ลูกผายลมบ่อย เป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาจมีหลายสาเหตุจากที่ง่ายที่สุดไปจนถึงซับซ้อนที่สุด อย่างไรก็ตามการผายลมในทารกไม่ได้หมายความว่าทารกป่วย แต่แสดงถึงว่าลูกน้อยของคุณมีลักษณะของลมและก๊าซที่ติดอยู่ภายในค่ะ และอย่างไรก็ตามลมหรือก๊าซในท้องอาจส่งผลให้ลูกของคุณมีอาการปวดท้อง หรือความทุกข์ทรมานจากอาการจุกเสียด
ปัจจัยทำให้ลูกผายลมบ่อย มีดังนี้
- Aerophagia หรือการกลืนอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เด็กทารกมักเกิดจากการกลืนอากาศระหว่างดูดนม หัวเราะและร้องไห้ เป็นต้น
- อาหารไม่ย่อย เมื่ออาหารที่ไม่ได้ย่อยสลายลงก๊าซจะถูกสะสมค่ะ
- การกระตุ้น เมื่อทารกได้รับความเครียดเนื่องจากเสียงดัง แสงไฟ การสัมผัสคนแปลกหน้า หรือผู้มาเยี่ยม เป็นต้น จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นมากเกินไป อาจส่งผลให้มีปัญหาในการนอนหลับในเวลากลางวันหรือกลางคืน
- การกินมากเกินไป เมื่อทารกกินมากเกินไปมันจะส่งผลต่อการตอบสนองของระบบย่อยอาหารในร่างกายมากขึ้น สิ่งนี้จะรบกวนระบบย่อยอาหารและทำให้กระเพาะอาหารของทารกไม่สบายเป็นผลให้มีการก่อตัวของก๊าซ
- การแพ้แลคโตส หรือการขาดแลคโตสชั่วคราว อาจทำให้เกิดก๊าซเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตแลคเตสเพียงพอที่จะทำลายน้ำตาล เมื่อเดินทางไปยังลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการหมักและเปลี่ยนเป็นแก๊สได้ค่ะ
- การให้นมบุตรที่ไม่ถูกต้อง อาจเป็นสาเหตุให้กลืนอากาศจำนวนมากส่งผลให้ให้เกิดก๊าซมากเกินไปค่ะ
เคล็ดลับดูแลลูกน้อยให้สบายท้อง
เคล็ดลับดูแลลูกน้อยให้สบายท้อง ลดอาการลูกท้องอืด จุกเสียด หากลูกผายลมบ่อย อยู่ตลอดเวลามีดังนี้
- การนวดหน้าท้องของลูกน้อยเบาๆ เป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกาจากด้านขวาใต้กระดูกซี่โครงไปทางซ้าย ซึ่งจะทำให้ฟองก๊าซเคลื่อนที่ไปตามทางเดินอาหาร
- เรอ หลังจากกินนมเสร็จแล้วควรให้ลูกของคุณเรา ด้วยการลูบหลังเบาๆเนื่องจากการทำเรอจะช่วยกำจัดแก๊สได้ค่ะ
- การถีบหรือการปั่นจักรยานอากาศ ด้วยการวางลูกน้อยของคุณบนพื้นผิวที่เรียบมั่นคง จากนั้นให้อุ้มเท้าทารกและค่อยๆขยับไปมาในลักษณะถีบ จากนั้นงอขาลูกน้อยของคุณไปทางหน้าอก ทำซ้ำ 2-3 ครั้งค่ะ
- อาบน้ำอุ่น การอาบน้ำอุ่นช่วยในการผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดแก๊สได้ค่ะ
- โปรไบโอติก ในกรณีของเด็กโตคุณอาจให้โปรไบโอติก สามารถรักษาอาการจุกเสียดซึ่งอาจช่วยในการบรรเทาแก๊สโดยช่วยรักษาแบคทีเรียที่ดีในระบบย่อยอาหาร
ดังนั้นการผายลมบ่อยๆจึงเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะการผายลมเป็นการช่วยขับลมภายในช่องท้อง แต่หากไม่มีการระบายออกมาอาจทำให้เกิดการจุกเสียด ท้องอืด ไม่สบายตัวและร้องไห้งอแงได้ค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกได้เราหรือผายลมได้ค่ะ เพื่อช่วยลดอาการท้องอืดให้ลูกได้ค่ะ
บทความเกี่ยวข้องลูกผายลมบ่อย