ลูกนอนกรน

ลูกนอนกรนเป็นอันตรายหรือไม่

ลูกนอนกรนเป็นอันตรายหรือไม่

สวัสดีค่ะ เด็กๆบ้านไหนนอนกรนบ้างเอ่ย วันนี้เราจะมาไขปริศนาการนอนของเด็กๆกันค่ะ ลูกนอนกรนหายใจเสียดังส่งผลเสียต่อตัวเด็กหรือไม่และมีวิธีแก้ไขปัญหาการนอนกรนอย่างไร ตามแอดมินมาเลยค่ะ

ภาวะนอนกรนในเด็ก คือลักษณะการหายใจเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ โดยพบว่าในปัจจุบันเด็กมีภาวะการนอนกรนที่มีอันตรายมากขึ้นถึง 10% จากเด็ก 20% และเด็กที่สุขภาพดีมากมีแค่ 2% เท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุ 2 – 6 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้จะมีต่อมทอมซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย ซึ่งจะทำให้คุณภาพการนอนหลับของเด็กต่ำลง ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ รวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

สาเหตุการนอนกรนในเด็ก
สาเหตุการนอนกรนในเด็ก

สาเหตุของการนอนกรนในเด็กพบหลายสาเหตุด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • เด็กมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต จนทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจของเด็ก เกิดการสั่นสะเทือนของโครงสร้างระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดเสียงกรน
  • อาการแน่นจมูกเรื้อรังหรือจมูกอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น รวมถึงมีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง
  • ความผิดปกติแต่กำเนิดของโครงกระดูกหน้า เช่น เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เด็กที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จนทำให้ไขมันรอบคอ กดทับทางเดินหายใจ
  • พันธุกรรม โดยที่พ่อหรือแม่ของเด็กมีอาการนอนกรนด้วยเช่นกัน

การนอนกรนในเด็กเป็นอันตรายหรือไม่ และส่งผลเสียอย่างไร
การนอนกรน หากเกิดการหยุดหายใจในขณะหลับซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย และถ้าปล่อยให้เด็กมีภาวะแบบนี้นานๆ เด็กก็จะมีอาการหัวใจโต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อนอนหลับได้ไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียนรู้ พัฒนาการด้านต่างๆ และการเจริญเติบโตของเด็ก

การดูแลลูกนอนกรนเบื้องต้น

  • ปรับพฤติกรรม การนอนและในเด็กที่มีโรอ้วน เช่น การเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอ ปรับท่อนอนในท่าตะแคงเพื่อลดอาการกรนลง การควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ในกรณีที่เด็กมีอาการน้ำมูกไหล ซึ่งน้ำมูกจะยิ่งเข้าไปอุดตัน ทำให้เด็กหายใจทางจมูกลำบาก คุณพ่อคุณแม่ควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้น้ำมูกเพิ่มขึ้น
  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ที่นอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอัตราการระคายเคืองจมูกที่มากับฝุ่นละออง
  • ในรายที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ควรรีบพาไปแพทย์ทันที เพราะอาจจะต้องใส่เครื่องครอบเพื่อช่วยหายใจตอนนอน
  • ในบางรายอาจต้องมีการให้ยาอื่นๆจะต้องมีคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น

การสังเกตความผิดปกติเมื่อลูกนอนกรน

  • มีอาการหายใจติดขัด หายใจลำบาก หรือหรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะ
  • อาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน หรือเสียงกรนเฮือกเหมือนคนขาดอากาศหายใจ
  • ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน เด็กมีอาการง่วงนอนเหมือนนอนไม่พอง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน หงุดหงิดง่ายและพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยรวดเร็ว
  • เหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง
  • มีปัญหาทางพฤติกรรม สมาธิสั้นอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

วิธีการรักษาภาวะนอนกรนในเด็ก

  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์โตซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยทำให้เกิดการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ออกพบว่าช่วยรักษาการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับได้ถึง 75 – 100%
  • การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศ คือการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย โดยการใช้เครื่องอัดอากาศชนิดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นหน้ากากอันเล็กครอบบริเวณจมูกในระหว่างการนอนหลับ เพื่อประคับประคองไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนบนปิดในขณะหลับ
  • การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ในเด็กที่มีโรคอ้วนน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน แพทย์อาจแนะนำให้ลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย

การนอนกรนในเด็กส่งผลเสียและเป็นอันตรายไม่แพ้กับผู้ใหญ่ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป นอกจากนี้ก็ควรดูแลและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดก็จะทำให้อาการต่างๆ ของโรคดีขึ้นได้ เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญความดูแลและใส่ใจค่ะ