโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตามเด็กส่วนใหญ่ที่สมาธิสั้น จะยังมีความบกพร่องทางสมาธิอยู่ แต่ความซนอาจจะลดลงมา แต่ก็ยังคงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะจะมีผลต่อการเรียน การทำงาน หรือเข้าสังคมต่อผู้อื่น

วิธีการรักษาลูกสมาธิสั้น

การรักษาลูกสมาธิสั้นจะรักษาด้วย 4 วิธี ดังนี้

  • ให้ความรู้ให้กับคุณพ่อคุณแม่ และครู ของเด็ก ถึงการดำเนินการของโรค การรับมือ การรักษา และการป้องกันโรคสมาธิสั้น
  • การรักษาโดยการใช้ยา
  • การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กับเด็ก และพ่อแม่
  • ให้คำแนะนำช่วยเหลือทางด้านการเรียน และการใช้ชีวิต

คุณครูช่วยเด็กที่สมาธิสั้นได้ ดังนี้

  • จัดที่นั่งเด็กที่สมาธิสั้นไว้ข้างหน้า หรือใกล้คุณครู เพื่อควบคุมพฤติกรรมการเรียนของเด็ก
  • ไม่จัดที่นั่งของเด็กไว้ใกล้หน้าต่างหรือประตู
  • สั่งการบ้านหรือการงานที่ต้องให้เด็กทำอย่างชัดเจนบนกระดานดำ
  • ตรวจสอบสมุดจดการบ้านหรืองานที่ต้องทำ เพื่อดูว่าเด็กจดงานหรือการบ้านไปครบถ้วนหรือไม่
  • อย่าสั่งงานหรือการบ้านเด็กมาจนเกินไปให้เด็กทำเสร็จไปทีละอย่าง
  • ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่ใช้แรงควบคู่กับการทำงานอื่นที่ใช้สมอง เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเบื่อกับการเรียนได้ง่าย
  • กระตุ้นเด็กโดยการชมเด็กหรือให้รางวัลกับเด็กหากเด็กทำดี ทำเก่ง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กอยากเรียน
  • หลีกเลี่ยงการทำโทษรุนแรง หรือทำร้ายจิตใจเด็ก ควรทำโทษเด็ก โดยใช้วิธีที่นุ่มนวลอย่างเช่น หักคะแนน หรือหากต้องการว่ากล่าวตักเตือนควรตักเตือนโดยเป็นการส่วนตัวระหว่างเด็กที่ทำผิดกับคุณครูเท่านั้น
  • ควรให้เวลาเด็กที่เป็นสมาธิสั้นมากขึ้น ในการสอบ