ลูกขี้อาย

ลูกขี้อาย ถือเป็นเรื่องปกติของวัยเด็กเล็ก แต่ก็เป็นอีกปัญหาที่สร้างความกลุ้มใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่น้อย โดยส่วนใหญ่ เด็กขี้อาย มักพบเิริ่มมีอาการขี้อายตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบซึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุความขี้อายของเด็กมีด้วยกันหลายปัจจัย เช่น การที่ลูกไม่ค่อยได้เข้าสังคม มีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวที่ขี้อาย หรือไม่ค่อยกล้าแสดงออก แต่อย่างไรก็ตามความขี้อายของเป็นก็ยังถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นการพัฒนาการอย่างหนึ่ง เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องเผชิญกับคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ที่ไม่คุ้นเคย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าได้ชะล่าใจไป เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยปละละเลยไม่แก้ปัญหาการขี้อายของลูก ก็อาจส่งผลต่อเข้าสังคมให้กับลูกในอนาคตได้

สาเหตุอาการที่ทำให้ลูกขี้อาย

ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้ลูกขี้อายมีด้วยกันอยู่หลายปัจจัย แต่โดยส่วนมากเด็กขี้อายมักเกิดจากที่เด็กขาดความมั่นใจในตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งความไม่มั่นใจในตัวเองมักอาจมีผลมากจาการเลี้ยงดูของพ่อแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวของตัวเด็กเอง ดังนั้น หากลูกมีพฤติกรรมขี้อายมากจนเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรรีบที่จะหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และรีบแก้ไขปัญหาโดยด่วน พร้อมส่งเสริมความมั่นใจให้กับลูก เพื่อให้ลูกกล้าเข้าสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นได้

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่มีความไม่เข้าใจว่า ทำไมลูกถึงมีความขี้อาย ไม่ยอมที่จะเข้าสังคม หรือเข้าร่วมกิจกรรม ไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เป็นวัยเดียวกัน มิหน่ำซ้ำ พ่อแม่ยิ่งฝื้นให้ลูกแสดงออกมากเท่าไร หรือแสดงอาการที่ไม่พอใจที่ลูกไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย พูดตำหนิลูก หรือวิพากษ์วิจารย์ลูกต่อหน้าคนอื่น หรือพูดให้คนอื่นฟัง ก็จะยิ่งทำให้ลูกทวีความขี้อาย ประหม่า มากขึ้นไปอีก และหนักเข้าก็จะทำให้ลูกไม่กล้าที่จะเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นอีก

สาเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกขี้อายที่พบบ่อย มีดังนี้

ลูกกลัวที่จะอะไรผิดแล้วถูกว่ากล่าว ตำหนิ

ซึ่งเด็กบางคนอาจจะเคยได้รับการถูกห้าม ตำหนิ ในการทำสิ่งๆต่างๆมาก ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวจากพ่อแม่ คนรอบข้าง หรือคุณครู จนทำให้เวลาที่ลูกต้องเผชิญกับการทำอะไรใหม่ๆ ก็จะทำให้เด็กไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ

ลูกมีความกังวลภายในใจแต่พ่อแม่ไม่รับรู้

อาจมีอะไรมากระบทกระเทือนจิตใจ เช่น อาจเกิดจากการที่ถูกเพื่อนล้อ เพื่อนแกล้ง หรืออะไรก็ได้ที่มาทำร้ายจิตใจ ฯลฯ จนส่งผลให้ลูกได้ปลีกตัวออกจากการเข้าสังคม และสร้างโลกส่วนตัวของตัวเอง แต่ก็ไม่แสดงอาการให้พ่อแม่รับรู้ มารู้อีกทีก็อาจจะสายเกินไป

ลูกมีความขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง

การขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง อาจเกิดจากการที่ทำอะไรแล้วถูกเปรียบเทียบอยู่บ่อยครั้ง เช่น ทำไมบ้านโน่นทำได้ดีกว่า ทำไมไม่ทำอย่างเด็กคนนั้นบ้าง เป็นต้น จนส่งผลให้เด็กขาดความเชื่อมั่น ไม่มีแรงจูงใจในการทำอะไร

ลูกขาดความมั่นใจในตนเอง

เกิดจากที่ลูกกลัวว่าทำแล้วไม่ค่อยดี และการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ห้ามโน่นนี่อยู่บ่อยครั้งจนเด็กไม่กล้าที่จะทำอะไร

วิธีการแก้ปัญหาลูกขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก

หมั่นพาลูกไปพบเจอผู้คน

การที่คุณพ่อคุณแม่หมั่นพาลูกไปพบเจอผู้คนบ่อยๆ จะเป็นการฝึกให้ลูกได้พบเจอคนแปลกหน้าบ่อยๆ เพื่อสร้างความเคยชิน ลดความประหม่าไม่มั่นใจ ลดความขี้อาย สร้างความกล้าให้กับลูก เมื่อต้องเจอกับคนแปลกหน้า แต่คุณพ่อคุณแม่ก็พาลูกไปเจอกับคนที่น่าไว้วางใจ และปลอดภัยสำหรับลูกของคุณ

สอนให้ลูกได้แนะนำตัว

เมื่อต้องไปพบกับญาติพี่น้อง หรือคนที่รู้จักของคุณพ่อคุณแม่ ก็ให้สอนลูกได้ลองแนะนำตัวเอง เพื่อเป็นการฝึกทักษะการเข้าสังคม โดยการทักทาย เริ่มจาการกล่าวคำว่า สวัสดีครับ/ค่ะ และตามด้วยชื่อ ฯลฯ ที่ลูกพอจะพูดได้ แต่อย่าได้บังคับ เพราะอาจทำให้ลูกยิ่งไม่อยากทำ ให้ลองทำหลายๆครั้ง เพื่อสร้างความเคยชินให้กับลูก

อย่าห้ามลูกทำสิ่งต่างๆมากเกินไป

เป็นธรรมดาที่คนเป็นพ่อและแม่จะห่วงลูกเป็นธรรมดา แต่การห่วงลูกมากเกินไป ห้ามโน่นห้ามนี้ไปสะทุกอย่าง ก็อาจทำให้ลูกไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ทำใหลูกไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และอาจส่งผลให้ลูกไม่กล้าทำสิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงทำให้ลูกไม่พึงพาตัวเอง ต้องพึงพาคนอื่นอยู่เสมอ ซึ่งการห้ามก็เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกเป็นเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องปล่อยให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองบ้าง หากสิ่งนั้นทำไปแล้วไม่ได้เกิดอันตราย หรือเป็นอันตรายน้อยมาก หรือไม่กระทบต่อสิ่งอื่นๆ ก็ควรปล่อยให้ลูกได้ทำเพื่อเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และกล้าทำสิ่งใหม่ๆในเรื่องอื่น

ควรหมั่นชื่นชมลูก หากลูกทำดี ทำได้

เมื่อลูกทำดี หรือทำในสิ่งที่ท้าความสามารถของลูก ไม่ว่าจะทำได้ก็ควรหม่ั่นในการชื่นชม หรือให้กำลังลูก เพื่อเพิ่มความมั่นใจ หรือกำลังใจให้กับลูกในการทำสิ่งต่างๆ และอยากทำซ้ำ เพราะในการทำสิ่งๆต่าง ผู้ใหญ่อาจมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กๆ ง่ายๆ แต่ในมุมมองสำเร็จแล้วเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็ก การที่คุณพ่อคุณแม่ชื่นชม ให้กำลังใจ จะเป็นการพัฒนาการ ส่งเสริมได้กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ

ไม่ตำหนิหรือวิพากษวิจารณ์การแสดงออกของลูกต่อหน้าคนอื่นๆ

หากคุณพ่อคุณแม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของลูกไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลัง ก็อาจส่งผลให้ลูกมีความรู้สึกท้อแท้ ทำให้ลูกขาดความมั่นใจในการทำอะไร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนจากการตำหนิ วิพาษ์วิจารณ์ เปลี่ยนเป็นการให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะแทน เพื่อให้ลูกได้ไตร์ตรองด้วยตนเองว่าสิ่งไหนทำได้ หรือสิ่งไหนทำไม่ได้

หลีกเลี่ยงให้ลูกจ้องจอมือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ มากจนเกินไป

การที่ลูกจับจ้อง จอมือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ มากจนเกินไป จะทำให้ลูกขาดความปฎิสัมพันธ์กับคนภายนอก หรือไม่สามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ ในสังคมได้ จนกลายเป็นเด็กเข้าสังคมไม่เป็น ไม่มั่นใจในการเข้าสังคม และอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ขี้หงุดหงิดง่ายอีกด้วย

เพียงเท่านี้ก็เป็นการส่งเสริมให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเด็กที่ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าตัดสินใจ กลายเป็นเด็กที่กล้าแสดงออก กล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ๆ กล้าเผชิญหน้ากับคนในสังคมค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here